หลังหลายปัญหาเข้ามาวัดฝีมือการทำงานของรัฐบาลในห้วงปัจจุบัน ทุกฝ่ายต่างจับจ้องมาที่การทำงานของภาครัฐ ทำให้หัวหน้ารัฐบาลอย่าง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องปรับกำลังในการขับเคลื่อนให้สอดรับกับงานที่หนักขึ้น รวมถึงต้องเพิ่มความเข้มงวดด้านมาตรฐานจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันข้อครหาในการปฏิบัติงานที่ไม่โปร่งใส
ทำให้ช่วงนี้มีการออกประมวลจริยธรรมของข้าราชการหลายหน่วยงานต่อเนื่อง ทั้งประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2564 ที่ประกาศใช้เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา และล่าสุดยังออกร่างแก้ไข “ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง”
ที่ก่อนหน้านี้ “บิ๊กตู่” มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ยกร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองขึ้น และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประมวลจริยธรรมสำหรับข้าราชการการเมืองไปแล้ว พร้อมทั้งผ่านกระบวนการปรับแก้ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
และร่างฉบับแก้ไขดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสาระสำคัญของร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองฉบับแก้ไขดังกล่าว เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของข้าราชการการเมือง
โดยได้ปรับแก้เพิ่มเติม คือ 1.เพิ่มพฤติกรรมการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 เพื่อให้ข้าราชการการเมืองต้องดำรงตนโดยเปิดเผย หรือให้ข้อมูลข่าวสาร อันอยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างถูกต้องครบถ้วนและไม่บิดเบือนแก่ประชาชน
และ 2.เพิ่มเติมถ้อยคำ “การดำเนินการทางวินัย” โดยกำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมือง เข้าก้าวก่ายหรือแทรกแซงเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย
ทั้งนี้ ร่างประมวลจริยธรรมฯ จะนำไปใช้บังคับกับบุคคลหรือผู้ปฏิบัติงานให้แก่ข้าราชการการเมืองในตำแหน่งที่ปรึกษาหรือตำแหน่งอื่นๆ ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ.2546
สำหรับสาระสำคัญของร่างประมวลจริยธรรมฯ ที่ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติ
1.กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศอันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2.กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3.กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องกล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม 4.กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องดำรงตนโดยเปิดเผย หรือให้ข้อมูลข่าวสารอันอยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างถูกต้องครบถ้วน และไม่บิดเบือนแก่ประชาชน
5.กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม และมีจิตสาธารณะ 6.กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยต้องดำรงตน ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ
7.กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองเข้าก้าวก่ายหรือแทรกแซงเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย และ 8.กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
ทั้งนี้เมื่อร่างดังกล่าวมีผลประกาศใช้ ก็คาดว่าจะเห็นการทำงานของข้าราชการการเมือง ที่สร้างความเชื่อมั่นในสายตาประชาชนได้อีกขั้นหนึ่ง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |