’ไอ้จุด’ประติมากรรมรูปหมาขนาดใหญ่บริเวณหอศิลป์แห่งชาติ
เวลานี้กรุงเทพมหานครมีพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะเพิ่มขึ้นมาใหม่ที่หอศิลป์แห่งชาติของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งหอศิลป์แห่งใหม่นี้จะเปิดให้ประชาชนเข้าชมผลงานศิลปะจากศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับชาติและศิลปินไทยที่มีผลงานโกอินเตอร์ภายในหอศิลป์ปีหน้า ขณะที่พื้นที่โดยรอบจะติดตั้งประติมากรรมของศิลปินชั้นครูอีกนับสิบ ถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นของคนรักงานศิลป์
แต่ก่อนจะเปิดตัวหอศิลป์ใหม่ มีการสาธิตติดตั้งงานประติมากรรรมสุนัขพันธุ์ไทย อย่าง ”ไอ้จุด”สร้างสรรค์โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินศิลปาธร ที่ยกงานมาไกลจาก จ.ราชบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า พื้นที่นี้จะมีสีสันและสร้างความตื่นเต้นเพียงใดเมื่อมีศิลปะเข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของคนเมือง เบื้องต้นจะจัดแสดงให้ชม 6 เดือนนับจากนี้
เชื่อว่าหลายคนคุ้นหน้า“ไอ้จุด” เป็นงานศิลป์ที่มีโอกาสเดินทางไปโชว์ตัวในหลายพื้นที่ทั้งไทยและต่างประเทศ เป็นแม่เหล็กสร้างความสนใจและดึงดูดผู้ชมทุกเพศทุกวัยได้อย่างดี นั่นทำให้คนรู้จักประติมากรรมลูกสุนัขชิ้นนี้
และสำหรับพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะใหม่ศิลปินได้พัฒนาและทดลองการทำไอ้จุดในท่าใหม่เพิ่มเข้ามา ในรูปยืนฉี่ ตามธรรมชาติของสุนัข วศินบุรีตั้งใจสื่อความหมายถึงการแสดงอาณาเขต ให้รู้สึกว่ากำลังอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ทั้งยังแฝงนัยยะของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับพื้นที่แห่งนี้ ที่จะเป็นอีกพื้นที่สำคัญของวงการศิลปะร่วมสมัยไทย ซึ่งไอ้จุดในท่านี้ เป็นครั้งแรกที่แสดงให้ได้ชม
ศิลปินสร้าง”ไอ้จุด” ในท่าใหม่ยืนฉี่
วศินบุรี เจ้าของผลงาน”ไอ้จุด” บอกว่า จากประติมากรรมเซรามิกขนาดเท่าลูกสุนัขที่เป็นส่วนหนึ่งของงานชุด Coming closer ที่ประกอบไปด้วยปราสาทแบบเยอรมัน คนแคระ โถไทย เด็กไทย และลูกสุนัขพันธุ์ไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Street culture ของไทย จัดแสดงที่กรุงเทพฯ และกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน เมื่อปี 2550 และปีต่อมานำกลับมาแสดงอีกครั้งในนิทรรศการ รอยยิ้มสยาม ณ กรุงเทพมหานคร “ไอ้จุด” ถูกเพิ่มบริบทเพิ่มขึ้น หลังจากการเริ่มมีคำว่าศิลปะร่วมสมัยเข้ามาอยู่ในสังคมไทยมากขึ้น และขยายเข้าถึงคนในวงกว้างกว่าเดิม ไอ้จุดกลายเป็นตัวแทนของความรู้สึกความอยากรู้อยากเห็นในงานศิลปะ และกระจายไปแสดงตามและสถานที่ต่างๆ ทำให้คนรู้จักไอ้จุด
ศิลปินศิลปาธร บอกด้วยว่า ต่อมาปี 2555 SCG Chemicals ได้พัฒนาวัสดุตัวใหม่ที่สร้างขึ้นมาเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเรซินหรือไฟเบอร์กลาส เรียกว่า อะคิลิกไซรับ ได้นำเอาไอ้จุดมาสร้างเป็นประติมากรรม สูง 3 เมตร และไอ้จุดได้เริ่มออกเดินทางครั้งแรกไปทั่วกรุงเทพฯ เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของงานศิลปะร่วมสมัยที่เกิดมากขึ้นในสังคมไทยในช่วงเวลานั้น และได้เดินทางกลับบ้านที่จังหวัด ราชบุรี เพื่อสื่อและเป็นสัญลักษณ์ว่า ไม่ใช่เฉพาะที่เมืองหลวง แต่ ทุกๆ ที่ ในบ้านเรา แม้แต่เมืองเล็กๆ อย่างราชบุรี ก็จำเป็นต้องมีคำว่า “ศิลปะ” เข้ามาอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของคนใน จากนั้นประติมากรรม ไอ้จุด 4 ชิ้น ได้ถูกเลือกให้สร้างและนำไปติดตั้งที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
“ ไอ้จุด เป็นประติมากกรรมที่ดูง่าย ไม่ซับช้อน คนที่ไม่ได้มีพื้นฐานและความสนใจศิลปะมาก่อน สามารถเข้าเข้าถึงงานศิลปะได้ง่าย เกิดการเชื่อมโยง ดึงดูดผู้ชม ให้เข้าไปเรียนรู้กับงานที่เป็นประวัติศาสตร์และความทรงจำของชุมชนที่สะสมอยู่ในพิพิธภัณฑ์ หลังจากนั้น ไอ้จุดเดินทางไปยังหลายๆ พื้นที่ทั้งไทยและต่างประเทศ สร้างความสนใจทุกครั้งหลังการเดินทางจะมอบรายได้ที่ได้รับมาเพื่อสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ หรือซ่อมแซมอาคารสาธารณประโยชน์ด้วย “ วศินบุรี บอกคุณค่าไอ้จุดสร้างสรรค์สังคม
งานศิลปะร่วมสมัยขยายพื้นที่ทางศิลปะที่หอศิลป์แห่งชาติ
เมื่อมีพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะเพิ่มขึ้น “หอศิลป์แห่งชาติ” ศิลปินได้พัฒนาและทดลองทำไอ้จุดในท่าใหม่ ๆ วศินบุรี บอก “ไอ้จุด” เป็นเสมือนตัวแทนงานศิลปะร่วมสมัยชิ้นหนึ่งที่กำลังขยายพื้นที่ทางศิลปะให้กว้างมากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะศิลปิน แต่ให้ทุกคน สามารถรู้สึกได้ถึงความสงบ ปลอดภัย และมีความสุขได้ร่วมกัน นอกจากท่าทางของไอ้จุดที่สื่อความหมายและนัยยะที่ต้องการแล้ว ศิลปินร่วมสมัยชาวราชบุรียังได้ทดลองสร้างชิ้นงานนี้ด้วยการทำพื้นผิวที่แตกต่างไปจากเดิม ใช้ทองคำเปลวสังเคราะห์คุณภาพสูง และทดลองพ่นทับด้วยเคลือบพิเศษที่ผสมขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และการถูกขูดขีดสัมผัสต่างๆ ได้ นับเป็นการทดลองเพื่อสร้างองค์ความรู้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสร้างประติมากรรมขนาดใหญ่ในรูปแบบอื่นๆ ต่อไปได้ในอนาคต
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |