เห็นสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดในเวลานี้ ชวนรำลึกถึงภาพจำเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 54 หรือ “มหาอุทกภัย” ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตอนนั้นเจอเหตุการณ์น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน บางพื้นที่ใช้เวลาถึงหลายเดือนกว่า มวลน้ำทั้งหมดจะไหลกลับคืนคูคลองตามปกติ
โดยจากเหตุการณ์ดังกล่าว ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินว่า ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทย มีมูลค่าสูงถึง 1.44 ล้านบาท จนถูกประเมินว่าเป็น “มหาอุทกภัย” ที่เลวร้ายที่สุด ทั้งในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ เพราะมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 3.6 ล้านคน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างน้อย 5,087,352 ไร่ เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 1 ล้านล้านบาท ครั้งนั้นประชาชนคนไทยจำนวนกว่า 5 ล้านคน กลายเป็นผู้อพยพบนบ้านเกิดตัวเอง คนงานเกือบ 650,000 คน ตกงาน
แต่สำหรับเหตุการณ์ในปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายต่างก็เชื่อว่า เหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2564 นี้จะไม่ส่งผลต่อพื้นที่เศรษฐกิจ อย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากนัก เพราะเมื่อประเมินจากข้อมูลปริมาณฝน ปริมาณน้ำกักเก็บ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาในขณะนี้มีน้อย หากเปรียบเทียบกับในห้วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2554 จึงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ครั้งใหญ่เช่นปี 2554
โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้ความเห็นว่า แม้ว่าขณะนี้แม้จะมีกรณีน้ำท่วมเกิดขึ้นในหลายจังหวัด แต่โอกาสน้ำท่วม กทม.เหมือนปี 2554 มีโอกาสเป็นไปได้น้อย เว้นแต่จะมีน้ำระบายไม่ทัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
ล่าสุด ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกมาชี้ 3 ประเด็นว่า สถานการณ์อุทกภัยจะไม่เหมือนปี 54 โดย 1.ซึ่งหากวิเคราะห์จากสถิติข้อมูลอุตุนิยมวิทยา พบว่าภาพรวมของการเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 กับปี 2564 จะมีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนที่ตกระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน พบว่าในปี 2554 ปริมาณฝนเกือบทุกภาคสูงกว่าปี 2564 ยกเว้นภาคตะวันออกที่ปี 2564 สูงกว่าปี 2554 เล็กน้อย และในภาพรวมทั้งประเทศพบว่า ปี 2554 มีฝนมากกว่าปี 2564 ถึง 20%
2.เปรียบเทียบพื้นที่และการกระจายของฝน ตั้งแต่ช่วงก่อนและเข้าสู่ฤดูฝน พบว่า ในปี 2554 พื้นที่ที่มีฝนตกและตกต่อเนื่องได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมเป็นจำนวนมากในลุ่มน้ำสายหลัก รวมทั้งเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ เต็มความจุตั้งแต่ต้นปี และในช่วงกลางฤดูฝนถึงปลายฤดูฝน การระบายน้ำสามารถทำได้น้อยเนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง ทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน ขณะที่ในปี 2564 ช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (เม.ย.-ต้น พ.ค.) การกระจายฝนดี แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนพบว่าปริมาณฝนที่ตกน้อยลง โดยเฉพาะช่วงปลายเดือน พ.ค.ถึง มิ.ย.มีปริมาณฝนน้อยและบางพื้นที่มีฝนทิ้งช่วงหลายสัปดาห์
3.เปรียบเทียบอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนพบว่า ขณะที่ในปี 2564 ช่วงปลายฤดูฝน เดือนกันยายน มีพายุที่เข้าสู่ประเทศไทยเพียงลูกเดียวคือ พายุดีเปรสชัน “เตี้ยนหมู่” ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยมากที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงจะเกิดน้ำท่วมแบบปี 2554 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการและการระบายน้ำเป็นสำคัญ
ดังนั้น ความกังวลของชาวกรุงที่ตอนนี้กำลังย่ำแย่จากพิษโควิด ยังไม่หายดี ก็คงจะไม่ได้ถึงกับเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เจอเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำเติมอีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่สามารถการันตีได้ชัดเจนมากนัก เพราะฤดูมรสุมยังไม่จบ และทางกรมอุตุนิยมวิทยาก็จับตาพายุไต้ฝุ่นที่กำลังก่อตัว ในทะเลจีนใต้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเจอฝนตกอีก แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องน่ากังวล
จากนี้คงต้องพึ่งการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานและรัฐบาลแล้วว่า จะรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ได้ดีแค่ไหน เพราะโจทย์แม้ว่าจะไม่ท้าทายเท่าปี 54 แต่เนื่องจากประเทศยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อยู่ และเศรษฐกิจค่อนข้างอ่อนแอ ดังนั้นประชาชนก็ไม่ควรจะได้รับเรื่องร้ายๆ เพิ่มเติมอีก โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจอย่างนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ คงจะไม่สามารถปล่อยให้จมน้ำได้อีก เพราะจะทำให้ภาคการผลิตของประเทศเกิดสะดุด และจะส่งผลไปยังการส่งออก ซึ่งเป็นพระเอกหลักเพียงตัวเดียวของไทยที่ประคองเศรษฐกิจไทยเวลานี้.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |