แค่ตัวอย่างงานวิจัยที่นักวิชาการมหิดลที่เตรียมสัมมนาออนไลน์สด”มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF 2021” ในวันที่ 7 ต.ค.นี้ ก็การันตีเลยว่า งานวิจัยชิ้นต่างๆ ไม่ขึ้นหิ้ง แถมแก้ปัญหาสังคมได้แน่นอน โดยทางแม่งานมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมมากที่จะถ่ายทอดงานวิจัยแบบออนไลน์ครั้งแรกเผยแพร่ทั่วโลก เป็นการเสนอองค์ความรู้ทางวิชาการงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของมหิดล ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นเยี่ยมๆ ที่พิสูจน์แล้วมาใช้งานได้จริง
กิจกรรมของงานอัดแน่นไปด้วยความรู้ทางวิชาการที่เท่าทันสถานการณ์ จัดบรรยายและเสวนากับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมหิดล 4 เรื่อง 4 ประเด็น โดยเฉพาะกรณีศึกษาโควิด-19 ซึ่ง ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี จะให้ข้อมูลสำคัญการรักษาโควิดและแนวทางป้องกันแพร่ระบาด รวมถึงการโชว์ผลงานวิชาการรับใช้สังคมจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยตลอดจนการผลักดันความสำเร็จงานวิจัยสู่นโยบาย และที่ขาดไม่ได้เป็นเวิร์คช็อปจากกลุ่มนักวิจัยและกลุ่มผู้ทำงานภาคสังคม ยิ่งใหญ่แน่นอนสมชื่อมหิดล
รศ.ดร.เภสัชกร สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตสร้างคน สร้างงานวิจัยและงานบริการวิชาการ ซึ่งต้องดึงสิ่งที่มหาวิทยาลัยวิจัยสู่สังคมให้ได้ คนนึกถึงงานวิจัยมหิดลเป็นเชิงการแพทย์ คิดค้นยาใหม่ แต่มหิดลยังมีงานวิจัยช่วยชุมชนและสังคม งาน MUSEF 2021นี้ เหมือนเปิดบ้านคัดสรรงานวิจัยที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ให้ประชาชนมาแลกเปลี่ยนความรู้ ไม่เฉพาะนักวิชาการ นำเสนอเรื่องราวสุขภาพใกล้ตัว เช่น งานวิจัย PM 2.5 การลดเค็มเพื่อสุขภาพ ความปลอดภัยในเด็ก งานวิจัยลดความขัดแย้งในสังคม นวัตกรรมดูแลผู้สูงอายุในชุนชมช่วงโควิด รวมถึงเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคจะทดลองตรวจสอบแปลงผักแบบไลฟ์สดไปด้วยกัน
“ ทุกองค์ความรู้ใหม่ที่นำเสนอมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนและมีตัวอย่างการทำงานภาคสนามในวิทยาเขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผลงานพร้อมใช้รับใช้สังคมจากเหล่านักวิจัย กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะผู้กำกับนโยบายหากร่วมงานจะเกิดประโยชน์นำสู่นโยบายพัฒนาสังคม ส่วนระดับชุมชนหรือท้องถิ่นก็สามารถนำความรู้ที่ย่อยแล้วไปใช้ได้ “ รองอธิการบดี กล่าว
หนึ่งในนักวิจัย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ชวนเรียนรู้เครื่องมือลดยอดเด็กตายจากอุบัติเหตุ กล่าวว่า มหิดลศึกษาสถานการณ์เหตุการตายของเด็กพบเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อเป็นอุบัติเหตุจึงจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กปี 2545 หลังรณรงค์และขับเคลื่อนต่อเนื่อง การตายจากอุบัติเหตุเป็นอันดับหนึ่งลดลงร้อยละ 50 ในกลุ่มอายุไม่เกิน 12 ปี จาก 4,000 คน เหลือ 2,000 คนต่อปี แต่เด็กอายุเกิน 12 -18 กลับไม่ลด น่าเป็นห่วง
“ ยังพบตายจากอุบัติเหตุจราจร ความรุนแรง กิจกรรมผาดโผน จะทำอย่างไร บอกพ่อแม่ ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ออกกฎหมายก็แล้ว นำมาสู่แนวคิดฝังชิฟความปลอดภัยในเด็ก เน้นสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยตลอดชีวิต และสร้างห้องปฏิบัติการเล่นเพื่อการเรียนรู้เพื่อความปลอดภัยให้เด็กฝึกทักษะความปลอดภัย เป็นการเล่นนำไปสู่การเรียนรู้ มีผู้นำหรือผู้ส่งเสริมการเล่น หากทำก่อนเข้าสู่วัยรุ่นจะลดอัตราตายได้ 2 ปีมานี้มีเด็กกว่า 8 พันคนจากพื้นที่ต่างๆ เข้ามาเรียนรู้ ขยายผลไปอยู่ตามโรงเรียนและชุมชน เราจะแบ่งปันความรู้ผ่านมหกรรมนี้ อยากชวนฟังและร่วมเสนอไอเดียในเวิร์คช็อปสร้างความปลอดภัย ช่วยพิชิตเป้าลดการตายในเด็กเพิ่ม 1,000 คนต่อปี “ รศ.นพ.อดิศักดิ์ บอก
อีกไฮไลต์งานวิจัยเข้ากับสถานการณ์ขัดแย้งพื้นที่กรุงเทพฯ ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา กล่าวว่า ม.มหิดลทำงานในพื้นที่ชายแดนใต้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งด้วยหลักวิชการตั้งแต่ปี 2547 เกิดแนวร่วมเพื่อนรักต่างศาสนาพระกับอิหม่ามลุกมาทำงานใช้เรื่องสุขภาพนำสู่การแก้ไขประเด็นขัดแย้ง เพราะสันติภาพที่แท้จริงไม่เพียงสงบสุข แต่เป็นสันติภาพจากภายใน สุขภาพกาย ใจ และจิตวิญญาณต้องดีไปด้วย
“ งาน MUSEF 2021ได้เชิญกลุ่มคนตัวเล็กตัวน้อยที่ถักทอสันติภาพและความปรองดองก้าวข้ามความขัดแย้งในสังคม อยากรู้ทำอย่างไร ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ นำสู่สิ่งใหม่ วางเป้าหมายและอนาคตร่วมกัน งานวิจัยมีคำตอบ สิ่งที่เราค้นพบเป็นองค์ความรู้ใหม่ปรับประยุกต์ใช้ได้ทุกพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพฯ ที่เผชิญปัญหาตอนนี้ อยากชวนผู้นำประเทศจนถึงคนรุ่นใหม่มาแลกเปลี่ยนจะออกจากความขัดแย้งเพื่อสร้างสันติกันอย่างไร “ นักสันติวิธีบอก
งานวิจัยใกล้ตัวอีกประเด็น”ลดเค็มลดโรค” นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า คนไทยกินโซเดียมสูงกว่าคำแนะนำองค์การอนามัยโลกเกือบ 2 เท่าทั่วประเทศ มหิดลสร้างนวัตกรรมช้อนปรุงลด เพื่อจำกัดปริมาณโซเดียม และเครื่องวัดความเค็มในอาหารเหลวอย่างง่ายทดสอบในก๋วยเตี๋ยว น้ำแกง โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ มีการใช้เค็มมิเตอร์ช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนำไปใช้ในครัวเรือน ร้านค้า ขยายแจกชุมชนลดเค็มทั่วประเทศร่วมกับสธ.
“ เราจะเสนอนวัตกรรมลดเค็ม และเปิดห้องปรับสูตรอาหารลดเค็มเพื่อสุขภาพ โดยมีนักโภชนาการมาสอน พร้อมคู่มือสูตรอาหารไทย 4 ภาค ลดโซเดิม สามารถใช้สมุนไพร เครื่องเทศที่มีในครัวไทยทดแทนอร่อยเหมือนกัน “ นพ.สุรศักดิ์ ชวนร่วมเวิร์คช็อปกับกลุ่มนักวิจัย
อัพเดททุกความเคลื่อนไหวมหกรรมมหิดลเพื่อสังคมผ่าน Facebook : @musefConference https://www.facebook.com/MUSEFconference
Email : [email protected]
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |