ประชาชนส่วนใหญ่ หมดความอดทนกับม็อบรุนแรง-ล้ำเส้นสิทธิ เสรีภาพผู้อื่น


เพิ่มเพื่อน    

25 ก.ย.64 - นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ความหวังและการบั่นทอนใจในสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,104 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 – 24 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 เริ่มมีความหวังต่อการเปิดประเทศและฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ในขณะที่ร้อยละ 30.7 ไม่มีความหวัง นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.4 รับรู้ เข้าใจและพอใจผลงานรัฐบาลแก้ปัญหาวิกฤตให้เริ่มดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 31.6 ยังไม่พอใจ

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงการแก้ปัญหาในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.7 ระบุ การเปิดประเทศในพื้นที่นำร่องควรขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ร้อยละ 74.4 ระบุ มาตรการต่าง ๆ ของรัฐ และความร่วมมือจากภาคประชาชน เริ่มสามารถทำให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ ร้อยละ 74.3 ระบุ การจัดหาวัคซีน เพียงพอ และกระจายวัคซีนได้เร็วขึ้น ร้อยละ 74.2 ระบุ การเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิดได้ง่ายและเร็วขึ้น ร้อยละ 73.9 ระบุจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง จำนวนผู้รักษาหายได้มากขึ้น ร้อยละ 73.8 ระบุ เยาวชนเริ่มเข้ารับวัคซีนและกลับเข้าสู่การเปิดเรียน

อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.9 ระบุ ม็อบขัดขวางการทำมาหากินของผู้อื่นที่บริสุทธิ์ ก่อความเดือดร้อนรำคาญต่อผู้สัญจรและผู้พักอาศัยในพื้นที่ ร้อยละ 94.4 รับรู้ข่าว ม็อบรุนแรงรายวันที่ใช้เด็กและเยาวชนเป็นเครื่องมือ ร้อยละ 94.2 ระบุ ต้องการให้ตำรวจเอาจริง เด็ดขาดทางกฎหมายกับแกนนำ กลุ่มผู้สนับสนุน ผู้ก่อเหตุและผู้อยู่เบื้องหลังทั้งหมด ร้อยละ 93.7 ระบุ ผู้ปกครองและสังคมต้องไม่ปล่อยให้เยาวชนถูกปั่นหลอกใช้ซ้ำซากจนเกิดการเผชิญหน้า ขยายสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในสังคมเหมือนในอดีต ร้อยละ 93.3 ระบุ ม็อบที่ใช้ความรุนแรงเป็นการก่ออาชญากรรม เกินเลยการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ร้อยละ 93.2 ระบุ มีแกนนำและกลุ่มผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังรู้เห็นเป็นใจใช้ความรุนแรงถ่อยเถื่อน หยาบคายทำลายทรัพย์สินสาธารณะจากเงินภาษีของประชาชน และร้อยละ 92.9 ระบุ ไม่เห็นประโยชน์ของม็อบ ที่ใช้ความรุนแรง ขาดอุดมการณ์ ล้ำเส้นสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ทำลายภาษีของประชาชน สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนผู้อื่น

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มมีความหวังต่อการเปิดประเทศและเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิดดีขึ้นตามลำดับ  โดยรับรู้และพอใจกับผลงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น จากตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงและรักษาหายมากขึ้น การจัดหาวัคซีนเพียงพอและกระจายวัคซีนได้เร็วขึ้น  การเข้าถึงการตรวจเชื้อเร็วและง่ายขึ้น  การเปิดประเทศในพื้นที่นำร่องเป็นต้นแบบขยายต่อไปยังพื้นที่อื่นๆ  เด็กและเยาวชนเริ่มเข้ารับวัคซีนและกลับเข้าสู่การเปิดเรียน รวมทั้งมาตรการรัฐต่างๆที่ประชาชนเริ่มสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติ
 
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่กังวล หมดความอดทน และไม่เห็นประโยชน์กับม็อบรุนแรงรายวันที่ขาดอุดมการณ์ประชาธิปไตยและล้ำเส้นสิทธิและเสรีภาพผู้อื่น ขัดขวางการทำมาหากินสร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อผู้สัญจรไปมาและผู้พักอาศัย มีแกนนำรู้เห็นเป็นใจใช้ความรุนแรงถ่อยเถื่อนหยาบคายเผาทำลายสมบัติสาธารณะ ที่น่าสนใจประชาชนส่วนใหญ่มองว่าเป็น”อาชญกรรม”เกินเลยการชุมนุม ต้องการให้ตำรวจเอาจริงเด็ดขาดทางกฎหมายกับแกนนำ ผู้ก่อเหตุและผู้อยู่เบื้องหลังทั้งหมด  ไม่ปล่อยให้เยาวชนถูกปลุกปั่นหลอกใช้ซ้ำซากจนเกิดการเผชิญหน้าขยายสู่ความขัดแย้งทางสังคมดังเช่นอดีต.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"