ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงและต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ซึ่งอีกปัญหาสำคัญคือแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ที่ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว หรือ คบต. ได้พิจารณาแนวทางการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด และขยายเวลาดำเนินการของศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว (TDCC)
โดยเป็นการบูรณาการของกระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการปกครอง สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด พร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่จำเป็นต้องใช้แรงงานข้ามชาติอย่างเหมาะสม ที่สามารถดำเนินการควบคู่ไปกับความมั่นคงด้านสุขภาพของประชาชน
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศ ได้มีการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 และมติ ครม.เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่เน้นให้แรงงานสามารถอยู่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความต้องการแรงงานข้ามชาติจากนายจ้างและสถานประกอบการ ยังพบว่าไม่เพียงพอกับความต้องการของนายจ้าง ล่าสุดรัฐบาลได้มีการพิจารณาและเห็นชอบให้แบ่งกลุ่มคนต่างด้าวที่อนุญาตให้เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็น 3 กลุ่ม
ได้แก่ กลุ่มสีเขียว ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป จะได้เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็นลำดับแรก โดยต้องแสดงวัคซีนพาสปอร์ตด้วย กลุ่มสีเหลือง ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม แต่ยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา 1 เดือน และกลุ่มสีแดง ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม หรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย
โดยให้นายจ้าง สถานประกอบการ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วย ค่าสถานที่กักกัน ค่าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่ารักษากรณีคนต่างด้าวติดเชื้อโควิด หากอยู่ในกิจการที่อยู่ในระบบประกันสังคม และเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หลังครบกำหนดระยะเวลากักตัวจะได้รับวัคซีนตามสิทธิผู้ประกันตน กรณีไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นายจ้างจะเป็นผู้จัดหาวัคซีนทางเลือกให้แก่คนต่างด้าว
ทั้งนี้ สถานที่กักกันของคนต่างด้าวต้องเป็นของรัฐหรือของเอกชนตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดให้การรับรอง และขยายระยะเวลาการดำเนินการของศูนย์ TDCC ณ จังหวัดสมุทรสาครต่อไปอีก 1 ปี เพื่อให้แรงงานเมียนมาสามารถทำเอกสารประจำตัว ไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยสามารถเปิดทำการได้ทันทีหลังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาครเห็นชอบ
นอกจากนี้ นายจ้างหรือสถานประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ต้องยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ในส่วนประเทศต้นทางจัดทำและส่งบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าวให้นายจ้างไทยพิจารณา นายจ้างหรือสถานประกอบการยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 2 ปี ทั้งนี้ คนต่างด้าวต้องเข้ารับการกักตัวก่อนเริ่มทำงาน และตรวจหาเชื้อโควิดโดยวิธี RT-PCR ทุกคน
อย่างไรก็ตาม “บิ๊กตู่” ได้เน้นย้ำการคุมเข้มมาตรการดังกล่าว ซึ่งหากบริหารจัดการได้ดี นั่นย่อมส่งผลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดรายวันของไทยที่ขณะนี้มีแนวโน้มลดลง และจะทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้ในเร็ววัน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |