รถฉีดวัคซีนถึงบ้าน ปูพรมกลุ่มเสี่ยง-คลัสเตอร์ในกรุง


เพิ่มเพื่อน    

บริการใหม่รถฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ BMV คนกทม.สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไกล

 

 

 

        คนกรุงเทพฯ จำนวนมากยังตกหล่นไม่ได้ฉีดวัคซีนจากเหตุผลต่างๆ ทั้งรอการจัดสรรวัคซีน กลัวอาการไม่พึงประสงค์  รวมถึงคนในชุมชนหลายคนไม่พร้อมจะเดินทางไปรับบริการตามจุดต่างๆ ทั้งผู้สูงอายุ  ผู้ป่วย หรือผู้พิการที่ไม่สามารถเดินทางไปไกล การให้บริการวัคซีนเชิงรุกถึงบ้าน เป็นอีกแนวทางเพิ่มบริการวัคซีนแก่ประชาชนให้เร็วที่สุด เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และลดความรุนแรงของโรค

                ในหลายประเทศมีการใช้งานรถฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ ทั้งสหรัฐ  อังกฤษ ส่วนในบ้านเราขณะนี้กรุงเทพมหานครเปิดให้บริการฉีควัคซีนเชิงรุกด้วยหน่วยบริการฉีดวัคซีนเคลื่อนที่กรุงเทพมหานคร (BKK Mobile Vaccination Unit : BMV) เรียกง่ายๆ ว่า “รถฉีดวัคซีนเคลื่อนที่”  แล้ว  โดยเปลี่ยนรถบัสเป็นรถฉีดวัคซีน  ทดลองให้บริการครั้งแรกที่วัดเทพนารี ซอยจรัญสนิทวงศ์ 68 เขตบางพลัด กทม. ซึ่งมีผู้สูงอายุในชุมชน  ผู้ป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์   รวมถึงคนพิการเข้ามารับวัคซีนมากกว่า 100 คน  

รถฉีดวัคซีนเคลื่อนที่คันแรก ปรับจากรถบัส NGV

 

       พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บอกว่า วัคซีนที่นำมาฉีดนี้ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยรถ BMV มีศักยภาพการฉีด   1,000 คนต่อวัน โดยใช้กำลังพลเพียง 5-6 คนต่อวันเท่านั้น ฉีดคนกลุ่มหนึ่งเสร็จแล้ว สามารถเคลื่อนที่ไปจุดต่อไปฉีดให้กับคนในชุมชนได้มากขึ้นทั่วถึง    ปูพรมฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย.   หรือกรณีมีคลัสเตอร์ที่ไหนรถจะเคลื่อนที่ไปให้บริการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน คาดว่า การให้บริการวัคซีนในกรุงเทพฯ  ผู้สมัครใจจะฉีดครบ  2 เข็ม ภายในเดือน พ.ย.นี้

         สำหรับรถฉีดวัคซีนถึงบ้าน BMV คันแรกของไทยนี้ ได้รับการสนับสนุนรถบัส NGV จาก บริษัทสมาร์ทพลัส    และจิรวัฒน์ จังหวัด จากเพจโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย ร่วมออกแบบรถให้เหมาะสมกับการใช้งาน  และสามารถให้บริการได้เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว  บนรถมีทีมแพทย์ พยาบาล ให้บริการฉีควัคซีน  ซึ่งใช้คนจำนวนน้อยกว่าการตั้งหน่วยบริการฉีดวัคซีนตามชุมชน แต่ประสิทธิภาพการให้บริการไม่น้อยกว่ากัน

        ภายในรถติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น อาทิ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดอุณหภูมิ ตู้เย็นสำหรับเก็บรักษาวัคซีนป้องกันโควิด อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เตียงสนาม และเครื่องกระตุ้นหัวใจ (AED) เพื่อให้สามารถฉีดวัคซีนได้อย่างปลอดภัยเหมือนไปฉีดในโรงพยาบาล รวมถึงมีแอร์เคลื่อนที่ 2 เครื่อง ให้ความเย็นในวันที่สภาพอากาศร้อน ระหว่างให้บริการไม่สตาร์ทรถ แต่ใช้ไฟฟ้าจากภายนอกเพื่อให้ระบบแอร์ทำงาน  ป้องกันมลพิษ  

ผู้สูงอายุเป้าหมายแรกของรถฉีควัคซีนถึงบ้าน

 

           จุดเด่นของรถฉีควัคซีน ประการแรกเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว สามารถเดินทางไปได้หลายแห่ง เข้าถึงประชาชนหลายกลุ่ม หลายชุมชน  ลดการเดินทางของประชาชน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ  สะดวกสบายมากขึ้นเพราะเคลื่อนหน่วยบริการฉีดไปถึงบ้าน คันเดียวบริการเบ้ดเสร็จทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การตรวจสอบประวัติ  ยืนยันตัวตนด้วยการแสดงบัตรประชาชน รับการฉีดวัคซีน  พักรอสังเกตอาการ  และการออกใบนัดเข็มที่ 2  จบในคันเดียว ผู้พิการนั่งรถเข็นที่ไม่สามารถขึ้นมาบนรถได้ จนท.จะลงมาฉีดให้ด้านล่าง

          รถวัคซีนเคลื่อนที่ “BMV” เจาะฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงชุมชน-ผู้ที่เดินทางไม่สะดวกได้รับวัคซีนทั่วถึง จะทำต่อเนื่องจนกว่าจะบริการวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายได้ครบถ้วน  โดยศูนย์บริการสาธารสุขร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่จะสำรวจผู้ที่มีคุณสมบัติ และประสานหน่วย BMV เพื่อจัดคิวให้บริการในชุมชน  อนาคตจะเพิ่มจำนวนรถวัคซีน“BMV” และขยายการฉีดให้กับกลุ่มอื่น รวมถึงคนไร้บ้านด้วย  

       ทั้งนี้ สำนักอนามัยเตรียมปรับรูปแบบรถบริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ให้เป็นรถฉีดวัคซีนนำร่อง  7 คัน โดยมีขนาดเล็กกว่ารถบัส เข้าถึงชุมชนมากขึ้น จะเปิดให้บริการ 1-2 สัปดาห์จากนี้

ยืนยันตัวตนแสดงบัตรประชาชนก่อนขึ้นรถรับวัคซีน

 

         ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผอ.สำนักอนามัย กทม. บอกว่า ภาพรวมการให้บริการวัคซีน กทม.เน้นฉีดให้กลุ่มเปราะบาง แม้ปูพรมฉีด แต่มีบางส่วนกลัว ไม่พร้อม ไม่สบาย ป่วยติดเตียง ไม่สะดวก จึงทำรถฉีดวัคซีนเคลื่อนที่เก็บตกให้หมด เข้าถึงที่บ้านเลย  แม้จะทำงานเชิงรุก แต่ยังมีผู้ไม่ได้รับวัคซีน เพราะคนกรุงเทพฯ มีการย้ายเข้า-ออกตลอดเวลา

       “  เมื่อก่อนคนไม่ประสงค์ฉีดมีเยอะ เพราะกลัว แต่ปัจจุบันน้อยลง เปลี่ยนใจมาฉีด แล้วก็ยังมีกลุ่มที่ลูกหลานลงทะเบียนรับวัคซีนให้ แต่พ่อแม่ไม่ยอมฉีด ก็ต้องพยายามต่อเพื่อลดปัญหาการติดเชื้อ อนาคตเมื่อมีวัคซีนมากพอ จะขยายฉีดกลุ่มอื่น เช่น พ่อค้าแม่ค้าตามตลาดนัด ส่วนหนึ่งทำมาค้าขายไม่สนใจฉีด เรา จะเคลื่อนที่ไปฉีดให้ แค่เดินมาที่รถก็ฉีดวัคซีนได้ “ ป่านฤดี ย้ำเป็นนวัตกรรมที่ดีบริการวัคซีนทั่วถึง       

            พูดถึงขั้นตอนการให้บริการรถฉีดวัคซีน   ก่อนรับบริการ ผู้เข้ารับบริการต้องผ่านการคัดกรองเบื้องต้นและลงนามยินยอมรับบริการวัคซีน จากนั้นจะต้องดำเนินการยืนยันตัวตน ด้วยการเสียบบัตรประจำตัวประชาชนบริเวณทางขึ้นรถ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากจอแสดงบนผลด้านบนรถ และให้ประชาชนขึ้นรับการฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีนแล้วลงรถมานั่งจุดพักรอสังเกตอาการ 30 นาทีบริเวณด้านล่างพร้อมรับใบนัดเข็ม 2  หลังปฏิบัติงานเสร็จทุกครั้งรถมีการทำความสะอาด อบโอโซน พ่นยาฆ่าเชื้อ

              มานา กรัดไวยเนตร อายุ 67 ปี ชาวบางพลัด  บอกว่า  บ้านพักอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 83 เมื่อสำนักงานเขตแจ้งมีการบริการรถวัคซีนเคลื่อนที่ที่วัดเทพนารี ก็ตัดสินใจฉีด เพราะสะดวก ไม่ต้องลำบากเดินทางไกล ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อจากการเดินทาง เพราะป้าต้องใช้รถขนส่งสาธารณะ  เคยคิดจะไปหน่วยบริการบางซื่อ  แต่ถ้าต้องใช้รถใต้ดิน กลัวคนเยอะ แล้วที่บางซื่อคนก็มาฉีดกันแน่น รู้สึกกังวลจะติดเชื้อ

            “ ป้าก็รอให้มีจุดบริการฉีดแถวบ้าน พอมีรถวัคซีนเคลื่อนที่ก็มาฉีดเข็มแรกเลย การใช้บริการบนรถใช้เวลาไม่นาน  รอบละ 4 คน  ไม่แออัด อากาศก็ถ่ายเทดี  ทีมพยาบาลทั้งบนรถและจุดพักสังเกตุอาการก็ให้คำแนะนำอธิบายขั้นตอนอย่างละเอียด รถแล่นไปถึงบ้านใคร อยากให้มาฉีดกันมากๆ ช่วยลดรุนแรง แต่ไม่ใช่ฉีดแล้วไม่ป่วยโควิดนะ ก็ต้องดูแลระมัดระวังตัวเอง “ มานา บอกและพร้อมกลับมาฉีดเข็ม2ตามวันนัดหมาย    

เพิ่มการเข้าถึงบริการวัคซีนแก่ผู้พิการในชุมชน

 

                ส่วนมนัส พุ่มกล้าหาญ ผู้พิการวัย 58 ปี นั่งรถเข็นมารับบริการวัคซีนที่รถวัคซีนเคลื่อนที่ “BMV” บอกว่า มีนัดฉีดวัคซีนที่บางซื่อ แต่ไม่ได้ไป เพราะไกลจากบ้านพักย่านจรัญสนิทวงศ์  เราเป็นคนพิการ ไม่มียานพาหนะ เดินทางไป เมื่อรู้มีรถวัคซีนเคลื่อนที่มาอำนวยความสะดวกถึงในชุมชน ก็มาด้วยตนเอง  พอกรอกแบบคัดกรองใบยินยอมแล้ว ไปตเช็คสิทธิ เสียบบัตร ตนไม่ได้ฉีดบนรถ   มี จนท.ลงมาฉีดให้ด้านล่าง พักคอยไม่มีอาการอะไร ก็รับใบนัด  

               “ ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มแรกแล้วสบายใจ  เพราะคนรอบข้างฉีดกันหมดแล้ว อยากฝากให้กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มการบริการฉีดวัคซีนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนพิการมากขึ้น  “ ผู้พิการชาวบางพลัดบอกด้วยรอยยิ้ม

รับใบนัดเข็มที่ 2 เพื่อฉีควัคซีนกับรถวัคซีนเคลื่อนที่ BMV อีกครั้ง

 

                ส่วน สายฝน ตุ้มทอง วัย 54 ปี ชาวบางพลัด ฉีดวัคซีนบรถนำร่องคันแรก ในฐานะกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค  บอกว่า ตนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ต้องรักษาต่อเนื่อง ไม่ได้ลงทะเบียนรับวัคซีนเพราะกลัว แต่จนท.สาธารณสุขของเขตมาให้ความรู้และแนะนำบริการใหม่ รถฉีดวัคซีนถึงบ้าน BMV  ก็ตัดสินใจฉีด เดินมาจากบ้าน สะดวกมาก ฉีดเสร็จโล่งใจ อาการปกติ ก็รอฉีดเข็มสอง  ดีใจที่ไม่ลืมและให้ความสำคัญกับการฉีดกลุ่มคนป่วย  อยากให้ขยายโครงการให้คนในชุมชนต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ได้ฉีดวัคซีนโควิดจนครบ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"