มิวเซียม'สายตายาว'รองรับสังคมสอ...วอ...


เพิ่มเพื่อน    

 

 

   

        ในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา โลกมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีมากกว่าจำนวนวัยเด็ก ขณะที่ประเทศไทยข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2547-2548  คาดว่าบ้านเราจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีก 3 ปีข้างหน้า  และสังคมสูงวัยระดับสุดยอดลำดับต่อไป        

          ปัจจุบันนี้มีประเทศราว 50 ประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว หลายประเทศปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งในระบบบริหาร ระบบสุขภาพ การศึกษา การจ้างงาน การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับความต้องการพื้นฐานและการพัฒนาประชากรกลุ่มใหม่นี้  ซึ่งไม่ได้เพียงแค่การรองรับความต้องการทางกายภาพของประชากรสูงวัย แต่รองรับความต้องการทางสังคม จิตใจ และการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง พึ่งพาตนเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคม

         พิพิธภัณฑ์เป็นองค์กรด้านการศึกษาที่สำคัญช่วยสร้างสรรค์การเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนทุกช่วงวัย แนวโน้มคนสูงวัยเพิ่มขึ้น  พิพิธภัณฑ์จะต้องรับมือกับประชากรกลุ่มใหญ่นี้ที่ขยายตัว ควรจะพัฒนาเพื่อรองรับผู้ชมที่เป็นผู้สูงวัยด้วยการสำรวจและทำความเข้าใจอย่างจริงจังในเรื่องชีวภาพ กายภาพ จิตวิทยา พัฒนาการทางสังคมของประชากรกลุ่มสูงวัยตระหนักในความต้องการที่แท้จริง  หาอุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้หรือกันผู้สูงวัยออกจากการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ขณะเดียวกันกระตุ้นให้ผู้สูงวัยเข้ามิวเซียมเรียนรู้จากนิทรรศการ มีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ

            การทำงานกับผู้ชมกลุ่มวัยเก๋าเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยจากมุมมองของพิพิธภัณฑ์ มีความเคลื่อนไหวจากสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)  ค้นหาเครื่องมือใหม่ๆ ในการเรียนรู้และทำงานผ่านการจัดการบรรยายในหัวข้อผู้สูงวัยอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำนิทรรศการโดยมีผู้สูงวัยเป็นภัณฑารักษ์ร่วม

        ปีนี้ สพร.ทำโครงการด้านวิชาการเกี่ยวกับผู้สูงวัย “Farsighted Museum” จุดประเด็นและขยายแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์กับผู้สูงวัยออกไปให้กว้างขึ้น ล่าสุด กำหนดจัดการประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ 2021 มิวเซียมสายตายาว มองการณ์ไกล เพื่อสังคมสูงวัย Farsighted Museum: Sighting forward to Aging Society วันที่ 16-18 ก.ย.นี้ ผ่านช่องทาง Facebook Live : Museum Siam และ ZOOM

          แนวคิดประชุมหยิบยกคำว่า”สายตายาว”มาใช้ ชี้เมื่อสังคมกำลังเข้าสู่สภาวะที่ประชากรมีภาวะสายตายาวเกิดขึ้น  พิพิธภัณฑ์ควรปรับสายตาของตนเองให้มองการณ์ไกลขึ้น เพื่อรองรับผู้สูงวัย ซึ่งจะมีจำนวนมากขึ้นถึง 20% ของจำนวนประชากร เป็นเวทีทำความเข้าใจการทำงานของพิพิธภัณฑ์บนพื้นฐานของความแตกต่างของภาวะสูงวัย ตั้งแต่ผู้สูงวัยที่แข็งแรง มีความแอคทีฟทางสังคม ผู้สูงวัยที่มีภูมิหลังทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ผู้สูงวัยที่เข้าสู่ช่วงปลายชีวิต มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ หรือผู้สูงวัยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต

          การประชุมมิวเซียมสายตายาวเน้นการเปิดพื้นที่ให้นักวิชาการและนักปฏิบัติการทางพิพิธภัณฑ์ได้สามารถสื่อให้สังคมเห็นถึงความหลากหลาย ทั้งในแง่สภาวะสูงวัย การทำงานบนพื้นที่ที่หลากหลายและวิธีการทำงานที่หลากหลายแนวทางของพิพิธภัณฑ์

       ชูประเด็นที่ต้องการสำรวจ ตั้งแต่ความเข้าใจต่างวัฒนธรรมหรือต่างกระบวนทัศน์   ความเข้าใจข้ามรุ่น  การสร้างสรรค์และนวัตกรรม  ดิจิทัลและเทคโนโลยี  อารยสถาปัตยกรรม  การพัฒนาศักยภาพสมองและความมั่นคงทางจิตใจ  การสร้างความสุขสูงวัยอย่างยั่งยืน  การถ่ายทอดศักยภาพสู่ผู้อื่น   ความประสงค์ของชีวิต  ด้วยตระหนักว่าผู้สูงวัยมีประสบการณ์ มีความรู้ มีบทเรียน มีความหวังต่อสังคม ที่สามารถส่งต่อความรู้ ประสบการณ์ แรงบันดาลใจไปยังคนรุ่นหลังเพื่อสร้างความต่อเนื่องของความรู้ ให้สังคมไม่ตัดขาดจากกัน

            ขณะที่คนรุ่นหลังก็มีประสบการณ์ที่แตกต่างที่คนรุ่นก่อนอาจจะไม่ชำนาญเท่า เช่น ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัล การผลิตสื่อที่หลากหลาย หรือความรู้ที่แตกต่างออกไป ผลจากการเข้าถึงพื้นที่ข้อมูลที่ต่างจากคนรุ่นก่อน หากความแตกต่างถูกนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์จะเกิดการถ่ายทอดและเรียนรู้ใหม่ของคนในวัยต่าง ๆ

           เวทีนี้จะเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงวัยพิพิธภัณฑ์ นักปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ นักการศึกษาพิพิธภัณฑ์ และผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน มีองค์ปาฐก จาก 4 ประเทศที่ล้วนเข้าสู่ประเทศสังคมสูงวัย ได้แก่  Dr.Huang, Sing-Da (Head of Education Department of National Taiwan Museum) ปัจจุบันไต้หวันกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดมีการเตรียมพร้อมอย่างเป็นระบบ  พิพิธภัณฑ์ทำงานกับศูนย์สุขภาวะและไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำ ตลอดจนทำงานกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ สร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์ให้บริการผู้สูงวัยด้วย

            ถัดมา Thomas Kuan ผู้ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยแนวคิดและเครือข่ายมหาวิทยาลัยวัยที่สามประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์มีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ และด้านการเรียนรู้ที่เอื้อต่อผู้สูงวัย  ส่วน Pia Hovi-Assad ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์ศิลปะปอรี ฟินแลนด์ ประเทศที่อัตราเร่งของประชากรผู้สูงวัยสูงสุดแห่งหนึ่งในโลก ในปี 2562 ฟินแลนด์มีประชากรอายุ 65 กว่า 22% ของจำนวนประชากร จะเพิ่มเป็น 28% ในปี 2593  พิพิธภัณฑ์นี้ทำหลายย่างเพื่อผู้สูงวัย เน้นสร้างสรรค์ศิลปะ การสัมพันธ์กับชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วน ในสังคม และคุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ บริษัทชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ผู้ขับเคลื่อนพินัยกรรมชีวิตสิทธิการตาย  

             ความรู้และประสบการณ์จากประเทศต่างๆ จะกระตุ้นให้พิพิธภัณฑ์ในไทยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานที่รองรับสังคมผู้สูงวัย เช่นเดียวกับสังคมมองเห็นบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในสังคมสูงวัย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"