ประธานวิปฝ่ายค้านขวาง "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ ต่ออีกสมัย ชี้รัฐธรรมนูญห้ามเป็นติดต่อกันเกิน 8 ปี ฉะนั้นจะเป็นต่อได้อีกปีเดียว แต่อาจมีพวกศรีธนญชัยตีความว่ารัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับย้อนหลัง คือให้นับการดำรงตำแหน่งนายกฯ ตั้งแต่ปี 2560
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564 นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ระบุว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง” โดยหากนับการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 ก็จะครบ 8 ปี ในปี 2565 ว่า ประเทศไทยก็มักจะตีความกฎหมายแบบศรีธนญชัยเยอะ จึงทำให้มีการตีได้ 2 แนวทาง
คือ 1.การดำรงตำแหน่งนายกฯ จะมีผลตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้เป็นต้นไป หากตีความแบบนี้ก็จะหมายความว่าไม่นับรวมอายุการดำรงตำแหน่งนายกฯ ก่อนปี 2560 ดังนั้นจะครบ 8 ปีในปี 2567 และ 2.ตีความตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ คือต้องนับอายุการดำรงตำแหน่งตั้งแต่เป็นนายกฯ เป็นต้นมา ซึ่งก็คือจะครบ 8 ปี ในเดือนสิงหาคม 2565
ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวว่า จากนี้ก็ต้องดูว่าจะตีความไปในแนวทางใด แต่ตนคิดว่าควรตีความตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญคือ นายกฯ ควรจะเป็นต่อกันไม่เกิน 8 ปี พล.อ.ประยุทธ์จึงจะเป็นนายกฯ ได้อีกเพียง 1 ปีเท่านั้น แต่ก็อาจจะมีพวกศรีธนญชัยที่ตีความว่ารัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับย้อนหลัง คือให้นับการดำรงตำแหน่งนายกฯ ตั้งแต่ปี 2560
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากความเห็นการตีความไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สุดท้ายจะจบอย่างไร นายสุทินตอบว่า ต้องจบที่ พล.อ.ประยุทธ์ คือไม่ต้องให้เกิดความขัดแย้งในการตีความมาก ก็ให้จบการดำรงตำแหน่งนายกฯ ในเดือนสิงหาคม 2565 โดยการเคารพเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และประเพณีที่ทั่วโลกปฏิบัติตามคือ ประเทศประชาธิปไตยจะไม่ให้ผู้นำดำรงตำแหน่งเกิน 2 สมัย หรือ 8 ปี ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์สามารถหาทางออกได้ โดยไม่ต้องให้สังคมเกิดความขัดแย้งกัน
เมื่อถามว่า หากครบกำหนด 8 ปี แต่นายกฯ ยังไม่ลาออก ฝ่ายค้านจะทำให้เรื่องนี้เกิดความชัดเจนหรือไม่ นายสุทินกล่าวว่า ฝ่ายค้านยังไม่ได้หารือกันในประเด็นนี้ แต่เราจะต้องแสวงหาการยุติที่เป็นบรรทัดฐานต่อไป โดยการยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความ
ขณะที่ นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษานายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในวันที่ 27 ก.ย.นี้ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา จะส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 83, มาตรา 86 และมาตรา 91 เกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งบัตร 2 ใบ ที่ผ่านความเห็นจากรัฐสภาในวาระ 3 แล้ว ให้ พล.อ.ประยุทธ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป หลังจากครบกำหนด 15 วัน ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ และไม่มีการเข้าชื่อจาก ส.ส.หรือ ส.ว. ขอให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว
ส่วนที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตกรรมาธิการงบประมาณรายจ่ายปี 2565 ยื่นเรื่องต่อนายชวนให้ทบทวนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากร่างที่แก้ไขใหม่ยังมีเนื้อหาขัดกับรัฐธรรมนูญปี 2560 ในบางมาตราอยู่นั้น ไม่ใช่ดุลยพินิจของนายชวนที่จะพิจารณาทบทวนหรือยับยั้งร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเองได้ หากไม่มี ส.ส.หรือส.ว.เข้าชื่อคัดค้านขอให้ส่งตีความ เมื่อครบกำหนด 15 วัน และไม่มีใครเข้าชื่อร้องคัดค้านมา นายชวนต้องส่งเรื่องให้นายกฯ นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป แต่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายกฯ ว่าจะส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ หากเห็นว่ามีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แต่ถ้านายกฯ เห็นว่าไม่มีเนื้อหาขัดแย้ง ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามขั้นตอนต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |