ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลกระทบต่อทุกคน ซึ่งไม่ใช่กระทบแค่ด้านสังคมและเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมาก หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิดที่เกิดขึ้นเป็นระลอกที่ 4 ก็พบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ส่วนใหญ่ยังคงเฝ้าระวังต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับรายได้ที่ไม่มั่นคงในช่วงที่ผ่านมา จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายหลังวิกฤตโควิด-19
นับเป็นอีกครั้งที่สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมมือกับบริษัท สไปซี่ เอช จำกัด ลงพื้นที่สำรวจและการคาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยประจำเดือนตุลาคม 2564 โดยพบขอมูลที่น่าสนใจว่าแม้ความสุขคนไทยต่ำสุดในรอบปีอยู่ที่ 59% โดยลดลง 4% จากเดือนสิงหาคม แต่ความต้องการใช้จ่ายกลับดีดสูงสุดที่ 58% โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เพื่อลดความเครียดจากการทำงานในช่วงที่ต้องอยู่บ้าน และหาสินค้าเพื่อการปรับตัวและดำเนินชีวิตให้มีความสุขในยุคโควิด อาทิ โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน เครื่องนอน
ดูเหมือนว่าประเด็นที่คนไทยติดตามมากที่สุด ยังหนีไม่พ้นปัญหาและสถานการณ์ของโควิด-19 ที่ยังยืดเยื้อ ซึ่งนับเป็นประเด็นที่สำคัญและส่งผลต่อความสุขของคนไทยในระยะยาว รวมไปถึงประเด็นที่คนไทยให้ความสนใจไม่แพ้กันคือ มาตรการเยียวยาของทางภาครัฐก็ดี แนวโน้มของสถานการณ์ล็อกดาวน์ที่ดูจะคลี่คลายไปบ้างก็ดี รวมถึงประเด็นร้อนแรงอย่างเรื่องวัคซีนยี่ห้อต่างๆ ที่จะนำเข้ามายังประเทศไทย
อีกทั้งเรื่องความต้องการของชุดตรวจ ATK ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของคนไทย ที่ยังต้องเฝ้าระวังตัวจากโควิด-19 โดยผลสำรวจเราพบว่ามีข้อบ่งชี้สำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ 2 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1.นักการตลาดเตรียมสร้างโอกาสทองจากการ “ช้อปเอาคืน” เพราะจากความสะดวกสบายในการช้อปปิ้งออนไลน์ และสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย เป็นแรงผลักดันให้ผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจการซื้อของผ่านออนไลน์ ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการดึงดูดลูกค้าด้วย
แน่นอนว่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย ก็มีทั้งรูปแบบฟรีค่าจัดส่ง หรือโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 เพื่อเพิ่มยอดขายในออนไลน์ แต่ก็มีผู้บริโภคบางส่วนที่ยังต้องการอยากจับจ่ายใช้สอยนอกบ้าน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและคลายความตึงเครียด เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคได้ออกมา “ช้อปเอาคืน” เพื่อชดเชยความรู้สึกที่อึดอัด และคลายความตึงเครียดผ่านการซื้อสินค้านอกบ้านร่วมกับคนในครอบครัว
ส่วน 2.ผู้หญิงอย่าหยุดสวย “คืนความสุขให้ผู้หญิง” ด้วยการช้อปปิ้ง จะเห็นได้ว่าจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้กลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงต้องแบกภาระที่หนักหน่วง ทั้งการทำงาน เลี้ยงลูกน้อย หรือแม้แต่การดูแลงานบ้าน แต่ยังคงมีความต้องการใช้จ่ายเพื่อหาความสุขให้ตัวเองเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ว่ากลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงมีแนวโน้มความต้องการซื้อสินค้าประเภทสกินแคร์และเครื่องสำอางที่เพิ่มสูงขึ้นติดอันดับ 1 ใน 5 สินค้าต้องการมากที่สุด เพราะถึงแม้ว่าจะไม่ได้ออกจากบ้าน แต่คนกลุ่มนี้ก็ยังอยากให้ตัวเองดูสวยอยู่ตลอดเวลา โดยอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าที่น่าจับตา คือความต้องการใช้จ่ายในสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสินค้าเหล่านี้สามารถกระตุ้นรายจ่ายและเติมเต็มความสุขให้ผู้หญิงได้เป็นอย่างดี
การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนตุลาคม 2564 ความยืดเยื้อของสถานการณ์โควิด ส่งผลให้พฤติกรรมของคนไทยให้ความสนใจกับข่าวสารบ้านเมืองมากขึ้น 48% โดยเฉพาะข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโควิด มาตรการเยียวยาของภาครัฐ หรือแม้แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศในแต่ละวัน รองลงมาหนีไม่พ้นในเรื่องการเมือง การเคลื่อนไหวของกลุ่มม็อบ และการชุมนุมต่างๆ ประมาณ 24%
เป็นที่น่าสนใจว่าในสถานการณ์โควิด-19 อันตึงเครียดและไม่แน่นอนนั้น ยังมีหัวข้อใหม่ๆ ในผลวิจัยนี้คือเรื่อง Popcat เกม และกีฬา ซึ่งหากมองในภาพรวมแล้วแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงมีต้องการด้านความบันเทิงเพื่อผ่อนคลาย และหาความสุขตามสภาพแวดล้อมของตนเอง.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |