ปรับองค์กรก่อนภาวะสมองไหล


เพิ่มเพื่อน    

การรักษาพนักงานที่เก่งและตอบโจทย์แก่องค์กรนับเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง แน่นอนว่า ธุรกิจไทยต้องเร่งปรับวัฒนธรรมองค์กร เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยที่ผ่านมามีผลสำรวจจาก PWC พบว่า การจ้างงานและการรักษาคนเก่งไว้กับองค์กรกลายเป็นปัจจัยความกังวลอันดับที่ 1 ของนายจ้าง หากมีวัฒนธรรมที่ไม่ตอบโจทย์ อาจส่งผลให้ทาเลนต์ย้ายไปทำงานให้กับคู่แข่ง ออกไปทำธุรกิจของตัวเอง หรือแม้กระทั่งลาออกไปอยู่กับบริษัทลูกค้าที่ดีลงานอีกด้วย
    ในเรื่องดังกล่าว ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การจ้างงานและการรักษาคนเก่งไว้กับองค์กรเป็นปัญหาที่ผู้บริหารแสดงความกังวลมากเป็นอันดับที่ 1 ในปีนี้ แม้ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันมีพนักงานจำนวนมากที่ไม่กล้าลาออกจากงาน เพราะต้องการความมั่นคงในเรื่องของรายได้ตามสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี แต่ก็มีแรงงานบางส่วนที่เห็นช่องทางอื่นในตลาดแรงงานจึงลาออก หากงานนั้นไม่ตอบโจทย์ความต้องการ หรือมองไม่เห็นช่องทางในการเติบโต
    แน่นอนว่า โควิด-19 จะทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องตกงานและการจ้างงานลดลง แต่ขณะเดียวกันก็เห็นแนวโน้มที่คนจะย้ายงานเพิ่มขึ้นเมื่อการแพร่ระบาดจบลง เพราะคนเริ่มเคยชินกับรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น มีอิสระในการทำงาน และบางส่วนเห็นช่องทางในการหารายได้ที่สามารถเป็นเจ้านายตัวเอง ซึ่งตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้มากกว่านั่นเอง
    ปัญหานี้จะกลายมาเป็นความท้าทายของเอชอาร์ในระยะต่อไป เพราะนอกจากจะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ยังจะต้องเข้าใจค่านิยมของพนักงานในทุกระดับเพื่อดึงดูดและรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรต่อไปให้ได้
    ผลสำรวจยังบอกอีกว่า มีพนักงานจำนวนมากที่ยังทำงานอยู่กับนายจ้างปัจจุบันด้วยเหตุผลในเรื่องสภาพเศรษฐกิจ และต้องการมีรายได้ที่มั่นคง แต่ในขณะเดียวกันก็รอโอกาสที่เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนงานหลังวิกฤตโควิด-19 สิ้นสุดลง นอกจากนี้รูปแบบการทำงานจากที่ไหนก็ได้ ยังอาจทำให้ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงานและองค์กรลดลง และบางส่วนรู้สึกหมดไฟในการทำงาน นำไปสู่การตัดสินใจเปลี่ยนงานที่ง่ายขึ้น
    ขณะเดียวกันยังมีข้อมูลอีกว่า 81% ขององค์กรที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เชื่อว่าองค์กรของตนมีวัฒนธรรมที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ขณะที่ 88% ระบุว่า วัฒนธรรมองค์กรช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้เกิดผลสำเร็จ และดูเหมือนว่าวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กินเวลายาวนานมากว่า 1 ปี สะท้อนว่าองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งจะสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วกว่า ด้วยกระบวนการในการทำงานไม่ซ้ำซ้อน มากขั้นตอน และพนักงานก็พร้อมให้ความร่วมมือกับองค์กรในการปรับเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จึงทำให้องค์กรประเภทนี้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันแม้ต้องเจอกับวิกฤต โดยยังสามารถสร้างรายได้ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและพนักงานได้เป็นอย่างดี
    สำหรับองค์กรไทยส่วนใหญ่ยังมีการบริหารแบบสายบังคับบัญชาหลายชั้น ทำให้การตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต้องใช้เวลานานในการดำเนินการ และยังมีความเกรงใจตามความอาวุโส ที่ทำให้การแสดงความคิดเห็นของพนักงานระดับล่างนั้นอาจถูกจำกัด หรือไม่ได้รับความสำคัญมากพอ องค์กรไทยยังคงต้องปรับวัฒนธรรมองค์กรให้มีความคล่องตัวมากกว่าเดิม โดยลดขั้นตอนการทำงานเป็นลำดับขั้นลง ปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารต้องเปิดใจในการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานทุกระดับ รวมถึงนำความผิดพลาดในอดีตมาใช้เป็นบทเรียนในการพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น.

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"