สูตรอาหารเพื่ออายุยืนมาบอกกัน จากการวิจัยล่าสุดนักวิจัยในประเทศจีนระบุว่า การกินผลไม้เป็นอาหารกลางวัน ผักเป็นอาหารเย็น และไม่กินของทอดกรอบ เป็นกุญแจสำคัญในการปัดเป่ามะเร็งและโรคหัวใจ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์บินของจีน ได้ทำการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างนิสัยการกินกับสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ชาวอเมริกันมากกว่า 21,500 คน ซึ่งพวกเขาพบว่าการกินขนมกรุบกรอบทำจากแป้งและนำไปทอดกรอบ (เฟรนช์ฟราย, โดนัท, มันฝรั่งทอดกรอบ, เค้กกล้วยหอม, ขนมปัง) เป็นอาหารว่างระหว่างมื้อ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ และการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจคิดเป็นร้อยละ 44-57 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามการบริโภคผลไม้ ผัก และผลิตภัณฑ์จากนมในมื้ออาหารบางมื้อ พบว่าช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากภาวะต่างๆ
การศึกษานี้ดำเนินการโดยนักโภชนาการ “ศาสตราจารย์หยิง หลี่” และเพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยฮาร์บิน (Harbin Medical University) ในมณฑลเหยหลงเจียง ทางตอนเหนือสุดของจีน เนื่องจากเธอและทีมวิจัยของเธอพบว่า ผู้คนกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากิน และเมื่อพวกเขากินอาหาร ทั้งนี้ทีมวิจัยของเธอก็ได้พยายามที่จะทำความเข้าใจถึงผลกระทบของอาหารที่แตกต่างกันเมื่อบริโภคในบางมื้อ
โดยทีมงานได้วิเคราะห์อาหารของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาที่อายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 21,503 คน ซึ่งเข้าร่วมการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติระหว่างปี พ.ศ.2546-2557 (ปี 2003-2014) และทีมวิจัยข้างต้นได้อ้างอิงนี้ โดยโยงข้อมูลนี้กับดัชนีการเสียชีวิตจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา โดยสังเกตจากอาสาสมัครที่เสียชีวิตในช่วงตั้งแต่ปี 2003 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2015 ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แต่จะมีโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมอยู่ด้วย
ทั้งนี้ รูปแบบการบริโภคอาหารของอาสาสมัครแต่ละคนถูกจัดประเภทตามอาหารที่พวกเขากินในช่วงเวลาอาหาร รวมถึงของว่างระหว่างมื้อ ตัวอย่างเช่น มื้อเช้าจะมีผลไม้ที่กินร่วมกับอาหารเช้าแบบตะวันตกที่ปรุงจากแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก ส่วนอาหารเที่ยงแบ่งออกเป็นผลไม้ ผัก และอาหารกลางวันแบบตะวันตก ขณะที่อาหารเย็นแบ่งออกเป็นผลไม้ ผัก และอาหารเย็นแบบตะวันตก ในขณะที่ของว่างจัดประเภทเป็นธัญพืช แป้ง ผลไม้หรือผลิตภัณฑ์นมในธรรมชาติ
อาหารเช้าแบบตะวันตกมีลักษณะเป็นธัญพืชขัดสี (ธัญพืชที่ขัดสีเอาเปลือกหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวออกไป กระทั่งเหลือแต่แป้ง) พืชตระกูลถั่ว น้ำตาลที่เติมเข้าไปในอาหาร ไขมันทรานส์ที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไป และเนื้อแดง ในขณะที่อาหารกลางวันแบบตะวันตกมีธัญพืชขัดสี ชีส และเนื้อสัตว์ที่บ่มแล้ว และอาหารเย็นแบบตะวันตก ได้แก่ ธัญพืชขัดสี ชีส ไขมันแข็ง น้ำตาล และไข่ โดยนักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบอาหารตะวันตกมีแนวโน้มที่จะมีสัดส่วนของไขมันและโปรตีนที่สูงขึ้น
นักวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารกลางวันที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 34 ในทางตรงกันข้าม อาหารกลางวันแบบตะวันตกซึ่งปกติแล้วประกอบด้วยธัญพืชขัดสี ชีส และเนื้อสัตว์ที่บ่มแล้ว เชื่อมโยงกับอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 44% ส่วนการรับประทานอาหารเย็น ทีมงานพบว่าอาหารเย็นที่อุดมไปด้วยผักนั้น เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลง 23% จากการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และ 31% ของการเสียชีวิตจากอาการอื่นๆ ทั้งนี้ขนมขบเคี้ยวประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่งทอด พบว่ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการเสียชีวิตโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 50-52 และการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 44-57 ตามลำดับ
โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะกินอาหารมื้อไหนการเพิ่มผักและผลไม้เข้าไปทุกมื้อ รวมถึงการลดอาหารทอดที่ปรุงจากแป้งให้ลดน้อยลง หมั่นออกกำลังกาย ถือเป็นสูตรสำเร็จในการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |