ดาวเคราะห์น้อย'เวสตา'เข้าใกล้โลกมากสุดรอบ11ปีในวันนี้


เพิ่มเพื่อน    

19 มิ.ย.61-สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ระบุว่า ดาวเคราะห์น้อยเวสตาจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุด มีระยะห่างจากโลกประมาณ 170.6 ล้านกิโลเมตร และครั้งนี้จะเป็นการเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ปรากฏบนท้องฟ้าได้ยาวนานตลอดทั้งคืน มีค่าความสว่างปรากฏในช่วงปกติอยู่ที่แมกนิจูก 5.7 ขณะที่ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่มีค่าความสว่างปรากฏตั้งแต่แมกนิจูด 6 ขึ้นไป การโคจรเข้าสู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ของดาวเคราะห์น้อยเวสตา คาดว่าจะทำให้ค่าความสว่างปรากฏลดลงเหลือแมกนิจูด 5.3 หากสังเกตการณ์ในที่มืดสนิท ไม่มีแสงรบกวน อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ค่าความสว่างปรากฏหรือค่าแมกนิจูด ยิ่งตัวเลขมากความสว่างยิ่งน้อย ส่วนค่าความสว่างปรากฏที่ตามนุษย์มองเห็นได้ อยู่ที่ประมาณแมกนิจูด 6 ลงไป)

ค่าความสว่างปรากฏของดาวเคราะห์น้อยเวสตาเป็นปริศนามาหลายหลายสิบปี เนื่องจากโคจรอยู่ในระยะไกลและมีขนาดเล็ก แต่มีความสว่างค่อนข้างมาก และไม่เคยมีดาวเคราะห์น้อยดวงไหนมีค่าความสว่างปรากฏน้อยว่าหก นอกจากนี้ ความสามารถในการสะท้อนแสงของเวสตายังมากกว่าดวงจันทร์และโลก (ดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์ออกไปแค่ 12% โลกสะท้อนแสงมากว่าดวงจันทร์คือ 30% ส่วนเวสตาสะท้อนแสงมากกว่าถึง 43%)

ดาวเคราะห์น้อยเวสตา ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2350 เป็นดาวเคราะห์น้อยลำดับที่สี่ โคจรบริเวณแถบดาวเคราะห์น้อย ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 525 กิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นลำดับสองในหมู่บริวารขนาดเล็กของดวงอาทิตย์รองจากดาวเคราะห์แคระเซเรส แต่โคจรอยู่ใกล้โลกมากกว่าดาวเคราะห์แคระเซเรส ข้อมูลจากยานสำรวจอวกาศดอว์น ที่ส่งไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยเวสตาและดาวเคราะห์แคระเซเรส ได้เผยแพร่ภาพความละเอียดสูง ภายหลังโคจรสำรวจรอบดาวเคราะห์น้อยเวสตา เมื่อ พ.ศ. 2554 ใช้เวลาประมาณ 1 ปี พบว่า รูปทรงของดาวเคราะห์น้อยเวสตาคล้ายหัวมัน และมีพื้นผิวเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต เต็มไปด้วยองค์ประกอบที่ซับซ้อนคล้ายกับอุกกาบาตหายากในกลุ่ม HED (Howardites, eucrites, and diogenites) ที่ปรากฏบนโลก ข้อมูลจากดอว์นดังกล่าวพิสูจน์ทฤษฏีแหล่งที่มาของอุกกาบาตกลุ่มนี้

ผู้สนใจติดตามชมดาวเคราะห์น้อยเวสตาควรอยู่ในที่มืดสนิท หลีกเลี่ยงแสงเมืองรบกวน สามารถสังเกตประมาณวันที่ 8-22 มิถุนายน 2561 ซึ่งในเดือนมิถุนายน ดาวเคราะห์น้อยเวสตาจะปรากฏตั้งแต่เวลาหัวค่ำ ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นมุมเงยประมาณ 40 องศาจากเส้นขอบฟ้า หากใช้กล้องสองตาและแผนที่ดาวช่วยสังเกตการณ์ จะสามารถหาตำแหน่งของดาวเคราะห์น้อยเวสตาได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ควรสังเกตการณ์ภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 หลังจากวันดังกล่าวจะมีแสงจันทร์รบกวน และค่าความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ.

ขอบคุณข้อมูลและรูปจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

http://www.skyandtelescope.com/obser…/vesta-2018-opposition/

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"