” The Art of Wonder”ผลงาน ปอม ชาน
ศิลปินไทยและต่างประเทศขานรับการจัดมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก ครั้งที่ 2 Thailand Biennale, Korat 2021 ที่จะเกิดขึ้นอย่างคึกคักปลายปีนี้ที่ จ.นครราชสีมา แต่จะเปิดพื้นที่เมืองย่าโมให้เที่ยวชมผลงานศิลปะอย่างรื่นรมย์และปลอดภัย พร้อมยกระดับโคราชสู่เมืองแห่งศิลปะอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมชูแนวคิด “เซิ้ง..สิน ถิ่นย่าโม” หรือ Butterflies Frolicking on the mud ดื่มด่ำศิลปะอย่างมีความสุขที่ 3 อำเภอ ปากช่อง เมืองนครราชสีมา และพิมาย
ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เปิดเผยความคืบหน้ามหกรรมศิลปะ Thailand Biennale, Korat 2021 ว่า หลังจากกำหนดแนวคิดหลักของมหกรรม โดย ยูโกะ ฮาเซงาวะ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายธวัชชัย สมคง พร้อมด้วย นายวิภาช ภูริชานนท์ และ นายเซฮา คุโรซาวา เป็นคณะภัณฑารักษ์ มีศิลปินทั้งชาวไทยและต่างประเทศตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม 54 คน จาก 25 ประเทศ ขณะนี้ศิลปินเริ่มเข้ามาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเฉพาะพื้นที่ทั้ง 3 จุด คือ จุดที่ 1 หอศิลป์พิมานทิพย์ อ.ปากช่อง จุดที่ 2 ลานย่าโม Art Gallery and Exhibition มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และสวนสัตว์นครราชสีมา อ.เมือง จุดที่ 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กุฏิฤาษี (อโรคยศาลา) อ.พิมาย
“ โควิด-19 ส่งผลการจัดงานเลื่อนหลายครั้ง พบว่า ในระหว่างขั้นตอนการวิจัยและสื่อสารแบบเสมือนจริง ศิลปินผู้รับเชิญหลายคนต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงของข้อเสนอโครงการ แต่ท่ามกลางวิกฤติมีโอกาส ทำให้ศิลปินเกิดความคิดสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงสถานการณ์นี้ให้กลายเป็นประสบการณ์เชิงบวก สร้างผลงานที่สอดคล้องกับโควิด โดยร่วมมือกับผู้ประสานงานและชุมชนท้องถิ่นของโคราช “ ดร.วิมลลักษณ์ กล่าว
มา Thailand Biennale, Korat 2021 ชม”สถาปัตยกรรมสิมอีสานร่วมสมัย”
ในมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก ครั้งที่ 2 จะได้เห็นผลงานศิลปะจัดวางจากจินตนาการของ Nile Koetting ศิลปินจำลองห้องพักคอยที่สนามบิน ซึ่งเที่ยวบินถูกยกเลิกและเลื่อนออกไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า สร้างงานบนพื้นที่ว่างใน มทร.อีสาน ส่วนศิลปินฟิลิปปินส์ Yllang Montenegro จากเดิมจะลงพื้นที่ทำเวิร์คช็อปกับแรงงานข้ามชาติหญิง เปลี่ยนมาส่งสารให้แก่ชาวเมืองโคราช สร้างศิลปะการจัดวางแบบประติมากรรม โดยใช้ต้นไม้และผ้ากันเปื้อนที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลจากชุมชนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ที่ลานวีรสตรีเมืองโคราช เป็นการสื่อสารข้ามเขตแดนระหว่างประเทศในบริบทหลังโรคไวรัสโคโรนาที่จำกัดการสัมผัสทางกาย
ศิลปินญี่ปุ่น Tsuyoshi Tane กับศิลปะร่วมสมัยพาย้อนหลังแดนอีสาน 3,000 ปีก่อน ซึ่งปัจจุบันกลับมามีชีวิตและเด่นชัดอีกครั้ง โดยฉายแสงไปยังความรู้จากผลงานสะสมทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพิพิธภัณฑ์แบบนุ่มนวลอีกงานได้แรงขับเคลื่อนช่วงล็อคดาวน์ ศิลปิน Charlotte Dumas เสนอความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างสังคมมนุษย์กับสัตว์ โดยใช้บริบททางประวัติศาสตร์ แกะสลักเป็นรูปวาดช้างบนกระเบื้อง
งานนี้เชื่อมต่อศิลปะไปสู่สวนสัตว์นครราชสีมา พื้นที่แห่งการเรียนรู้ โดย Zai Tang ร่วมมือกับศูนย์วิจัยนกกระเรียนไทย สร้างศิลปะการจัดวางแบบเสียงได้แรงบันดาลใจจากเสียงร้องอันพร้อมเพรียงของนกกระเรียนไทย กระตุกสังคมดูแลรักษาสัตว์ใกล้สูญพันธุ์และฉายภาพความพยายามอนุรักษ์นกกระเรียนของภูมิภาคแห่งนี้ให้โดดเด่น
สำหรับศิลปินที่ไม่สามารถเดินทางมาโคราชได้ เจ้าภาพส่งเสริมให้ทำงานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อสร้างผลงานสะท้อนถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และบริบทของสถานที่นั้นๆ ผ่านการวิจัยทางไกล ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
จ.นครราชสีมาตอนนี้ยังมีแลนด์มาร์คใหม่ๆ เพิ่ม ก็เป็นผลงานศิลปะถาวร อีกไฮไลต์มหกรรมฯ ผอ.สศร. กล่าวว่า Thailand Biennale ว่าจ้างศิลปินไทยและผู้สร้างสรรค์ในท้องถิ่นให้ผลิตผลงานขนาดใหญ่ ดึงเสน่ห์ทางกายภาพของสถานที่นั้นให้ออกมาอย่างชัดเจน สร้างสรรค์งานศิลปะถาวร ไม่ว่า”แมวนางงาม” ประติมากรรมของ กฤช งามสม ที่ Art Gallery and Exhibition สถาปัตยกรรมชื่อ “ RICE TOWER “ โดย ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา ศิลปินศิลปาธร ที่ได้แรงบันดาลใจจาก”ยุ้งฉาง” สร้างขึ้นในพื้นที่สวนสัตว์โคราช
”แมวนางงาม”แลนด์มาร์คใหม่ตัวเมืองโคราช
ขณะที่ ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง หรือที่ต่างชาติรู้จักในชื่อ ปอม ชาน ( Pomme Chan) illustrator สาวไทยรังสรรค์ผลงาน” The Art of Wonder” เพนท์บนกระเบื้องจินตนาการความสมบูรณ์ของโคราชในอดีตจนปัจจุบัน อ้างอิงหลักฐานพบพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ในพื้นที่ ติดตั้งผนังถ้ำหินจำลองสวนน้ำไดโนเสาร์ สวนสัตว์โคราช ชิ้นนี้แสกนคิวอาร์โค้ดแล้วรับชมภาพเคลี่อนไหว AR ได้ด้วย ผลงานน่าสนใจมากมาย มีโอกาสต้องไปโคราช
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |