22 ก.ย.64- สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดเสวนา “การขับเคลื่อนนโยบายการวางแผนครอบครัวเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และกฎหมายกับการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย” โดย นพ.พีระยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรไทยที่เป็นวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 10-19 ปี มีจำนวน 8 ล้านคน แบ่งเป็นเพศชาย 4 ล้านคน เพศหญิง 4 ล้านคน เรียกได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวัยแรงงานที่มีคุณภาพ แต่ก็มีปัญหาที่เกิดในวัยนี้โดยเฉพาะผู้หญิง คือ การตั้งครรภ์โดยไม่มีความพร้อมหรือก่อนจบการศึกษา เนื่องจากอัตราการคลอดบุตรในวัยรุ่นสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียหรือในระดับโลก โดยในพ.ศ.2554-2555 พบอัตราการคลอดในช่วงอายุ 15-19 ปี จำนวน 53.4 คน ต่อ 1,000 คน โดยพบว่าประมาณ 50% เกิดจากการไม่ได้ตั้งใจมีเพศสัมพันธ์ 30% เด็กไม่รู้วิธีการคุ้มกำเนิดที่ถูกต้องและเหมาะสม 10% เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ขณะมึนเมา และอีก 10% คือการไม่ตระหนักถึงผลที่ตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์ เพราะเมื่อไม่พร้อมตั้งครรภ์ก็จะนำไปสู่การทำแท้งผิดกฎหมาย หรือซื้อยาตามโซเชียลมีเดียจึงพบเด็กเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวหลายราย
นพ.พีระยุทธ กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีลดลงอยู่ที่ 28 คนต่อ 1,000 คน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติในช่วง 20 ปี โดย 10 ปีแรกในปี 2569 จะต้องมีอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีไม่เกิน 25 คนต่อ 1,000 คน และในปี 2579 จะต้องไม่เกิน 15 คนต่อ 1,000 คน จากการผลักดันพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 อย่างในกรณีที่ทางกระทรวงศึกษาต้องปฏิบัติ คือโรงเรียนต้องมีการจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษา และเป้าหมายสำคัญตามมาตรา 5 คือ เมื่อเด็กตั้งครรภ์แล้วต้องได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพในรูปแบบที่เหมาะสม ได้รับสวัสดิการด้านอนามัยและการเจริญพันธุ์ ที่เป็นส่วนตัวและความลับ ซึ่งเป็นสิทธิของเด็กในการตัดสินใจ
นพ.พีระยุทธ ย้ำว่า การคุมกำเนิด จะต้องควบคู่กับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประกอบด้วย วิธีการคุมกำเนิดมาตรฐานร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ แต่พบว่าวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์กับแฟนใช้ถุงยางอนามัยเพียง 80% อาจจะเพราะสังคมหรือกายภาพต่างๆมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การมีประจำเดือนในเด็กไวขึ้น ซึ่งหมายความว่าเด็กพร้อมตั้งครรภ์ โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่อายุ 11.57 ปี จึงทำให้เด็กที่ศึกษาอยู่ชั้น ป.5-6 ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ การคุมกำเนิดจะต้องมีการประเมินเป็นรายบุคคลเพื่อเลือกวิธีการคุมกำเนิดได้อย่างเหมาะสม เพราะในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่กว่า 40% ส่วนใหญ่จะลืมทานยาคุม
ทั้งนี้ทางกรมฯ ได้ร่วมกับสำนักงาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ในการส่งเสริมวัยรุ่นที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ให้สามารถเข้าถึงบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรระยะยาว ด้วยการใส่ห่วงคุมกำเนิด และฝังยาคุมได้ฟรีทุกกรณี และยังครอบคลุมถึงหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 20 ปีขึ้นไป ในกรณีหลังยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย โดยหน่วยบริการที่ได้จัดบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรเพิ่มขึ้นจนครอบคลุม 85.6% ของ รพ. สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จากสถิติในปี2563 ตั้งแต่ 1พ.ค.57- 31 มี.ค.64 รวม 210,997 คน ตามข้อมูลจาก E-Claim ของสปสช. ซึ่งจะดำเนินงานต่อไปเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้เพื่อแก้ปัญหาประชากรให้ครบทุกด้านจะดำเนินนโยบายส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) เพื่อให้ทุกการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความตั้งใจ มีการวางแผน แม่และเด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสมทั้งก่อนและหลังคลอด นอกจากนี้ทางกรมฯ ยังได้หาแนวทางการขับเคลื่อนผ่านสื่อ Line Official Account TEEN CLUB เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องเพศให้วัยรุ่น อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการท้องไม่พร้อม และการเกิดที่ไม่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |