13 ก.ย. 2564 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่องันที่ 7 ก.ย. 2564 มีมติรับทราบความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะ ที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะแกนหลักที่ได้รับมอบหมายให้บูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียน ผ่านมาตรการ “4 สร้าง” ได้แก่ 1.สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่
โดยเร่งพัฒนายกระดับผู้ประกอบการ/สถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน ผ่านการอบรมและให้คำปรึกษาเชิงลึกทั้งในด้านการเพิ่มผลิตภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ถ่ายทอดความรู้เชิงธุรกิจและการนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ เสริมสร้างทักษะ รวม 899 กิจการ/8,512 ราย/43 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวมถึงการพัฒนาฉลากและบรรจุภัณฑ์อาหารให้มีมูลค่าเพิ่มสูงเชิงพาณิชย์ รวม 224 ผลิตภัณฑ์
2.สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ได้มีการจัดทำแล็ปอาหารแห่งอนาคต เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมอาหาร ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอาหารมูลค่าสูง และผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารโดยมีระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูล รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่เป็นนวัตกรรมหรือมีการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพหรือมีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงออกสู่ตลาด จำนวน 15 โครงการ
3.สร้างโอกาสทางธุรกิจยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ หอการค้าไทย และโคโลญ - เมสเซ่ ประเทศเยอรมนี ร่วมจัดงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้ชื่องาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2020 โดยจัดให้มีการเจรจาซื้อขายแบบออฟไลน์ควบคู่ออนไลน์ จำนวนทั้งสิ้น 708 บริษัท และ 4.สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร การทำโครงการการจัดการผลิตอ้อยแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อย และบริการยกระดับความปลอดภัยในการผลิตอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เป็นต้น
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวเสริมว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง แต่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารไทยกลับมีโอกาสโดยมีทิศทางการผลิตที่ขยายตัวขึ้นสะท้อนจากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออก ซึ่งประเทศไทยนับว่ามีความได้เปรียบในด้านการผลิตอาหารแปรรูปเนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศ สำหรับการดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการอาหารฯ โดยในปี 2564 คาดว่าการส่งออกอาหารแปรรูปจะมีมูลค่ากว่า 1.05 ล้านล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจไทย กระตุ้นผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ถึง 9.50 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตามระยะต่อไป สศอ. จะใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ โดยผ่านคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ในการกำกับการดำเนินงานตามมาตรการต่างๆ โดยจะเน้น กระบวนการผลิตอาหารจะต้องมีความปลอดภัยในทุกขั้นตอน รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี AI/Automation ในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียนต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |