14 ก.ย. 64 - ที่กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวมาตรการ Sandbox ในโรงเรียน : sandbox safety zone in school โดย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในสถานการณ์การติดเชื้อโควิด19 ในกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นโดยรวมจะอยู่ในช่วงอายุ 6-18 ปี ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-11 ก.ย. มีการติดเชื้อสะสมจำนวน 129,165 คน ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 90% และอีก 10% เป็นชาวต่างชาติ มีผู้เสียชีวิตสะสมจำนวน 15 คน โดยจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุดคือ กรุงเทพฯ รองลงมาคือในเขตปริมณฑล รวมไปถึงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในเดือนเม.ย. มีจำนวน 2,426 คน เดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นมาจำนวน 6,432 คน เดือนมิ.ย.จำนวน 6,423 คน เดือนก.ค.จำนวน 31,377 คน และเดือนส.ค.มีจำนวนสูงถึง 69,628 คน ทำให้เห็นถึงแนวโน้มในกลุ่มนี้แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเรียน ก็ยังพบการติดเชื้อ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการติดเชื้อในครอบครัว กับการทางไปสัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยัน
นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อว่า ในสถานการณ์การได้รับวัคซีนของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)เมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วจำนวน 897,423 คน เฉลี่ย 88.3% ส่วนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมีจำนวน 118,889 คน เฉลี่ย 11.7% เมื่อพิจารณาร่วมกับการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 12-18 ปี จากข้อมูลวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา ในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัวได้รับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 1 จำนวน 74,932 คน เข็มที่ 2 จำนวน 3,241 คน
นพ.สุวรรณชัย กล่าวถึงการการนำร่องโครงการ sandbox safety zone in school ในโรงเรียนประจำพบว่า ผลการดำเนินการเป็นไปอย่างดี แม้ว่าจะมีการพบผู้ติดเชื้อ แต่เป็นการติดเชื้อนอกโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จะมีการคัดเลือกโดยคำนึงถึงความสำคัญ 3 ด้าน คือ 1.ด้านการบริหาร ได้แก่ 1.โรงเรียนต้องมีความพร้อมและความสมัครใจ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด 2.จัดเตรียมสถานที่แยกกักกันตัวในโรงเรียน ที่เรียกว่า School Isolation 3.จัดพื้นที่ safety zone ในโรงเรียน แบ่งเป็น โซนที่ 1 Screening โซนที่ 2 Quarantine โซนที่ 3 Safety 4.มีการติดตามประเมินผลโดยทีมตรวจราชการบูรณาการร่วมฝ่ายศึกษาและสาธารณสุข 5.โรงเรียนต้องรายงานผ่าน Mecovid และ Thai Stop COVID Plus
2.ด้านนักเรียน ครู และบุคลากร โดยนักเรียนต้องมีการตรวจ ATK ก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งนักเรียนจะมีการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มที่ไม่สัมผัสกัน ในรูปแบบ Bubble&Seal ทั้งนี้นักเรียน ครูและบุคลากรจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงสม่ำเสมอ ผ่านแอปพลิเคชั่นไทยเซฟไทย หรือแอปที่โรงเรียนกำหนด เน้นการปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเข้มข้น ทั้ง 6 มาตรการหลัก(DMHT+RC) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ที่สำคัญครูและบุคลากรต้องได้รับวัคซีนครอบคลุมกว่า 85% รวมไปถึงการสุ่มตรวจATK ทุก 14 วันหรือ 1 เดือนต่อภาคเรียน 3.ด้านสถานศึกษา ในส่วนของการเรียนการสอนสามารถจัดได้ทั้งออนไซต์และออนไลน์ แต่อย่างไรก็สถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียนผ่าน Thai Stop COVID Plus
ส่วนในกรณีที่พบผู้ติดเชื้อแล้วต้องปิดเรียน ให้ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการจัดระบบการทานอาหารของนักเรียนตามหลักสุขภิบาล ซึ่งโดยรวมแล้วมาตรการที่โรงเรียนไม่ปฏิบัติมากที่สุดคือ มีครู บุคลากรของโรงเรียนเดินทางเข้า-ออก แต่ไม่มีการคัดกรองความเสี่ยง ไม่มีระบบ sandbox safety zone in school ที่มีประสิทธิภาพ และหอพักแออัด ระยะห่างเตียงนอนไม่ถึง 1 เมตร
“ดังนั้นจึงมีการพิจารณาแนวทางในการเตรียมโครงการ sandbox safety zone in school ในโรงเรียนไป-กลับ ครอบคลุมโรงเรียนทุกสังกัด และมาตรการต่างๆจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือในกรุงเทพฯ โดยต้องคำนึงถึงสถานการณ์การระบาดในพื้นที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ ทั้งพื้นที่สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีแดงเข้ม ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของรัฐบาลและศบค.” นพ.สุวรรณชัย กล่าว
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า โดยพื้นที่สีเขียว โรงเรียนต้องมีความเข้มในการปฏิบัติตามมาตรการ ข้อ1. คือ 6 มาตรการหลัก(DMHT+RC) 6 มาตรการเสริม และ 2. คือ 7 มาตรการสำหรับสถานศึกษา (SSET-CQ) ที่สำคัญ ได้แก่ 1.มีการประเมินผลผ่าน Mecovid และ Thai Stop COVID Plus 2.จัดกิจกรรมร่วมของนักเรียนในรูปแบบ Small Bubble 3.จัดการทานอาหารตามหลักสุขภิบาล 4.มีการทำความสะอาด จัดระบบระบายอากาศ 5.จัดให้มีSchool Isolation 6.ควบคุมการดูแลเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน ในกรณีที่เป็นรถรับส่ง รถส่วนบุคคล และรถสาธารณะ 7.จัดให้มี School Pass โดยครูและบุคลากรต้องฉีดวัคซีนครอบคลุมมากกว่า 85% และต้องมีการประเมินความเสี่ยงใน 1 วันต่อสัปดาห์
ส่วนพื้นที่สีเหลือง ปฏิบัติตามมาตรการในข้อ 1 และ2 แต่มีการเพิ่มในส่วนของการสุ่มตรวจ ATK อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสองสัปดาห์ พื้นที่สีส้มโรงเรียนปฏิบัติตามมาตรการข้อ 1 และ2 แต่จะเน้นให้ประเมินความเสี่ยงให้ถี่ขึ้นอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ ส่วนในพื้นที่สีแดง นอกจะต้องปฏิบัติตามมาตรข้อ 1 และ2 อาจไม่เพียงพอ จึงกำหนดมาตรการเพิ่มคือ ข้อ 3. สถานประกอบกิจการและกิจกรรมที่อยู่รอบรั้วสถานศึกษาในระยะ 10 เมตร จะต้องผ่านการประเมิน Thai Stop COVID Plus ตามแนวทาง COVID free setting 4.จัด School Pass ที่จะประกอบด้วยข้อมูลความเสี่ยงบุคคล ผลตรวจ ATK ประวัติการได้รับวัคซีน หรือประวัติเคยติดเชื้อโควิดในช่วง 1-3 เดือน สำหรับนักเรียน ครู และบุคลากร 5.จัดกลุ่มนักเรียนต่อห้องเรียนไม่ควรเกิน 25 คน เพื่อไม่ให้เกิดความแออัด ต้องตรวจ ATK อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้รับวัคซีนครอบคลุม 85-100% และประเมินความเสี่ยงถี่ขึ้นเป็น 3 วันต่อสัปดาห์
และในพื้นที่สีแดงเข้ม ต้องปฏิบัติตามมาตรการข้อ 1-5 ต้องตรวจ ATK 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ครูและบุคลากร นักเรียนต้องได้รับวัคซีนครอบคลุม 85-100% และต้องประเมินความเสี่ยงทุกวัน รวมไปถึงต้องมีการจำกัดคนเข้า-ออกอีกด้วย ทั้งนี้ในส่วนของการสนับสนุนชุดตรวจ ATK แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1.ในภาพรวมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะจัดส่งชุดตรวจจำนวน 8.5 ล้านชุด กระจายไปยังจังหวัดต่างผ่านระบบสถานพยาบาลในพื้นที่ ที่นักเรียน ครูและบุคลากรสามารถรับชุดตรวจได้ เหมือนประชาชนทั่วไป 2.ชุดตรวจ ATK ในอนาคตจะมีจำนวนมากและราคาถูกลง ที่คณะกรรมการโรงเรียน หรือส่วนท้องถิ่นจะสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียน
นพ.สุวรรณชัย ย้ำว่า แม้จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังพบการระบาดเป็นจุดๆ ซึ่งมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ อย่างไรก็ตามก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการส่วนบุคคลแบบครอบจักรวาล
ด้านนพ.เฉวตรสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กล่าวเพิ่มเติมเรื่องการฉีดวัคซีนสำหรับนักเรียนว่า ในภาพรวมของประเทศฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 40.9 ล้านโดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 27 ล้านโดส เฉลี่ย 38.2% เข็มที่ 2 จำนวน 12 ล้านโดส เฉลี่ย 17.8% โดยไทยอยู่ในอันดับที่ 2 ของการฉีดวัคซีนในภูมิภาคอาเซียน สำหรับแนวทางการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า โดยเป้าหมายคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หรือ ปวช./ปวส.หรือเทียบเท่า ได้แก่ รร.มัธยมศึกษาสังกัดรัฐบาลและเอกชน สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รร.ตำรวจตระเวนชายแดน รร.พระปริยัติธรรม สถาบันการศึกษาปอเนาะ และสถาบันการศึกษาอื่นๆ เช่น โรงเรียนทหาร โรงเรียนคนพิการ เป็นต้น โดยโรงเรียนหรือสถาบันศึกษาจะเป็นผู้รวบรวมรายชื่อนักเรียนส่งให้กับทางสาธารณสุขจังหวัด เพื่อจัดสรรวัคซีน
นพ.เฉวตรสรร กล่าวต่อว่า โดยวัคซีนที่จะถูกจัดสรรช่วงเดือนต.ค.ในสัปดาห์แรกจำนวน 1 ล้านโดส สัปดาห์ที่ 2 จำนวน 1 ล้านโดส สัปดาห์ที่ 3 จำนวน 2 ล้านโดส โดยทั้ง 3 สัปดาห์จะเป็นเข็มที่ 1 สำหรับนักเรียน ในสัปดาห์ที่ 4 จำนวน 1 ล้านโดส ต่อกับแผนในเดือน พ.ย. ที่จะมีการจัดสรรต่อไป สำหรับผลข้างเคียงจากการฉีดไฟเซอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า การติดเชื้อโควิด มีโอกาสที่จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบร่วมได้มากกว่าประมาณ 50 ต่อ 1 แสนคน ซึ่งสูงกว่าโอกาสที่จะเกิดจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ถึง 6 เท่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนชนิด mRNA จึงมีความปลอดภัยสูงและผลข้างเคียงน้อย ซึ่งในไทยก็พบผู้ที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในอัตรา 2-3 ต่อ1 แสนคน และจากการฉีดไฟเซอร์ไปกว่า 9 แสนโดสพบรายงานเพียง 1 คน เป็นเพศชาย อายุ 13 ปี ที่จะมีอาการแน่นหน้าอกหลังจากฉีดไปแล้ว 2 วัน ขณะนี้อาการหายปกติแล้ว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |