ถอดบทเรียนปัญหาเยาวชน-กลุ่มเปราะบางยุคโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

15 ก.ย.2564 -  ในงานเสวนาเนื่องในวันประชาธิปไตยสากล ระหว่างเยาวชนกลุ่มเปราะบาง และสมาชิกรัฐสภา ภายใต้หัวข้อ "ชีวิตประจำวัน ความฝัน และความท้าทาย ของเยาวชนไทยในยุคโควิด-19" โดยมี นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารชมรมสมาชิกรัฐสภา Young MP ทำหน้าที่ประธานการประชุม พร้อมกันนี้ ยังมีตัวแทนสมาชิกรัฐสภาคนรุ่นใหม่ จากทั้ง ส.ส.ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล รวมถึง ส.ว. เข้าร่วม อาทิ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย (พท.), น.ส.วิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์  ส.ว., นายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะส.ส.กลุ่มชาติพันธุ์, น.ส.เพชรชมพู กิจบูรณะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.)  รวมถึงผู้แทนกลุ่มเยาวชน และนายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เข้าร่วมสังเกตการณ์  

นายอิสระ กล่าวเปิดการประชุมว่า จุดประสงค์วันนี้คือหวังว่าจะถอดบทเรียนปัญหาโควิด-19 ที่สร้างอุปสรรคให้กับเยาวชนเปราะบาง เยาวชนไร้สัญชาติ เยาวชนผู้พิการและเยาวชนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ แล้วนำออกมาเป็นนโยบาย หรือข้อเสนอ ส่งให้รัฐบาลได้นำไปอุดช่องโหว่ให้ตรงจุดมากขึ้น ความพิเศษของดรีมทีมจุดประกายในครั้งนี้ คือระดมแนวคิดจากแทบทุกพรรคการเมือง ส่งต่อไปยัง 2 ช่องทางคือ 1.ส่งให้นายกฯ โดยตรง และ 2.ส่งให้เลขาธิการสหประชาชาติ ผ่านผู้แทน ทั้งนี้ คนทั่วไปในสังคมที่ว่าปรับตัวลำบากเเล้ว กลุ่มคนเหล่านี้ยากยิ่งกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่า เราควรยอมแพ้ ผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภาไม่ควรนิ่งดูดาย ขอขอบคุณทุกท่านที่สละความเป็นพรรคการเมืองเข้าร่วม ทุกท่านล้วนเป็นดรีมทีมจุดประกาย ริเริ่มควานหาย่างก้าวที่สำคัญ นอกจากกลุ่มต่าง ๆ ในที่นี้ ตนยังประสานงาน ส่งเจ้าหน้าที่ไปหาพี่น้องพื้นที่ห่างไกล ให้เขาได้เสวนาถอดบทเรียนและสะท้อนปัญหาของเขากับเรา ผ่านระบบซูม อาทิ พี่น้อง จ.น่าน และ จ.ตราด หวังว่าตอนจบเราจะได้ถอดบทเรียนเเล้วนำออกมาเป็นนโยบายหรือข้อเสนอที่จะส่งให้รัฐบาลได้นำไปอุดช่องโหว่ ให้ตรงจุดมากขึ้น 

ด้านนายเรอโนระบุว่า  กลุ่มเยาวชนวันนี้มีความคิดก้าวหน้ากระตือรือร้น อยากมีส่วนร่วมทางการเมือง สิ่งที่อยากย้ำเป็นพิเศษ คือปัจจัยพื้นฐานก่อนการนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย คือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในองค์กรสาธารณะ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จาก 3 ส่วน 1.เรื่องประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของโยบายการบริการภาครัฐ 2.สิ่งเหล่านั้นได้สะท้อนความต้องการของประชาชนหรือไม่ หน่วยงานอาทิรัฐสภา ได้รับฟัง  มีความเข้าใจและเปิดกว้างให้ทุกคนเเสดงความคิดเห็น เพื่อผลิตนโยบายและบริการให้สอดคล้อง หรือไม่ และ 3. ความสัมพันธ์ ในการจัดสรรทรัพยากร นำมาสู่ในหลายๆเรื่องทั้งความไม่เท่าเทียมในสังคม ทั้งในกลุ่มเปราะบาง กลุ่ม LGBT กลุ่มเเรงงานต่างด้าว นี่คือสิ่งตอกย้ำให้สมาชิกรัฐสภารับฟังเสียงกลุ่มต่าง ๆ ให้มากขึ้น  เช่นเดียวกับการนำกลุ่มเยาวชนเข้ามาเพื่อทำความเข้าใจกับบทบาทนี้ เเสดงความเห็นเพื่อเติมเต็มปัจจัยทั้ง 3 ข้อดังกล่าว เพื่อวางรากฐานสำคัญของประชาธิปไตย แต่อย่างที่บอกหลายประเทศกำลังเผชิญปัญหาคล้ายๆกัน คือเรื่องการสื่อสารที่มีปัญหาจนเกิดแรงกดดันต่าง ๆทางสังคม ซึ่งวันนี้ตนดีใจที่การพูดคุยวันนี้เกิดมาจากการริเริ่มของกลุ่ม ส.ส.กันขึ้นมาเอง โดยที่ไม่มีการแบ่งพรรคการเมือง ไม่มีโอกาสไหนที่จะดีกว่านี้แล้ว ในการกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน และกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า ถึงบทบาทสมาชิกรัฐสภา ได้มีการทำหน้าที่อาทิ การผ่านร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแห่งราชอาณาจักรไทย ในวาระ 3 ที่ล่าสุดมีการเปลี่ยนบัตรเลือกตั้งจากเดิมรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ใช้บัตรเลือกตั้ง 1 ใบ กลับมาเป็น 2 ใบ เพื่อสะท้อนเสียงของประชาชนมากที่สุด ในการเลือกผู้เเทนเเต่ละเขต เข้ามาทำหน้าที่  ทั้งนี้ ขอให้คิดว่าการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว ของทุกคน ที่ผ่านมาตนรับเรื่องร้องเรียนจากน้อง ๆ เช่นว่าเมื่อไหร่จะได้วัคซีน อย่างที่นายอิสระ บอกว่า ขณะนี้มีความเหลื่อมล้ำ เเม้เเต่สัญญาณอินเตอร์เน็ตยังเข้าไม่ถึง ประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์เเตกต่างกัน เรากระตุ้นรัฐบาลให้จัดสรรวัคซีนที่มีคุณภาพสำหรับฉีดให้เยาวชน ทุกอย่างมีทางออก ทำอย่างไรให้มีเราทางออกเรา อยู่กับโควิดได้ เยาวชนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ตนดีใจเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่จะสร้างการเมืองที่สร้างสรรค์ มีทุกพรรคฝ่ายค้านเข้ามาทำการเมืองรวมกัน ลดความขัดเเย้งที่ไม่ก่อประโยชน์ ทั้งนี้ มองว่า เรื่องความรุนเเรงที่สามเหลี่ยมดินเเดง ไม่สามารถบอกได้ว่า เกิดจากใคร แต่สิ่งที่เราเห็นคือความสูญเสียทั้งของประชาชนโดยรอบ และผู้เข้าร่วมการชุมนุมประท้วง  วิธีแก้ปัญหาของเราคือการตั้งโต๊ะเจรจา เปิดรับฟังความเห็นจากผู้ประท้วง และให้รัฐบาลนำไปแก้ไข สงครามทุกสงครามจบด้วยการเจรจาเท่านั้น 

นายอิสระ กล่าวสรุปว่า จะรวบรวมไล่เรียงประเด็นต่าง ๆ ให้ชัด ส่งเรื่องไปยังนายกฯ และเลขาธิการสหประชาชาติ ผ่านผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เพื่อขยายเสียงที่สะท้อนในวันนี้ให้ดังขึ้น โดยเฉพาะคำว่า ซับซ้อน แบ่งแยก ติดฉาก แปะฉลาก ให้ใครเป็นคนกลุ่มใด มันไม่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ยินหรือถูกเรียก หรือไม่ รวมถึงบทเรียนที่น้อง ๆ ผู้เข้าร่วมงานได้สะท้อนว่า  ไม่ว่าคนกลุ่มใดก็ตามเขาไม่ต้องการให้ใครมาสงสาร ไม่ว่าจะสงสารจริง หรือสงสารเทียม เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการให้ใครมาสร้างวาทกรรมที่สวยหรูให้ แต่พวกเขาต้องการการยอมรับ ในอัตลักษณ์ที่เขาต้องการจะเป็น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"