อีเวนต์ต้านโทษประหาร


เพิ่มเพื่อน    

    วานนี้ (๑๙ มิถุนายน) นอกจากเรื่องพลังดูดของ คสช.แล้ว สังคมไทยยังถกเถียงกันเรื่อง โทษประหารชีวิต ว่าควรยกเลิก หรือมีต่อ?
    ฝั่งองค์กรภาคเอกชน หรือที่เรียกว่า เอ็นจีโอ หัวเด็ดตีนขาด ต้องยกเลิก 
    ส่วนระดับชาวบ้านเสียงแตก  
    บ้างก็ให้เลิกเพราะรับข้อมูลมาจากฝั่งเอ็นจีโอ รวมถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งไทยและเทศ
    ส่วนที่บอกว่าไม่ควรเลิก ก็คิดเอาจากพื้นฐานความรู้สึก ว่าด้วยเรื่องกฎแห่งกรรม 
    และบนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจผู้รับเคราะห์ 
    ฟังจากฝ่ายเอ็นจีโอ นักสิทธิมนุษยชน พอสรุปได้ว่า ประเทศไทยมีความเลวร้าย ที่ยังคงโทษประหารชีวิตเอาไว้ 
    เป็นชาติที่ล้าหลัง และไม่เป็นประชาธิปไตย 
    ใช่ครับมีเรื่องประชาธิปไตยเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะแถลงการณ์ของ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (OHCHR) เขาระบุเอาไว้ชัดเจนว่า 
    ....เหตุผลของการดำเนินการประหารชีวิตนายธีรศักดิ์ หลงจิ ยังไม่ปรากฏแน่ชัด.... 
    ....ความโปร่งใสเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนโดยทั่วไปที่จะได้รับทราบเพื่อการอภิปรายสาธารณะและความรับผิดตามระบบประชาธิปไตย....
    ขณะที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยในไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอยากเลือกตั้ง นักการเมืองในพรรคเพื่อไทย ต่างแสดงความเห็นในโลกออนไลน์กันอย่างคึกคักว่า
    ค้านโทษประหาร! 
    ปัจจุบันมีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว ๑๔๑ ประเทศ ขณะเดียวกันยังมี ๕๗ ประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ 
    และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย
    เห็นแค่ตัวเลขกลมๆ แบบนี้เหมือนไทยอยู่ในกลุ่มบ้านป่าเมืองเถื่อน ล้าหลัง ด้อยพัฒนา 
    แต่เมื่อดูรายชื่อ ๕๗ ประเทศ อาจมองเห็นอีกภาพ
    อเมริกา จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ประเทศแถบตะวันออกกลางทั้งหมด  ประเทศเหล่านี้ล้วนยืนยันประหารชีวิตต่อไป 
    ตามข่าวบอกว่า ตลอด ๙ ปีที่ผ่านมาไม่มีการประหารเกิดขึ้นในประเทศไทย 
    ครั้งสุดท้าย ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ มีการฉีดยาเพื่อประหารชีวิตนักโทษชาย ๒ คนที่เรือนจำบางขวาง จนถึงปัจจุบันศาลตัดสินลงโทษประหารชีวิตด้วยวิธีฉีดยาให้ตายทั้งสิ้น ๖ คน
    สาเหตุที่มีการคัดค้านโทษประหารชีวิต ประเด็นหลักคือ เรื่องสิทธิมนุษยชน และความผิดพลาดในการพิจารณาคดี ที่อาจประหารผู้บริสุทธิ์ได้ 
    เป็นประเด็นที่ควรรับฟัง 
    แม้จะอ้างผลวิจัยโทษประหารไม่มีผลต่อการก่ออาชญากรรม แต่จะบอกว่าคนก่ออาชญากรรมเพราะไม่กลัวโทษประหาร ก็ไม่น่าจะถูก 
    ทุกคนกลัวตายทั้งนั้น
    ขณะที่หลักสิทธิมนุษยชนควรใช้กับใครเป็นอันดับแรก
    ผู้บริสุทธิ์ควรได้รับการปกป้องก่อนหรือไม่
    ญาติผู้ถูกกระทำควรได้รับการปกป้องทางจิตใจด้วยหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่ 
    ยุโรปประเทศที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชน วันนี้ยังส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดในตะวันออกกลางหรือไม่
    สมัยทักษิณประหารด้วยศาลเตี้ยไปกว่า ๒ พันศพ เราจะพูดถึงสิทธิมนุษยชนในแง่ไหนดี เพราะคนที่ต่อต้านโทษประหารวันนี้ก็บูชาระบอบทักษิณอยู่ไม่น้อย 
    ประหารหรือไม่ประหาร อย่าทำเป็นอีเวนต์เพื่อตัวเอง หรือองค์กรตัวเองดูดี เพราะการประหารคือปลายเหตุของปัญหา 
    พรรคที่บอกว่าเลือกตั้งทีไรก็ชนะ ไม่เคยมีความคิดจะแก้กฎหมายเลิกโทษประหารทั้งๆ ที่มีเสียงข้างมากในสภา
    เลือกตั้งคราวนี้ถ้าให้ชัด พรรคการเมืองควรประกาศเป็นนโยบาย 
    โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่ ที่ถนัดเรื่อง "ฉีก" กล้าหรือเปล่าฉีกโทษประหารทิ้ง.    


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"