รัฐบาลไต้หวันยื่นใบสมัครอย่างเป็นทางการ เพื่อขอเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) เมื่อวันพุธ คล้อยหลังจีนยื่นใบสมัครอย่างเป็นทางการไม่ถึง 1 สัปดาห์
รอยเตอร์รายงานอ้างคำประกาศของโฆษกรัฐบาลไต้หวันเมื่อวันพุธที่ 22 กันยายน 2564 ว่าไต้หวันได้แจ้งการตัดสินใจขอเป็นสมาชิกของซีพีทีพีพีอย่างเป็นทางการต่อชาติสมาชิกของซีพีทีพีพีที่มี 11 ประเทศแล้ว และนายกฯ ซู เจิงชาง ได้ขอให้กระทรวงต่างๆ เตรียมการสำหรับการเจรจา
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หวัง เม่ยฮัว รัฐมนตรีเศรษฐกิจของไต้หวัน แสดงความวิตกกังวลที่จีนตัดสินใจ "ปุบปับ" ยื่นสมัครเข้าร่วมซีพีทีพีพีเมื่อวันที่ 16 กันยายน และกล่าวว่า เธอหวังว่าการตัดสินใจของจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการสมัครของไต้หวัน ซึ่งแสดงความท่าทีมานานแล้วว่าต้องการเข้าร่วมความตกลงฉบับนี้
เดิมซีพีทีพีพีเป็นความตกลงที่ปรับเปลี่ยนมาจากความตกลงหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (ทีพีพี) ที่มีสมาชิก 12 ประเทศ ซึ่งถูกมองว่าเป็นการจับมือกันเพื่อคานการแผ่อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีน แต่หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นำสหรัฐถอนตัวเมื่อปี 2560 ความตกลงนี้จึงเปลี่ยนเป็นซีพีทีพีพี โดยเหลือสมาชิก 11 ชาติ ได้แก่ แคนาดา, ออสเตรเลีย, บรูไน, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์ และเวียดนาม
อังกฤษก็สนใจเข้าร่วมซีพีทีพีพีเช่นกัน และได้เริ่มการเจรจาเมื่อเดือนมิถุนายน
ไต้หวันไม่ได้เป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร เนื่องจากจีนยืนกรานว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของ "จีนเดียว" แต่ในด้านเศรษฐกิจ ไต้หวันเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและกลุ่มเอเปกด้วย เช่นเดียวกับจีน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |