สกศ.จัดมหกรรมการศึกษาไทย “Education in Thailand”ผ่านระบบออนไลน์


เพิ่มเพื่อน    

 

27ก.ย.64-สกศ.จัดมหกรรมการศึกษาไทย “Education in Thailand”ผ่านระบบออนไลน์ เชิญ “ตรีนุช – คุณหญิงกัลยา – กนกวรรณ” ร่วมกำหนดทิศทางการศึกษาไทยหลังโควิด ด้าน “สุวิทย์”ชู 7 ประเด็นต้องทำ ขณะที่องคมนตรี “หมอเกษม”ย้ำต้องไม่ลืมสร้างความเป็นไทยยั่งยืน

ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) - สกศ.จัดประชุมมหกรรมการศึกษาไทย “Education in Thailand” ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Cisco Webex meeting และ ถ่ายทอดสดบน Facebook และ YouTube ของ สกศ. โดยมีนพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช , นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) และนายสุวิทย์  เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อดีตรมว.อว.) ร่วมเปิดการประชุม มอบนโยบาย และปาฐกถาพิเศษ

โดยนางสาวตรีนุช กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 ตอนหนึ่งว่า สกศ.ถือเป็นองค์กรสำคัญในการกำหนดทิศทางการศึกษาของประเทศ ซึ่งตนขอให้ สกศ.ประเมินผลการดำเนินงานของแผนปฏิรูปการศึกษา 5 ปีที่ผ่านมา และการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่ 11 เรื่อง การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และ 12 เรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อนำผลมาใช้ขับเคลื่อนการศึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ขณะเดียวกัน สำหรับนโยบายการจัดการศึกษาทั้ง 12 ข้อ และ นโยบายเร่งด่วน (Quick Win) อีก 7 ด้าน ของตนนั้น มีเป้าหมายหลักสำคัญครอบคลุม 4 เรื่องหลัก คือ การพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาโดย Big Data ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง และการสร้างอาชีพสร้างคนให้เหมาะกับงานและตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้การใช้ชีวิต และการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง จึงเป็นโจทย์สำคัญให้ สกศ.เตรียมข้อมูล และแนวทาง ที่จะช่วยสนับสนุนองคาพยพ การจัดการศึกษาของ ศธ. เช่น การเตรียมความพร้อม การเปิดภาคเรียน หรือการจัดการเรียนการสอนที่ต้องจัดหลังจากนี้ การประเมินและวัดผลผู้เรียนอย่างไรให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ด้านคุณหญิงกัลยา กล่าวว่า ปีงบประมาณ 2565 ตนมีนโยบายที่อยากให้ทุกคนร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ Coding for All คนไทยต้องเรียนรู้ Coding โดย ศธ. จะมีการขยายกลุ่มเป้าหมายการเรียนรู้ ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ซึ่งปัจจุบันเราอบรมครูของ ศธ.ได้มากกว่า 300,000 คนแล้ว มีการปรับการเรียนรู้ สเต็มศึกษา (STEM) เป็น STEAM โดยเพิ่มเรื่องของ Arts หรือ คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ซึ่งเป็นต้นทุนของคนไทย เข้าไปผสานกับการเรียนสะเต็มศึกษา และเดินหน้าดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ เพื่อให้คนไทยทุกช่วงชั้นได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมอย่างเท่าเทียม และมีคุณภาพ ถือเป็นการขยายโอกาสให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ด้านนางกนกวรรณ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ใน 2 ปีนี้ ได้บอกอะไรกับศธ. และประชาชนมากมาย ว่า มิติการจัดการศึกษาจะไม่ได้มองแต่การศึกษาในระบบเท่านั้น แต่ต้องมองถึงการศึกษานอกระบบ และการศึกษาเอกชนด้วย ซึ่งจากการลงพื้นห่างไกล ทำให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น จำเป็นที่ ศธ.ต้องร่วมกับทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกมิติ ต้องสร้างเด็กให้เป็นนวัตกรน้อย  เป็นนักคิด และนักปฏิบัติ  การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญอย่างมาก การศึกษานอกระบบจะต้องไม่ใช่เน้นแต่การเรียนแบบการศึกษาพื้นฐานเท่านั้น ต้องให้บริการประชาชนที่เข้ามาอย่างหลากหลายรูปแบบ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่  เพื่อให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ในเรื่องการศึกษาเอกชน เราจะต้องทำให้เรื่องค่าใช้จ่ายรายหัวให้เป็นระบบมากขึ้น เพื่อ สะท้อนภาพแห่งความเป็นจริงในการลงทุนทางการศึกษา และดูแลให้โรงเรียนเอกชนได้รับการพัฒนา ผู้ปกครองก็มีความสุข นักเรียนก็มีความสุข

ขณะที่นพ.เกษม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องการศึกษาเพื่อความยั่งยืน ตอนหนึ่งว่า การจัดการศึกษาเป็นตัวตัดสินว่าประเทศไหนจะเจริญก้าวหน้าและยั่งยืนแค่ไหน เราจัดจัดการศึกษาไปทำไม ถ้าบ่อนทำลายความเป็นไทยไปทุกขณะ ซึ่งทุกประเทศมีเป้าหมายการศึกษา คือ ต้องการสร้างความยั่งยืน ในความเป็นอารยธรรม วัฒนธรรมของเขาเสมอ ซึ่งประเทศไทยก็เช่นกัน เราต้องทำให้มีความยั่งยืนในความเป็นไทย-ครอบครัว-ชุมชน และความยั่งยืนขององค์กรทั้งรัฐและเอกชน ซึ่ง ศธ. และ อว.ต้องสนับสนุนดูแลภาพรวมของการศึกษา ขณะเดียวกัน สกศ. ถือเป็นหัวใจ เป็นมันสมอง และดูแลปรับปรุงการศึกษาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ระบบการแนะแนวต้องทำให้เด็กมีเป้าหมายในชีวิต มีสัมมาอาชีวะ แนะแนวการเป็นคนดี ไม่ใช่แนะแนวจะต้องเรียนต่อในด้านใดเท่านั้น สิ่งที่ตนของฝาก ศธ. อว. และ สกศ. มี 5 เรื่อง คือ 1.เรื่องประวัติชนชาติไทย ต้องสืบสานให้ยั่งยืน 2.วิเคราะห์สังคมไทยในปัจจุบัน 3.นำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของรัชกาลที่ 10 ทั้ง 4 ด้าน ไปปฏิบัติ  4.สานต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 5.ศึกษาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ

ขณะที่นายสุวิทย์  กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องการศึกษาไทยหลังโควิด-19 ตอนหนึ่งว่า เราจะต้องปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยเพื่อให้สอดรับกับพลวัตโลกหลังโควิด ใน 7 เรื่อง คือ 1.อยู่ในโลกที่ไม่ใช่ใบเดิม โดยปรับเปลี่ยนMindset ก่อนเปลี่ยนSkill-Set   2.ท่องโลกกว้าง เรียนรู้เชิงประจักษ์ จาก My School is My World สู่  My World is My School 3.เติมเต็มศักยภาพ มุ่งสิ่งที่ชอบ ทำสิ่งที่ใช่  จาก Basic Academic Disciplines สู่ Personalized Education  4. ผนึกกำลัง ร่วมรังสรรค์ จาก Teacher-Centric Education สู่ Teacher / Parent / Youth Partnership  5. รับมือกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต จาก 3-Stage Life สู่ Multi-Stage Life  6. เตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ จาก On-Site / Online Education สู่ Hybrid Education และ 7. เสริมปัญญามนุษย์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ จาก Human / Artificial Inteligences  สู่ Collaborative Intelligences

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"