กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ( กยศ.) มีวิสัยทัศน์ “ เป็นกองทุนหมุนเวียนที่ให้โอกาสทางการศึกษา เพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน “
กยศ.เริ่มดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541. มีจำนวนผู้กู้ถึงปัจจุบันรวม 5.9 ล้านคนผู้กู้ที่ถูกคำพิพากษาศาล 1.2 ล้านคน * และที่ถูกบังคับคดีจำนวน 212556 คน*จากจำนวนผู้กู้ที่ถูกคำพิพากษาร้อยละ 20 และที่ถูกบังคับคดีร้อยละ 5.5 ของผู้กู้ทั้งหมด
จึงเกิดเป็นคำถามแรกต่อ วิสัยทัศน์ กยศ.ในการให้โอกาส เพื่อสร้างอนาคต
ผู้กู้ที่ถูกคำพิพากษาและที่ถูกบังคับคดี คือเยาวชนวัยทำงาน ควรจะเป็นกำลังสร้างชาติ แต่วันนี้ถูกฟ้องดำเนินคดีที่เกิดจากการให้กู้ยืมของ กยศ. เพื่อการศึกษา ซึ่งมีเป้าหมายช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยตาม พรบ.2541 ในขณะเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง จากข่าวการยึดทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันหนี้ กยศ หนี้ของผู้กู้ไม่ถึงหมี่นบาท เดือดร้อนถึงกับยึดบ้านพ่อแม่ขายทอดตลาด หรือความหวังดีของครูต่อศิษย์ยอมเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ตกที่นั่งลำบาก จากลูกศิษย์ตกงานไม่มีรายได้ ต้องเป็นภาระจ่ายเงินกู้แทนจนตัวเองเกษียณ
ยังคงมีอีกหลายกรณีที่ยังไม่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็น ที่แน่ชัด ผู้กู้ หรือน้อง ๆ วัยทำงานอีกประมาณ 1.2 ล้านคนที่ยังอาจต้องเผชิญกับการถูกหมายบังคับคดี และผู้ค้ำประกันอีก 2.8 ล้านคน *ที่รอคอยอาจถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
ขณะนี้มองไม่เห็นอนาคต ของคน 4 ล้านคนที่เป็นผู้กู้หรือค้ำประกัน สิ่งที่คนเหล่านี้อาจจะต้องเผชิญอยู่เบื้องหน้าคือคำพิพากษาศาลและบังคับคดี น่าจะเรียกได้ว่าเป็น กับดักหนี้ กยศ.
มันเป็นฝันร้ายของประเทศไทยในยามที่เกิดวิกฤตโคโรน่าไวรัส 19 ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติมีผู้ว่างงาน สี่แสนคนก่อนโควิด น่าจะเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน บทบาทที่ภาครัฐกำลังเร่งมือระดมพลังสมองแรงกายแรงใจ พร้อมทั้งภาคเอกชน ประชาชน ก็ร่วมแรงร่วมใจ เพื่อฝ่าฟันให้พ้นช่วงวิกฤตชาติครั้งนี้ไปด้วยกัน
แต่พลังของคนไทย 4 ล้านคนอาจกำลังถูกบั่นทอนอย่างรุนแรงจากผลการฟ้องร้องและบังคับคดีที่กำลังมา ยิ่งถ้ารอเวลาให้เนินนานออกไปในปีหน้าโดยไม่ทำอะไรเลย การบั่นทอนกำลังใจของประชาชน 4 ล้านคน เป็นการซ้ำเติมทำร้ายประเทศไทยให้บอบช้ำยิ่งขึ้น
ที่เขียนมาก็ไม่ได้หมายความว่า กยศ.ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หากตามไปดูข้อมูลใน พรบ.2541 มาตรา 38 (5) รับชำระหนี้เงินกู้ติดตามทวงถามและดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้เงินกู้ การที่ระบุใว้ในพรบ.ชัดเจนว่า ดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ คนทำงานก็ต้องปฎิบัติตามมิฉะนั้นก็กลายเป็นละเว้นไม่ปฎิบัติหน้าที่ แล้วบวกกับอายุความของสัญญากู้ที่ไม่เกิน 10 ปี กยศ.จึงมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูงถึง 639 ล้านบาทในปี 2563
จึงเป็นที่มาของคำถามที่สองว่า.มาตรฐานในการติดตามและแก้ไขหนี้ให้ผู้กู้ดีเพียงพอหรือไม่ เข้าใจสถานะผู้กู้หรือไม่ เมื่อถึงเวลาแล้วก็ให้ทนายดำเนินการ จึงปรากฏ มีค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้โดยการดำเนินคดีสูงมาก ยิ่งหากนำมาเทียบกับรายได้ 6638 ล้านบาทในปี 2563 ประมาณ ร้อยละ 10 ของรายได้ซึ่งไม่น้อยเลยทีเดียว
