ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2564 ฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุว่า การประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2564 สอดคล้องกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมธนาคารไทยที่จะมีการปรับเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีการดำเนินธุรกิจซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
โดย SCB มีแผนที่จะจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกที่อยู่ในกลุ่ม (ซึ่งจะรวมถึง SCB) ทั้งนี้คาดว่ากระบวนการปรับโครงสร้างดังกล่าวจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฟิทช์ไม่คาดว่าการปรับโครงสร้างธุรกิจจะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของธนาคาร โดยปัจจุบัน SCB มีเครดิตอยู่ที่ระดับBBB/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ/bbb
ทั้งนี้ ฟิทช์ คาดว่ารายละเอียดเรื่องแผนการบริหารจัดการเงินกองทุนของบริษัทโฮลดิ้ง ของ SCB และของบริษัทลูกในกลุ่ม น่าจะมีการทยอยเปิดเผยเพิ่มเติม ซึ่งจะมีการจ่ายเงินปันผลพิเศษจำนวน 7 หมื่นล้านบาทจาก SCB ให้กับบริษัทโฮลดิ้งเพื่อใช้ในการโอนธุรกิจและสินทรัพย์ รวมทั้งเพื่อการลงทุนใหม่ อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (common equity tier 1; 16.8% ณ สิ้นครึ่งปีแรกปี 2564) ของ SCB อาจปรับตัวลดลงอย่างมากจากการจ่ายเงินปันผลดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลให้ฟิทช์ต้องทบทวนคะแนนด้านเงินกองทุน (capitalisation score) ของธนาคาร และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของตัวธนาคารเอง อีกทั้งฟิทช์จะทำการประเมินโครงสร้างความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่ม รวมทั้งโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อธนาคาร
อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ SCB มีปัจจัยสนับสนุนจากอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ 'BBB' ด้วยเช่นกัน ซึ่งสะท้อนว่ามีความเป็นไปได้ว่าธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจาก SCB เป็นธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินในประเทศและ ฟิทช์ ไม่เชื่อว่าสถานะดังกล่าวของธนาคารจะได้รับผลกระทบจากแผนการปรับโครงสร้าง
ทั้งนี้ ฟิทช์ เชื่อว่าแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจดังกล่าวจะช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถกำกับดูแลการดำเนินกิจการของ SCB ได้ดีขึ้น เนื่องจากบริษัทลูกที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจทางการเงินแบบดั้งเดิมและบริษัทลูกที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจการเงินจะถูกโอนเข้าไปอยู่ภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง รูปแบบของโครงสร้างธุรกิจในลักษณะดังกล่าวน่าจะสามารถนำไปใช้กับสถาบันการเงินรายใหญ่อื่นได้เช่นกันเมื่อโครงสร้างธุรกิจปรับตัวมีความซับซ้อนมากขึ้น
“อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไทยได้เผชิญกับการเติบโตของธุรกิจในอัตราต่ำและภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้มีการปรับตัวผ่านการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (M&A)ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แผนการปรับโครงสร้างธุรกิจของ SCB เกิดขึ้นในช่วงที่กลุ่มจะมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (fintech) ผ่านบริษัทลูกของกลุ่มและการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคาร” ฟิทช์ ระบุ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |