ทะลุ 231 ล้าน!'หมอธีระ'ชี้การติดเชื้อหลักหมื่นในแต่ละวันไม่ใช่ภาวะ New Normal ที่ควรยอมรับ


เพิ่มเพื่อน    


24ก.ย.64- รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก รายงานสถานการณ์การโควิด-19 ทั่วโลก 23 กันยายน 2564 มีเนื้อหาดังนี้
ทะลุ 231 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 500,679 คน รวมแล้วตอนนี้ 231,343,782 คน ตายเพิ่มอีก 8,453 คน ยอดตายรวม 4,741,457 คน

5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ อเมริกา สหราชอาณาจักร อินเดีย ตุรกี และบราซิล
อเมริกา ติดเชื้อเพิ่ม 119,715 คน รวม 43,524,743 คน ตายเพิ่ม 1,916 คน ยอดเสียชีวิตรวม 702,920 คน อัตราตาย 1.6%

อินเดีย ติดเพิ่ม 31,458 คน รวม 33,593,492 คน ตายเพิ่ม 319 คน ยอดเสียชีวิตรวม 446,399 คน อัตราตาย 1.3%
บราซิล ติดเพิ่ม 24,611 คน รวม 21,308,178 คน ตายเพิ่ม 607 คน ยอดเสียชีวิตรวม 592,964 คน อัตราตาย 2.8%
สหราชอาณาจักร ติดเพิ่ม 36,710 คน ยอดรวม 7,565,867 คน ตายเพิ่ม 182 คน ยอดเสียชีวิตรวม 135,803 คน อัตราตาย 1.8%

รัสเซีย ติดเพิ่ม 21,438 คน รวม 7,354,995 คน ตายเพิ่ม 820 คน ยอดเสียชีวิตรวม 201,445 คน อัตราตาย 2.7%
อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิหร่าน อาร์เจนติน่า และโคลอมเบีย ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่น
หากรวมทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ พบว่ามีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90.64 ของจำนวนติดเชื้อใหม่ทั้งหมดต่อวัน

แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักร้อยถึงหลักพัน
แถบตะวันออกกลางส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านติดเพิ่มหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง
ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ติดเพิ่มกันหลักหมื่น

เวียดนาม ญี่ปุ่น เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ติดกันหลักพัน กัมพูชา และลาว ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกง และไต้หวัน ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ

...ภาพรวมของโลกและของไทย
มี 12 ประเทศที่ติดเชื้อใหม่ต่อวันเกินหมื่นคน โดยไทยเป็นลำดับ 10 แต่หากรวม ATK ด้วยก็จะเขยิบขึ้นเป็นลำดับ 9 ของโลก
ประเทศส่วนใหญ่มีแนวโน้มติดเชื้อใหม่แต่ละวันลดลง
ยกเว้นบางประเทศที่มีข่าวเปรยว่าจะหลักหมื่นไปเรื่อยๆ สะท้อนถึงจริตในการควบคุมป้องกันโรคของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และคงต้องฝากความหวังไว้กับประชาชนแต่ละคนในการใส่ใจป้องกันตนเอง

...งานวิจัยใหม่ๆ ที่น่าสนใจ
"การเว้นระยะห่างทางสังคม"
Ulrich G และคณะ ศึกษาผลของนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคมในเยอรมัน พบว่าช่วยลดโอกาสเกิดเคสที่ติดเชื้อไปได้ถึง 84% ในยามที่ระบาดรุนแรง
"ปัญหาสุขภาพจิตหลังหายจากโควิด"
Lamontagne S และคณะ จากแคนาดา พยายามศึกษาเปรียบเทียบคนที่มีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 กับคนที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน จำนวน 100 คน พบว่าคนที่เคยมีประวัติเป็นโควิดมาก่อนจะมีปัญหาทางสุขภาพจิตหลังจากรักษาหายแล้วมากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยเป็นโควิดอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เครียด หดหู่ ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิในการจัดการงานต่างๆ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้พบบ่อยหลังจากหายจากโควิดแล้ว 1-4 เดือน
"Long COVID เป็นปัญหาที่พบบ่อย"

Davin-Casalena B และคณะ ทำการศึกษาในฝรั่งเศส โดยสอบถามแพทย์จำนวน 1,209 คน พบว่าส่วนใหญ่ 86.8% มีประสบการณ์ต้องดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีอาการคงค้างหลังจากรักษาหายแล้ว อาการที่พบบ่อยมีหลากหลาย ตั้งแต่อาการหายใจลำบาก (60.6%) ปัญหาสุขภาพจิต (42.8%) ดมไม่ได้กลิ่น/ลิ้นรับรสไม่ได้ (40.8%) ฯลฯ
สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่ระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศต้องเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดที่จะมีโอกาสเกิดอาการคงค้างในลักษณะต่างๆ ตามมาในระยะยาว

...โควิด เป็นโรคประจำถิ่น เพราะไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ อันเป็นผลจากนโยบายและมาตรการด้านการควบคุมป้องกันโรค รวมถึงวัคซีน
...การติดเชื้อไม่ใช่เรื่องปกติ
...การติดเชื้อหลักหมื่นในแต่ละวันไม่ใช่ภาวะ New Normal ที่ควรยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด
...ติดเชื้อ แม้ฉีดวัคซีนจะลดโอกาสป่วยรุนแรง ลดโอกาสเสียชีวิต แต่ไม่การันตี 100% และแม้อาการน้อยหรือปานกลาง ก็ยังมีโอกาสเกิดอาการคงค้างตามมาในระยะยาวได้เช่นกัน ดังนั้นการไม่ติดเชื้อย่อมจะดีกว่า
...โควิด...ติดไม่ใช่แค่คุณ แต่แพร่ไปยังคนใกล้ชิดในบ้าน ในที่ทำงาน และอื่นๆ ได้

ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า สำคัญมาก
ด้วยรักและห่วงใย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"