โมเดลที่ทุกฝ่ายต้องลุย!


เพิ่มเพื่อน    

การเดินหน้าของระบบเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้น มักจะถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการของสังคมโลก ที่มีการเรียกร้อง หรือขับเคลื่อนจนกลายเป็นกระแสที่เกิดการยอมรับในวงกว้าง ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์การเปลี่ยนของยุคสมัยนั้น จะเห็นเหตุผลที่แตกต่างกันในช่วงสมัยที่ใครว่าอันนั้นดี อันนี้ถูกต้อง
    ขณะที่ปัจจุบันสังคมโลกก็มีกระแสที่เปลี่ยนไป และเทรนด์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ การเริ่มมองไปในทิศทางของการพัฒนาแบบยั่งยืน หรือการพัฒนาควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นเทรนด์ที่กำลังเป็นที่นิยมและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เนื่องจากหลายสังคมเริ่มประสบกับผลกระทบของภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้นแล้ว
    ประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้าใคร แม้จะไม่ชัดเจนกับเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่ก็พยายามก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากจุดเชื่อมโยงเล็กๆ และได้ตั้งเป้าพัฒนาด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม หรือโมเดลเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งถูกเรียกว่า "บีซีจี" (BCG) ที่ถูกย่อมาจากไบโออีโคโนมี เซอร์คูลาร์อีโคโนมี และกรีนอีโคโนมี ซึ่งทั้งหมดนั้นครอบคลุมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดูแลสิ่งแวดล้อมไปเกือบจะทุกแนวทาง
    รวมถึงการเดินหน้าของภาคอุตสาหกรรมด้วย ทำให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยเริ่มเห็นความชัดเจนเรื่องนี้จากหลายๆ โครงการของหลายๆ หน่วยงานที่ริเริ่มทำ รวมถึงล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่เริ่มเดินหน้าเรื่องดังกล่าวโดยร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อยกระดับภาคธุรกิจ 5 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม และสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ BCG ในฐานะวาระแห่งชาติ
    โดยได้ร่วมผลักดันและดำเนินงานตามนโยบาย BCG ของประเทศ ภายใต้ 3 กลยุทธ์ คือ 1.การพัฒนาโมเดล BCG และการขยายผล 2.การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ และ 3.การพัฒนามาตรฐานและการสนับสนุนด้านนโยบาย โดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจเติบโตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรบริสุทธิ์น้อยลง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยมีกิจกรรมสำคัญ อาทิ
     การส่งเสริม Smart Agriculture Industry การพัฒนา Platform การบริหารจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่า “Circular Material Hub” การจัดทำข้อตกลงร่วมบรรจุภัณฑ์พลาสติก PET ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการจัดการขยะพลาสติกภายใต้การสนับสนุน AEPW การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงโครงการการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เป็นความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมฯ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    โดย "สิรี ชัยเสรี" ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ออกมากล่าวในฐานะผู้ให้ทุนการสนับสนุนการดำเนินโครงการ ว่าได้เล็งเห็นถึงบทบาทภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อน BCG ให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งโครงการจะเน้นการศึกษาวิจัย BCG Model ในทางวิชาการและสร้างการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจ BCG เพื่อนำไปสู่การปรับใช้ในทางธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง หลังจากที่ผลการศึกษาเสร็จสิ้น บพข. และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการในโครงการ ด้วยนโยบายการสนับสนุนทางการเงิน ภาษี การลงทุน กฎระเบียบ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล โครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนาและการตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างประโยชน์จากผลการวิจัยโครงการให้เกิดขึ้นจริงกับธุรกิจ
    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินภารกิจดูแล 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 11 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน BCG และร่วมผลักดันในการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดการพัฒนาต้นแบบโมเดลกลุ่มอุตสาหกรรมนำร่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดเป็นรูปธรรมและสัมฤทธิผล เพื่อสร้างทางเลือกแผนธุรกิจที่มีศักยภาพสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม
    เห็นได้ชัดเจนเลยว่าประเทศไทยไม่ได้น้อยหน้าไปกว่ากระแสโลกเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ต้องจับตาคือ ความจริงจังและความต่อเนื่อง ถ้าจะหวังผลให้โมเดลดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"