ปลดล็อค’ป่า’นำไทยสู่ตลาดคาร์บอนเครดิต


เพิ่มเพื่อน    

 

 

               “ป่าไม้” ถือเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม ป่าไม้ไม่ได้มีค่าเป็นเพียงแค่ดูดคาร์บอนเท่านั้น แต่ป่ายังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ถือเป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพตามระบบนิเวศน์ในแต่ละพื้นที่

              ปัจจุบันประเทศไทยมีการดำเนินการเตรียมขายคาร์บอนเครดิตจากป่าในพื้นที่ของภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมป่าไม้ ได้ออกระเบียบการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูกป่า เพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน  พัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้คล่องตัวและโปร่งใส ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  เป็นกรมต่อไป อยู่ระหว่างร่างระเบียบดังกล่าวฯ  ให้รอบคอบ เพราะการจัดทำโครงการใดๆ ในป่าธรรมชาติต้องอยู่บนพื้นฐานไม่ให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสภาพสมบูรณ์และระบบนิเวศเปราะบาง 

          โครงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต ซื้อ-ขายคาร์บอน หรือใช้ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองจากการปลูกป่าในพื้นที่รัฐดูแล  ถือเป็นเรื่องใหม่ของไทย เกิดปัญหามากมายในทางปฏิบัติ  วงเสวนาคาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่า แนวทางการดำเนินงานและการแบ่งปัน กรณีดำเนินโครงการในพื้นที่ของภาครัฐ ผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันก่อน จัดโดย 3 หน่วยงาน  องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมป่าไม้  สะท้อนภาพสถานการณ์ก๊าซเรือนกระจก ความคืบหน้าในภาคป่าไม้  แนวทางผลักดันขับเคลื่อนของภาครัฐและภาคเอกชนในบ้านเรามีอุปสรรคมากน้อยเพียงใด

                    เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า โลกร้อนสร้างผลกระทบมากมาย ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งลดจากแหล่งกำเนิด ลดปริมาณขยะพลาสติก  รวมถึงการปลูกต้นไม้และดูแลป่า ภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับโลกกว่า 5 หมื่นล้านตันต่อปี นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า ถ้ายังปล่อยให้ถึง 2.2  แสนล้านตันต่อปี อุณหภูมิโลกจะเพิ่มถึง 2 องศาเซลเซียส จึงต้องหาแนวทางลดการปลดปล่อยก๊าซ

              ปัจจุบันจีนปล่อยเป็นอันดับ 1 รองลงมาสหรัฐ และญี่ปุ่น ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 20 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกวันละ 1 ตัน รวม 365 ตันต่อปี โดยมาจากภาคพลังงาน 70% รองลงมา ภาคเกษตร ตัวสำคัญนาข้าว  ภาคอุตสาหกรรมเป็นปูนซิเมนต์  ถัดมาการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้พื้นที่กักเก็บก๊าซหายไป อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยโชคดียังมีป่าไม้ช่วยกักเก็บก๊าซ 91 ล้านตัน

         “ โลกร้อน ทำให้โลกรวน น้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ไอน้ำก่อให้เกิดความแปรปรวนความกดอากาศ เกิดลมพายุ ความแห้งแล้ง และน้ำท่วม รวมถึงไฟไหม้ป่า ปี 64 นี้อาการชัดเจนพบสภาพปัญหารุนแรง จากการจำลองสถานการณ์ถ้าไม่ทำอะไรเลย ต้นทุนความเสียหายทางเศรษฐกิจ 258 เหรียญต่อตัน สหประชาชาติจึงหาแนวทางจัดการความเสี่ยง  นำมาสู่ข้อตกลงปารีส  52 ประเทศทั่วโลกประกาศเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ( Net Zero emissions X   รวมถึงไทย   การปล่อยต้องลด และต้องหาทางเก็บเพิ่มด้วย ซึ่งโครงการปลูกป่าเป็นแนวทางสำคัญ “    เกียรติชาย กล่าว

พื้นที่ป่าชายเลนในไทยมีศักยภาพการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

 

                ผอ.อบก.ให้ข้อมูลด้วยว่า ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากสุด คือ ก๊าซคาร์บอน  แผนปฏิบัติโลกร้อนตั้งเป้าลดปล่อยภาคพลังงานจาก 237 ตัน เหลือไม่เกิน 90 ตันต่อปี ภาคป่าไม้จากกักเก็บก๊าซ 91 ล้านตัน ขยับเป็น 120 ตันต่อปี เพิ่มขึ้นเกือบ 30 ล้านตัน ซึ่งศักยภาพการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีพื้นที่เป้าหมายในป่าธรรมชาติ  ป่าเศรษฐกิจ และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบททุกจังหวัด หากทำสำเร็จจะเกิดประโยชน์มากมายต่อระบบธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพกลับมา ด้วยต้นทุนต่ำและส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศ

               ขณะที่ภาคพลังงานต้องเดินสู่พลังงานสะอาด พลังงานอีวี เลิกถ่านหินและหยุดใช้น้ำมันฟอสซิล สองภาคนี้เป็นพระเอกของ Net Zero เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ประเทศไทยต้องผลักดันการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่ม  ส่วนกระทรวงทรัพย์ฯ เป็นเจ้าภาพทำโครงการศักยภาพการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกในสาขาป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                “ คาร์บอนเครดิตอยู่บนหลักการวัดการลดหรือการกักเก็บมากขึ้น เมื่อเทียบกับฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเดิม สามารถนำคาร์บอนเครดิตที่ได้รับจากการดำเนินโครงการไปขอการรับรองตามกลไก T-VER ระยะเวลาคิดเครดิตโครงการป่าไม้  ระยะเวลาคิดเครดิต  10 ปี ต่ออายุได้ โดยมีผู้ตรวจสอบประเมินโครงการตามมาตรฐาน ซี่งมีต้นทุนสูง  อบก. จะเป็นผู้ขึ้นทะเบียนโครงการ จากนั้นติดตามผลและจัดทำรายงานรับรองปริมาณก๊าซ ซึ่งพื้นที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐก่อน ปลูกป่าและต้องดูแล ไม่ปล่อยทิ้ง ปัจจุบันมีภาคป่าไม้และพื้นที่สีเขียวที่ทำอยู่แล้ว  3 แสนตันต่อปี ซึ่งน้อยมาก อยากส่งเสริมการนำคาร์บอนเครดิตไปใช้มากกว่านี้ ตลาดนี้มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 20-30%    “ ผอ.อบก. ระบุ

                ด้าน อดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า สถานการณ์ป่าไม้ไทยแค่รักษาพื้นที่ป่าเดิมก็ยาก การปลูกป่าเพิ่มยิ่งใช้งบประมาณสูง แนวทางคาร์บอนเครดิตให้บริษัทเอกชนร่วมฟื้นฟูป่า แล้วคำนวนปริมาณคาร์บอนนั้นออกมาเป็นคาร์บอนเครดิต ถือเป็นทางแก้ปัญหา ซึ่งพื้นที่ป่าในความรับผิดชอบของกรม  ป่าสงวนแห่งชาติ มีสภาพป่า 34 ล้านไร่ ไม่มีสภาพป่า 26 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ คทช. ให้ชุมชนทำกินเกือบ 14 ล้านไร่  

             “  พื้นที่ทำโครงการได้เร็วสุดคือ พื้นที่บุกรุก และพื้นที่หมดอายุการอนุญาต   รวม 7 แสนไร่ ต้องสำรวจว่า มีชาวบ้านเข้ามาอาศัยในพื้นที่หรือไม่  อนาคตอาจนำพื้นที่ คทช.ร่วมโครงการคาร์บอนเครดิตเพิ่มเติม “  

แบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากป่าสงวนแห่งชาติ

 

            อธิบดีกรมป่าไม้ย้ำว่า ตอนนี้พร้อมรับข้อเสนอภาคเอกชน มาเลือกพื้นที่ ทั้งปลูกป่า 100 %  ปลูกต้นไม้เสริม และบำรุง อนุรักษ์ ฟื้นฟูในสวนป่าที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูกป่า บำรุงป่า อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าไม้ สำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2564 ออกมาเพื่อส่งเสริมให้เอกชนทำได้ และมีส่วนร่วมอนุรักษ์ป่า ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ ขั้นตอนเริ่มจากเลือกพื้นที่ เสนอโครงการ ระยะเวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า 10 ปี   สนับสนุนแนวทางการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก โดยสามารถนำคาร์บอนเครดิตที่ได้รับจากการดำเนินโครงการไปขอการรับรองตามกลไก T-VER

                “ อีกแนวทางขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชุมชนทำโครงการคาร์บอนเครดิต บริบทจะต่างจากป่าสงวนฯ   ใช้อีกระเบียบได้รับอนุญาตตามมาตรา 18 พ.ร.บ.ป่าชุมชน 2562 ภาคเอกชนสามารถร่วมกิจกรรมที่เข้าไปอนุรักษ์และจัดการป่าชุมชน ซึ่งจะมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้ประชาชน 40% เพราะท้องถิ่นเป็นเจ้าของและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  ขณะที่ภาคเอกชนได้ 50% กรมป่าไม้ 10%  ขณะนี้กำลังยกร่างระเบียบ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการป่าชุมชนต่อไป “  นายอดิศร กล่าว

            ปัจจุบันมีการนำร่องปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ป่าชายเลนกว่า 700 ไร่ ใน จ.จันทบุรีและตราด เป็นโปรเจ็คของ ทช.และอบก. แน่นอนว่า ยังมีพื้นที่ป่าชายเลนที่รอการคืนความสมบูรณ์และได้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตกระจายใน 24 จังหวัดชายฝั่งทะเลของไทย รวมพื้นที่มากกว่า  1.5 หมื่นไร่

             อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศการอยู่ร่วมกันของสังคมพืชและสัตว์บนพื้นที่ชายฝั่งมีน้ำทะเลท่วมถึง หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีคุณค่าและความสำคัญมาก  อีกทั้งลดปริมาณก๊าซคาร์บอน เพิ่มก๊าซออกซิเจน สถานการณ์พื้นที่ป่าชายเลนของไทย 60 ปีที่แล้ว มีพื้นที่เหลือ 2 ล้านไร่ และลดลงต่อเนื่องจากการขยายตัวของประชากร การส่งเสริมเศรษฐกิจ  และนโยบายการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง  

            อย่างไรก็ตาม ทช.ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนมาตั้งแต่ปี 2546 ปลูกเพิ่มไปแล้ว 1.4 แสนไร่  เป้าหมายจะเพิ่ม 3 แสนไร่ ภายในปี 2580 ซึ่งสอดคล้องกับโครงการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต  

           “ สภาพภูมิอากาศทั่วโลกแปรปรวนและรุนแรงมากขึ้น ทั่วโลกให้ความสำคัญลดก๊าซเรือนกระจก พื้นที่ป่าชายเลนดูดซับก๊าซและกักเก็บได้มากกว่าป่าบก 3 เท่า หรือประมาณ 800 ตันต่อไร่ต่อปี นำมาสู่การออกระเบียบว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลน สำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2564 เพื่อเปิดโอกาสให้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นการปลูกต้นไม้ใหม่ทั้งหมด ระบุชนิดพรรณไม้ที่เหมาะสมแต่ละสภาพพื้นที่ มีการบำรุงรักษาต่อเนื่อง เพื่อประเมินคาร์บอนเครดิต ขณะนี้เร่งจัดทำคู่มือปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต และตั้งคณะทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก และมีเจ้าหน้าที่ประจำแปลงให้คำแนะนำการปลูกป่าชายเลนตามหลักการที่ถูกต้อง มีอัตรารอดสูง  เติบโต สร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์ นอกจากเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ยังอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน   “ นายอภิชัย กล่าวในท้ายทุกภาคส่วนต้องหนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อพิชิตเป้าหมายของประเทศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"