22 ก.ย.64 - ศาลรัฐธรรมนูญได้อภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในคดีที่ศาลอาญาส่งคำโต้แย้งของน.ส.เบนจา อะปัญ แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมายเลขดำที่ลศ. 6/2564 และนายณัฐชนน ไพโรจน์ สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมายเลขดำที่ ลศ.8/25 64 ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 33 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องทั้งสองแล้วสั่งรวมการพิจารณาเข้าด้วยกันเนื่องจากมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นประเด็นเดียวกันและเห็นว่าคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาใช้ได้จึงไม่ทำการไต่สวนและกำหนดนัดแถลงด้วยวาจาปรึกษาหารือและลงมติในวันพุธที่ 6 ต.ค. เวลา 9.30 น
ทั้งนี้ น.ส.เบนจา และนายณัฐชนน ถูกกล่าวหาในฐานความผิด “ละเมิดอำนาจศาล” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จากการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้แกนนำราษฎร บริเวณหน้าศาลอาญา เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 64 ซึ่งในการไต่สวนของศาลอาญาเมื่อกลางเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเนื่องจากเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ที่กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือทั้งสองวิธี คือ (ก) ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือ (ข) ให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท นั้น ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เพิ่มภาระและจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ขัดกับหลักความได้สัดส่วน ไม่สอดคล้องกับหลักความจำเป็น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |