14 ก.ย.64 - กรมการแพทย์ จัดสัมภาษณ์พิเศษในหัวข้อ “Long COVID เชื้อจบ อาการไม่จบ : ทำความเข้าใจภาวะเรื้อรังหลังหายป่วยโควิด-19” โดย พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอด สถาบันโรคทรวงอก กล่าวว่า ภาวะ Long COVID คือ อาการหลังจากที่รักษาโควิดหายแล้วและเชื้อโควิด19 จะตายภายใน 14 วัน หลังจากนั้นภาวะปกติร่างกายก็จะค่อยฟื้นตัวขึ้นตามธรรมชาติภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่บางคนยังคงรู้สึกว่ามีอาการคล้ายกับเป็นโควิดอยู่ เบื้องต้นอาการที่มีความสัมพันธ์กับภาวะนี้ อาจจะมาจาก ร่างกายมีการตอบสนองต่อการอักเสบของเชื้อโควิด หรือการได้รับยาในกลุ่มสเตียรอยด์ในช่วงที่รักษาโควิด ที่กดการทำงานของร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อทำงานไม่เต็มที่ ส่วนมากจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่ากลุ่มอื่นๆ หรือกลุ่มโรคประจำตัว และกลุ่มได้รับยาสเตียรอยด์ ทำให้ร่างกายยังมีอาการต่อเนื่องไปถึง 2-4 เดือน หรือนานถึง 6 เดือน เช่น ครั่นเนื้อครั่นตัว ไอเล็กน้อย เพลีย หรือเหนื่อย และรู้สึกร่างกายไม่เหมือนเดิม สามารถรอให้ร่างกายฟื้นตัวได้เอง หากมีอาการเหนื่อย ไอมากขึ้น หรือมีอาการทางระบบประสาทมากกว่าปกติ เช่น การสับสน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์
พญ.เปี่ยมลาภ กล่าวต่อว่า โดยภาวะ Long COVID ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่หายป่วยโควิดทุกคน ไม่สามารถแพร่เชื้อโควิดๆได้ และจะไม่ทำร้ายปอดหรือร่างกายซ้ำ อาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 3-4 เดือน ซึ่งข้อมูลจากต่างประเทศพบว่า สถิติของผู้ป่วยโควิดประมาณ 50% อาจจะมีภาวะ Long COVID แต่จะรักษาหายขาดได้ในระยะ 6 เดือนขึ้นไป และยังไม่พบว่าร่างกายจะได้รับผลกระทบระยะยาวจากเป็นภาวะนี้ ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลที่ชัดเจน แต่อาจจะพบประมาณ 20-30% ที่ผู้ป่วยโควิดหลังจากรักษาหายแล้วจะมีอาการเพลีย ซึ่งกรมการแพทย์กำลังเก็บข้อมูลในส่วนนี้เพื่อทำการประเมินอาการที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ Long COVIDให้ชัดเจนต่อไป
ส่วนกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่มีอาการปอดอักเสบและเชื้อไวรัสจะตายภายใน 14-21 วัน ซึ่งบางคนอาจจะได้รับผลกระทบ ทำให้ปอดยังไม่สามารถกลับมาทำงานได้เต็มที่ มีภาวะเหนื่อยเพิ่มขึ้น ในบางคนที่มีอาการปอดอักสอบรุนแรงมาก ร่างกายก็จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรงเช่นเดียวกัน เรียกว่า การซ้ำเติมของปอด จึงมีโอกาสที่จะทำให้มีอาการของปอดอักเสบเกิดขึ้นอีกครั้ง หรือในช่วงที่ร่างกายกำลังซ่อมแซมอาจจะพบพังผืดที่ปอด จากข้อมูลการรักษาโควิดระลอกแรก ในคนไข้ที่ปอดอักเสบมาก พบว่าผ่านไป 6 เดือน- 1 ปี จะเหลือรอยที่ปอด ที่เคยอักเสบประมาณ 5-10% เท่านั้น ซึ่งไม่มีผลต่อการทำงานของปอด ร่างกายยังทำงานได้ปกติ ในระลอกที่ 2 หลังจากที่ติดตามผลคนไข้ที่ปอดอักเสบเหมือนกัน พบว่าปอดดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้วยระยะเวลาที่สั้นเกินไปจึงไม่สามารถที่ระบุได้ชัดเจนว่า ร่องรอยของพังผืดจะหลงเหลืออยู่มากขนาดไหนหลังจากผ่านไปแล้ว 1 ปี ซึ่งอาการปอดอักเสบข้างต้นไม่เรียกว่าเป็นภาะ Long COVID เพราะภาวะนี้ไม่ได้ทำให้ปอดอักเสบเพิ่มขึ้น
พญ.เปี่ยมลาภ กล่าวอีกว่า ในเบื้องต้นการดูแลป้องกันภาวะ Long COVID คือ การออกกำลังกายเบาๆ หลีกเลี่ยงความเครียด เพิ่มการทำกิจกรรมและการได้รับกำลังใจที่ดีในครอบครัว ส่วนแนวทางการรักษาจะเป็นการรักษาไปตามอาการ ทั้งนี้การได้รับวัคซีนจะช่วยในแง่ของการลดการติดเชื้อ หรือเมื่อติดเชื้อโควิดอาการจะไม่รุนแรง ไม่มีภาวะปอดอักเสบ ก็ไม่ต้องรับยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ทำให้โอกาสของการเป็นภาวะ Long COVID ก็จะลดลงด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |