บิ๊กเอกชนตบเท้าซื้อซองไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินรับอีอีซี 2.15 แสนล้าน ปตท.-บีทีเอส-ซีพี-อิตัลไทย พ่วงบริษัทจากจีน-ญี่ปุ่น
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทp (รฟท.)เปิดเผยว่าการขายซองเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ที่ผ่านมา เป็นวันแรกมีบริษัทเอกชนกลุ่มทุนรายใหญ่จากหลากหลายภาคส่วนทั้งด้านกิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการรถไฟฟ้าและกิจการพลังงาน ยื่นเสนอเข้าซื้อซองทีโออาร์รวมกันถึง 7 บริษัท ประกอบด้วย 1. บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือBTS เป็นรายแรก2. บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ CP 3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD 4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ 5.บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) PTT 6.บริษัท อิโตชู คอปเปอเรชั่น จากประเทศญี่ปุ่น 7.บริษัท ชิโนไฮโดร จำกัด(มหาชน) จากประเทศจีน
อย่างไรก็ตามการเปิดขายซองทีโออาร์จะเปิดไปจนถึง วันที่ 9 ก.ค.นี้ เวลา9.00 -12 .00 น. และ เวลา 13.00- 15.00 น. ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยจะขายเอกสารในราคาชุดละ 1 ล้านบาท หลังจากขายซองเอกสารแล้วจะจัดประชุมชี้แจงจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 23 ก.ค.61 และ 24 ก.ย.61 หลังจากนั้นจะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน ในวันที่ 10 ก.ค.- 9 ต.ค. 2561 ตามกำหนดการรฟท.จะเปิดให้มีการรับซองข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.2561 เวลา 9.00 -15.00น.
“โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับการซื้อซองเอกสารข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาทและต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท และกำหนดให้เปิดซองผู้ยื่นข้อเสนอวันที่ 13 พ.ย.2561 เวลา 10.00 น.ณ สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้คุณสมบัติของผู้ยื่นเสนอ จะเป็นนิติบุคคลรายเดียว หรือ นิติบุคคลหลายรายรวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ หรือ นิติบุคคลหลายรายรวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ หรือ นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการ โดยต้องมีนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย เข้าร่วมกลุ่มโดยมีสัดส่วนการลงทุนเกินกว่า 25% ของทั้งหมด และสมาชิกอื่นแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการลงทุนไม่น้อยกว่า 5% โดยสมาขิกแต่ละรายต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ยื่นข้อเสนอ
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานในเขตกรุงเทพมหานครและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภาแบบไร้รอยต่อรวมทั้งพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ บริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์เพื่อสนับสุนนบริการรถไฟ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |