การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีท่าทีจะยุติลงง่ายๆ ส่งผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งในแง่ของฐานะการเงินของประเทศ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อนำมาใช้ประคองสถานะความเป็นอยู่ของคนในประเทศ โดยปัจจุบันตัวเลขหนี้สาธารณะ ล่าสุด ณ สิ้นเดือน ก.ค.2564 พบว่ามียอดหนี้จำนวน 8,909,063.78 ล้านบาท หรือคิดเป็น 55.59% ของจีดีพี ใกล้ระดับเพดานความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60%
เรียกว่า จะชนเพดานที่เป็นกรอบที่น่าจับตามอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเครดิตและสถานะความมั่งคั่งของประเทศ
ขณะเดียวกัน เมื่อลงลึกถึงภาคครัวเรือนและ ภาคประชาชนบ้าง ภาวะหนี้สินครัวเรือนก็มีความอ่อนแอไม่แพ้กัน และเรื่องนี้กำลังจะเป็นปัญหากระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาวด้วยเช่นเดียวกัน
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปข้อมูลว่า ในเดือน ส.ค.64 ครัวเรือนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพต่อเนื่อง โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) อยู่ที่ 33.0 ซึ่งยังคงเป็นระดับที่ต่ำกว่าช่วงล็อกดาวน์ทั้งประเทศเมื่อปีก่อน ครัวเรือนส่วนมากมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ไม่รวมภาระหนี้ ขณะที่ความกังวลด้านรายได้และการจ้างงานยังคงมีอยู่
ขณะที่ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ได้ประเมินความเสี่ยงที่คาดการณ์ว่า ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 93.0% ณ สิ้นปี 2564 โดยเป็นผลกระทบจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นสาเหตุหลัก เพราะเจ้าเชื้อโรคร้ายนั้นส่งผลให้คนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติในช่วงล็อกดาวน์ การถูกปรับลดเงินเดือนบางส่วนลง รวมถึงการถูกเลิกจ้าง ทั้งนี้ในปัจจุบันไทยมีปริมาณหนี้ครัวเรือนอยู่อันดับที่ 17 ของโลก ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านคือ เกาหลีใต้และมาเลเซีย ซึ่งอยู่อันดับที่ 9 และ 14 ตามลำดับ แต่สูงกว่าหนี้ครัวเรือนของสิงคโปร์ซึ่งอยู่อันดับที่ 26 ของโลก
ทั้งนี้ ในส่วนของคุณภาพหนี้ครัวเรือนนั้น เป็นผลโดยตรงมาจากสถานการณ์โควิดระลอกใหม่ที่รุนแรงและลากยาวนับแต่ปลายปี 2563 ส่งผลซ้ำเติมปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่มีอยู่แล้วในระดับสูง โดยเมื่อดูข้อมูลหนี้รายย่อยที่ได้ขอเข้าโครงการรับการช่วยเหลือ (รวม SFI) ณ เดือนมิถุนายน 2564 พบว่ามีปริมาณสูงถึง 11% ของจีดีพี ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับเครื่องชี้วัดสำคัญ คือ หนี้ stage 3 หรือเอ็นพีแอล ที่มีอยู่ไม่ถึง 1% ของจีดีพี และหนี้ใน Stage 2 หรือสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต ที่มีอยู่เพียง 2.2% ของจีดีพี สะท้อนให้เห็นว่า คุณภาพหนี้ครัวเรือนของไทยในความเป็นจริงแย่ลงมากกว่าที่สามารถสะท้อนได้จากเครื่องชี้วัดหลักดังเช่นเอ็นพีแอล
เมื่อพิจารณาเป็นประเภทหนี้ที่มาขอรับความช่วยเหลือล่าสุด อันดับแรกคือหนี้ที่อยู่อาศัยเป็นหลัก (ยอดขอความช่วยเหลือรวมอยู่สูงถึง 4.5% ของจีดีพี เทียบกับยอดเอ็นพีแอลที่ 0.6% ของจีดีพี) รองลงมาเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล (ยอดขอความช่วยเหลือรวม 5.3% เทียบกับยอดเอ็นพีแอล 0.2%) และอันดับสามเป็นหนี้รถยนต์ (มูลค่าขอความช่วยเหลือ 1.1% เทียบกับยอดเอ็นพีแอลที่ 0.1%) โดยกลุ่มลูกหนี้ที่มาขอความช่วยเหลือมักเป็นลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน (Pre-emptive) อย่างทันท่วงที จะส่งผลให้เกิดหนี้เสียเป็นวงกว้างและกระทบต่อเสถียรภาพการเงินและระบบสถาบันการเงินโดยรวมของไทยได้ โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งเป็นหนี้ประเภทไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured loan) และมีสัดส่วนค่อนข้างใหญ่ในโครงสร้างสินเชื่อครัวเรือนของไทย
สำหรับแนวทางในการแก้ไขหนี้ ttb แนะนำใช้การผ่อนคลายภาวะตึงตัวทางการเงินของลูกหนี้ในระยะสั้น และเพื่อช่วยให้ลูกหนี้สามารถเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การชำระหนี้ทั้งหมดได้ ทั้งการเติมสภาพคล่องให้ลูกหนี้รายย่อยเพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ หรือการลดภาระค่าผ่อนต่องวดลง ตามการเจรจาร้องขอของลูกหนี้ และการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้จากระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว รวมถึงการรวบหนี้ โดยเฉพาะการนำหนี้ไม่มีหลักประกันมารวมกับหนี้มีหลักประกัน และขยายระยะผ่อนชำระ จะช่วยลดภาระดอกเบี้ย เพื่อรองรับการปรับโครงแก้ไขหนี้ระยะยาวอย่างยั่งยืน
ทั้งหมด ทั้งภาคธนาคาร และหน่วยงานกำกับดูแลอย่าง ธปท. รวมถึงตัวลูกหนี้ จะต้องหันหน้าเข้าหากัน และยอมเจ็บปวดกันทุกฝ่าย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาลุล่วงไปข้างหน้า.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |