'ธปท.'รับน้ำท่วมกระทบเศรษฐกิจ


เพิ่มเพื่อน    

30 ก.ย. 2564 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดของไทยขณะนี้นั้น เบื้องต้นประเมินว่า อาจจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจบ้าง แต่ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมต่างมีบทเรียนจากในอดีตที่ผ่านมา และมีการเตรียมรับมือได้มากขึ้น เพียงแต่อาจเห็นผลกระทบทางอ้อมจากพื้นที่น้ำท่วม เช่น ด้านการขนส่ง ซึ่งโดยรวมก็ถือว่ากระทบไม่มากนัก โดย ธปท.จะติดตามปัจจัยเรื่องน้ำท่วมอย่างใกล้ชิด

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ย. 2564เริ่มกลับมาดีขึ้นในหลายกิจกรรม หลังภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด แต่ยังต้องติดตามปัญหา Supply disruption, ความก้าวหน้าในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้า และเชื่อมโยงมาถึงภาคการผลิตและการส่งออกของไทยด้วย

ขณะที่ภาพรวมการส่งออกสินค้าในเดือน ส.ค. 2564 ได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจของหลายประเทศคู่ค้าชะลอตัวลงจากปัญหาการกลับมาระบาดของโรคโควิด-19 อีกระลอก รวมทั้งปัจจัยในประเทศจากผลกระทบของปัญหา Supply disruption และการระบาดในโรงงานผลิตสินค้าส่งออก

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว สะท้อนมาถึงการส่งออกในเดือนส.ค.ที่แผ่วลง โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ก.ค.) จะลดลง -3.5% แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ส.ค.63) จะลดลงค่อนข้างมาก ที่เห็นได้ชัดคือสินค้าในกลุ่มยานยนต์ จากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าลดลง โดยเฉพาะการส่งออกไปอาเซียนและออสเตรเลีย รวมถึงการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ประสบปัญหา Supply disruption

ส่วนสถานการณ์เงินบาทในช่วงปลายเดือน ส.ค. เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังจากยอดผู้เชื้อโควิด-19ในประเทศเริ่มลดลง และได้เห็นการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่ทำให้บาทกลับมาแข็งค่าขึ้น เป็นเพราะดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะยังผ่อนคลายต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีการลด QE แล้ว จึงทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ และเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นในช่วงปลายเดือนส.ค.ต่อเนื่องถึงต้นเดือนก.ย. 2564

“ในช่วงปลายเดือนก.ย. 2564 เงินบาทกลับมาอ่อนค่าเร็วอีกครั้ง เนื่องจากเฟด และธนาคารกลางของประเทศหลัก ๆ เริ่มเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น และเงินเฟ้อปรับขึ้น โทนการทำนโยบายจึงค่อนไปทางต้องการจะกลับมาใช้นโยบายที่ตึงตัวมากขึ้น จึงทำให้เงินบาทอ่อนค่าเร็ว ประกอบกับความกังวลต่อปัญหาความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของจีนจากกรณีบริษัท เอเวอร์แกรนด์ ที่อาจจะลุกลามกลายเป็นความเสี่ยงในเชิงระบบได้ โดยธปท.เข้าไปดูแลเป็นระยะ เพื่อไม่ให้ค่าเงินเกิดความผันผวนหรือเคลื่อนไหวเร็วเกินไป จนส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของเศรษฐกิจ ซึ่ง ธปท.จะติดตามอย่างใกล้ชิด” นางสาวชญาวดี กล่าว

นางสาวชญาวดี กล่าวอีกว่า ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2564 สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น จากสมมติฐานที่ว่า วัคซีนป้องกันโควิดจะมีการนำเข้ามามากขึ้นในช่วงนี้ และมีการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น จึงน่าจะทำให้ไม่เกิดการระบาดรอบใหม่ หรือไม่กลับไประบาดรุนแรงและเป็นวงกว้างเหมือนรอบที่ผ่านมา ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนน่าจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้ รวมถึงการทยอยเปิดเมืองเพื่อการท่องเที่ยวที่จะค่อย ๆ กลับมามากขึ้น ดังนั้น กรณีของวัคซีนในไตรมาส 4/2564 จึงมีบทบาทมากต่อความเชื่อมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ และในปี 2565วัคซีนจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

"ไตรมาส 4/2564 ก็ยังมีความเสี่ยงในด้านต่ำ ธปท. หวังว่าวัคซีนจะเข้ามาต่อเนื่องตามสมมติฐานที่คาดการณ์ ก็จะช่วยเรื่องการระบาดรอบใหม่ได้ ส่วนเรื่องน้ำท่วม เชื่อว่าผู้ประกอบการเตรียมตัวได้ดีขึ้น และจากที่หารือกับกรมชลประทาน ที่บอกว่าเป็นสถานการณ์น้ำหลาก ซึ่งถ้าบริหารจัดการได้ดี ก็เชื่อว่าจะดูแลสถานการณ์ได้ แม้จะเห็นประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก แต่ก็ยังไม่ใช่ในส่วนของภาคการผลิต ดังนั้นผลกระทบทางเศรษฐกิจจึงยังเทียบกับผลกระทบทางสังคมไม่ได้" น.ส.ชญาวดีกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"