เป็นที่น่าสังเกตอีกเช่นกันว่ารายได้ดอกเบี้ยรับ 5822 ล้านบาท เป็นร้อยละ 90ของรายรับในปี2563 ซึ่งดูเป็นปกติสำหรับกิจการให้กู้ แต่หากไปดูในรายละเอียด ปรากฏเป็นเบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้สูงมากถึง 2520 ล้านบาทหรือ ร้อยละ 40 ของดอกเบี้ยรับทั้งหมดซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องปกติ สะท้อนได้สองอย่างคือ ผู้กู้จ่ายหนี้มาไม่ทราบว่าเงินมาตัดดอกเบี้ยปรับที่สูงเงินที่ชำระมาไม่ลดเงินต้น สองกระบวนการติดตามเก็บชำระหนี้พึงพาการฟ้องร้องการบังคับคดีเป็นหลัก ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบทบาทของการให้โอกาสสร้างอนาคตต่อเยาวชนของชาติ
อย่างไรก็ดีอย่างน้อยมีผู้กู้ ของ กยศ.จำนวน 1.47 ล้านรายได้ชำระหนี้เสร็จสิ้น
เป็นที่น่ายินดีมีการแก้ไข พรบ กยศ 2560 ซึ่งตอบโจทย์ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้บ้าง เช่น ไม่มีข้อความดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้เงินกู้ ( แต่ในทางปฎิบัติการฟ้องดำเนินคดีก็ยังปรากฏ ) การลดอัตราดอกเบี้ยปรับ จากร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือร้อยละ 18 ต่อปี เหลือไม่เกิน ร้อยละ 7.5 ต่อปี และนำเรื่องการชำระหนี้ผูกกับการมีรายได้ของผู้กู้ โดยนายจ้างมีหน้าที่หักเงินเดือนชำระหนี้ให้ เป็นต้น
ประกอบกับ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปฎิรูปหลักการชำระหนี้ ในเรื่องการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่เหมาะสมพร้อมทั้งปรับฐานการคิดดอกเบี้ยปรับให้คิดเฉพาะเงินต้นที่ผิดนัดในงวดนั้น ๆแทนการคิดเงินต้นทั้งจำนวน ซึ่งลดภาระดอกเบี้ยปรับได้เป็นอย่างมาก เช่นเดิมดอกเบี้ยปรับ 27443 เหลือเพียง 8 บาท เท่านั้นรวมถึงลำดับการตัดหนี้ให้ตัดต้นเงินและดอกเบี้ยในงวดที่ค้างก่อน แทนที่จะไปตัดดอกเบี้ยปรับ เป็นการสร้างความเป็นธรรมให้ผู้กู้เงิน ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
อีกทั้งวันที่ 30 มิถุนายน 2562 สนง.บังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับ กยศ. จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ข้อพิพาทชั้นบังคับคดี สามารถแก้ไขหนี้ได้ 613 รายจาก จำนวนผู้กู้ 736 ราย นั่นแสดงว่าน้อง ๆ วัยทำงานคงไม่มีใครอยากโดนคดีฟ้องยึดทรัพย์เป็นที่เดือดร้อนของพ่อแม่ผู้ค้ำประกัน
ปัจจุบันผู้กู้ จำนวน 1.5 ล้านรายอยู่ในขบวนการทางศาล ส่วนหนึ่งอยุ่ในขั้นตอนยึดทรัพย์ขายทอดตลาด มาตรการประนีประนอมอย่างผ่อนปรนตามธนาคารแห่งประเทศไทย ย่อมถือเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาสังคมได้ควรนำมาปฎิบัติอย่างเร่งด่วนในปีนี้ ก่อนที่จะสายเกินแก้
ผู้กู้อยากเห็น รัฐเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับนักศึกษามากกว่าการมีบทบาทเจ้าหนี้
ท้ายที่สุด เราเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับ การสร้างภาพจำและสามารถนำไปสู่แนวทางปฎิบัติได้ด้วย การที่ รัฐบาลโดย กยศ. จะอยู่ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนประคับประคองนักเรียนนักศึกษาให้ มีโอกาส สร้างอนาคตตอบโจทย์สร้างบุคลากรคุณภาพของไทย มากกว่าการมีบทบาทการเป็นเจ้าหนี้
ข้อเสนอแนะ เครื่องมือของกระทรวงการคลังซึ่ง กยศ.อยู่ในกำกับ น่าจะช่วยเข้ามาตอบโจทย์การรู้จักผู้กู้ การติดตามผู้กู้ การสอดส่องพฤติกรรมการใช้จ่าย การชำระหนี้ เช่น application เป๋าตัง เป็นการใช้ digital technology ในการบริหารติดตามผู้กู้ได้อย่างเป็นมิตรและใกล้ชิด
หวังว่า 4 ล้านคนจะกลับมาเป็นพลังของชาติได้ในที่สุด ไม่ติดกับดับหนี้ กยศ.
หมายเหตุ * แหล่งข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย และ รายงานทางการเงินของ กยศ.
วงศกร พิธุพันธ์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |