สธ. เผยผลวิจัยฉีดบูสเตอร์โดสใต้ผิวหนัง ภูมิใกล้เคียงฉีดเข้ากล้าม-ผลข้างเคียงน้อย ประหยัดวัคซีน


เพิ่มเพื่อน    

22 ก.ย.64 - เวลา 13.00 น. ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ นพ.ศุภกิจ​ ศิริ​ลักษณ์​ อธิบดี​กรม​วิทยา​ศาสตร์​การแพทย์ ​แถลง​ผลการวิจัยภูมิ​คุ้มกัน​และความปลอดภัย​จากการได้รับวัคซีน​กระตุ้นเข้าใต้ผิวหนัง ว่า การฉีดวัคซีนมีอยู่ 3 แบบ 1.ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2.ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และ3.ฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง โดยการฉีดเข้าไปในชั้นผิวหนัง จะเป็นการแทงเข็มเข้าชั้นผิวหนัง ซึ่งมีความหนาโดยรวมประมาณ 1 มิลลิเมตร​ ทำให้มีข้อจำกัดคือมีความยากลำบากกว่าการฉีด 2 วิธีที่กล่าวมา ต้องมีทักษะในการทำพอสมควรถึงจะฉีดได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามเรามีประสบการณ์​ในการฉีดเข้าชั้นผิวหนังแล้ว อาทิ วัคซีน BCG วัคซีนพิษสุนัขบ้า​ ทั้งนี้มีหลายประเทศเริ่มคิดเรื่องนี้ เพราะโดยทั่วไปการฉีดเข้าไปในชั้นผิวหนังซึ่งมีเส้นเลือดมากมายจะใช้จำนวนวัคซีนที่น้อยกว่าถึง 1 ใน 5 ซึ่งถ้าได้ผลเท่ากัน หมายความว่าวัคซีนที่เคยฉีดได้ถึง 1 คน จะสามารถฉีดได้ 5 คน

นพ.ศุภกิจ​ กล่าวว่า งานวิจัยของเราใช้วัคซีน​ฉีดเข้าไปในชั้นผิวหนัง​เฉพาะบูสเตอร์​โดส คนที่ฉีดซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อในระยะหลังจากฉีดครบสองเข็มมาแล้ว 4-8 สัปดาห์​ แล้ว เราก็นำอาสาสมัคร​จำนวนหนึ่งมาฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนัง และอีกกรณีคือคนฉีดซิโนแวคนาน 8-​12 สัปดาห์​ โดยนำอาสาสมัครมาฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง หลังจากนั้นใน 14 วันเราเจาะเลือดมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งเราดู 2 เรื่องคือผลข้างเคียง​ จะเห็นว่าฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะเกิดอาการเฉพาะที่มากกว่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนอาการทั่วไปของร่างกายที่มีปฏิกิริยา​เกิดขึ้น ปรากฎว่าน้อยลง เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และดูเรื่องภูมิคุ้มกัน​ ซึ่งมี 2 ส่วน คือภูมิคุ้มกันที่อยู่ในน้ำเลือดของคน หรือแอนติบอดี้​ และปฏิกิริยาของเซลล์​ที่จะช่วยกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย โดยภูมิทั่วไปถ้าฉีดซิโนแวค 2 เข็ม แล้วยังไม่ทำอะไรเลย ภูมิจะอยู่ประมาณ 100  แต่ถ้าฉีดเข็มกระตุ้นไม่ว่าจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ภูมิคุ้มกันใกล้เคียงกัน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อผู้อยู่ที่ 1,600 ส่วนฉีดเข้าชั้นผิวหนังอยู่ 1,300 ซึ่งใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงประหยัด​วัคซีน​ลงไป ฉีดแค่ 1 ใน 5 ภูมิขึ้นมาค่อนข้างสูง

ส่วนการตอบสนองภูมิคุ้มกันของเซลล์ (T-cell response) ต่อโปรตีนหนามแหลมขอวเชื้อโควิด-19 นั้น ถ้าฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิของเซลล์จะขึ้นที่ 32 แต่ถ้าฉีดโดยกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสต​ร้า​เซน​เน​ก้า​ขึ้นมาที่ 52 และฉีดเข้าชั้นผิวหนังขึ้นมา 52 เช่นกัน เพราะฉะนั้นไม่ต่างกันในการกระตุ้นให้เซลล์มาช่วยกำจัดไวรัส เพราะฉะนั้นภูมิจึงใกล้เคียงกันกับการฉีดแบบเดิม

"เมื่อลองมาสู้กับสายพันธุ์​เดลต้า(อินเดีย)​ ปรากฎว่าได้ผลไม่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการฉีดเข้าชั่นผิวหนังสามารถสู้กับสายพันธุ์​เดลต้า ยืนยันว่าถ้าฉีดตอนนี้ก็จัดการเดลต้าได้ดีพอสมควร" นพ.ศุภกิจ​ กล่าว

นพ.ศุภกิจ​ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวมีข้อจำกัดใน เพราะการฉีดผู้ที่ฉีดต้องพิถีพิถัน​ เนื่องจากการฉีดจะยาก ถ้าวัคซีนเหลือเฟือ​ เราก็อาจฉีดแบบเดิมไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเร่งเข็มที่ 3 ให้ครบเร็วๆโดยที่ไม่ต้องเปลืองวัคซีน จึงเป็นทางเลือกที่ดี และผลข้างเคียงบางอย่างน้อยกว่าด้วยซ้ำ

"เรียนว่าขณะนี้เรายังฉีดแบบเดิมคือเข้ากล้ามเนื้อ ยกเว้นในพื้นที่ไหนที่ต้องการประหยัดวัคซีน​ และมีความพร้อม เรายังไม่ได้นำไปใช้ฉีดเป็นการทั่วไป แต่วันหนึ่งถ้าเราจะเร่งให้มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมมาก โดยเฉพาะเข็ม 3 ถ้าเราฉีดเข้าชั้นผิวหนังเราก็ใช้แค่ 1 ใน 5 เพราะฉะนั้นก็จะประหยัดวัคซีน และทำให้คนได้เข็ม 3 ครบมากขึ้น เร็วขึ้​น โดยสรุปแล้วงานนี้เป็นแค่การเสนอวิธีการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง และบูสเตอร์​โดส"นพ.ศุภกิจ กล่าว

ด้านนพ.สุรัคเมธ มหาศิริมง​คล ผู้อำนวยการสถาบันชีวิทยาศาสตร์​ทาง​การแพทย์​ กล่าวว่า ผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดไข้ในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ เราพบ 30% ส่วนที่ฉีดเข้าชั้นผิวหนังพบแค่ 5 % ซึ่งน้อยกว่ามาก ถ้าในอนาคต ถ้าเราพิสูจน์​ได้ว่าการฉีดให้คนหมื่นคน เราไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงเฉพาะที่ การฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะเป็นทางเลือกที่ดีในแง่ความปลอดภัยด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"