22 ก.ย.2564 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ไม่มีใครสามารถฟันธงได้ว่าอนาคตพรรคพลังประชารัฐจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัยหรือไม่ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ว่าจะมีการยุบสภา หรือจะเป็นการเลือกตั้งหลังจากสภาหมดวาระในอีกประมาณปีครึ่ง ก็ตาม
ผลจากการสำรวจของนิด้าโพล คนที่ตอบส่วนใหญ่เห็นว่าการปลด ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และและ อ.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ออกจากการเป็นรัฐมนตรี เป็นเรื่องเหมาะสมแล้ว และระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐ และไม่ควรตั้งพรรคการเมืองเอง นั่นหมายความว่า ประชาชนที่ตอบเห็นว่า พรรคพลังประชารัฐมีนักการเมืองแบบเก่าที่หวังผลประโยชน์ และคิดแต่เรื่องโควตารัฐมนตรีมากเกินไป พล.อ.ประยุทธ์จึงไม่ควรลงไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของพรรค การดูแลพรรค และการเมืองในและนอกพรรค ควรเป็นหน้าที่ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เช่นเดิม
การที่ พล.อ.ประวิตร รั้งตัว ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ไว้ให้คงอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ อาจเป็นเพราะคนอย่าง ร.อ.ธรรมนัส ควรที่จะเก็บไว้อยู่ใกล้ตัว จะดีกว่าปล่อยให้ไปอยู่กับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งการที่ ร.อ.ธรรมนัส จะเลิกยุ่งกับการเมือง ไปใช้ชีวิตเงียบๆ ที่จังหวัดพะเยาเป็นเรื่องที่พูดได้แต่เป็นไปไม่ได้
เมื่อ ร.อ.ธรรมนัสตัดสินใจอยู่กับพรรคพลังประชารัฐต่อไปตามความต้องการของ พล.อ.ประวิตร คำถามคือว่า เรื่องที่เกิดขึ้นระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์และ ร.อ.ธรรมนัส จะจบลงง่ายๆอย่างนี้หรือ คำตอบคือ คงไม่จบ เพราะ ร.อ.ธรรมนัสบอกเองว่า "ผมเป็นคนจำนาน" ดังนั้นไม่ลืมแน่ๆ พล.อ.ประยุทธ์เองก็คงไม่ลืมเช่นกัน
ไม่ทราบว่าที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ มีความไว้วางใจ ร.อ.ธรรมนัสแค่ไหน แต่จากนี้ไปเป็นที่แน่ใจได้ว่า ไม่มีทางไว้วางใจอีกตลอดกาล อย่างนั้น ร.อ.ธรรมนัส จะมีอนาคตทางการเมืองได้อย่างไรหาก พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย ในทางกลับกันหาก ร.อ.ธรรมนัส ยังเป็นเลขาธิการพรรคอยู่ และยังคุมเสียง ส.ส.ทั้งในพรรคพลังประชารัฐจำนวนหนึ่ง และเสียง ส.ส.พรรคเล็ก ทำให้ยังมีอำนาจต่อรอง ร.อ.ธรรมนัส จะขวางไม่ให้พรรคเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหรือไม่ ไม่ทราบเหมือนกันว่า พล.อ.ประวิตรเตรียมหาทางออกไว้แล้วหรือไม่อย่างไร
ไม่ว่าจะอย่างไร พรรคพลังประชารัฐคงจะต้องทำทุกวิถีทางที่จะให้ได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง ไม่ว่าจะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคใดก็ตาม
การผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงวิธีลงคะแนนเลือกตั้งจากใช้บัตรใบเดียว และมีจำนวน ส.ส.ที่พึงมีเป็นตัวจำกัดจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่พรรคจะได้ มาเป็นใช้บัตร 2 ใบ ใบหนึ่งเลือกส.ส.เขต ใบหนึ่งเลือกพรรค โดยไม่มีการจำกัดจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อที่พรรคจะได้ อาจเป็นการตกลงร่วมกันกับพรรคต่างๆ ที่ร่วมกันโหวตผ่าน ซึ่งไม่แน่ว่าข้อตกลงร่วมกันดังกล่าวคืออะไร
อย่างที่เคยกล่าวแล้วหลายครั้งว่า การจับมือกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันหลังเลือกตั้งครั้งหน้าไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ว่า จะสามารถเจรจาต่อรองผลประโยชน์ได้ลงตัวหรือไม่เท่านั้น
ในที่สุด เราจะได้ทราบกันว่า ความแนบแน่นของ 3 ป. เป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรมาโยกคลอนได้จริงหรือไม่ เมื่อถึงวันนั้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |