10 ก.ย.64 - เมื่อเวลา 17.00 น. ที่บริเวณหน้าศาลฎีกา สนามหลวง กลุ่มพลเมืองโต้กลับ วันนี้นำโดย นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ เเกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ดำเนินกิจกรรม พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 15 คน เข้าร่วมกิจกรรม “ยืน หยุด ขัง 1.12 ชั่วโมง” เป็นวันที่ 26 โดยยืนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที พร้อมห้อยป้าย ปล่อยเพื่อนเราเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมที่โดนจับกุม
โดยเมื่อกิจกรรมเริ่มขึ้นเพียง 5 นาทีได้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายขึ้นเมื่อกลุ่มนักรบองค์ดำสองคาบสมุทร และกลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบัน ประมาณ 30 คนในชุดเสื้อสีเหลืองได้เคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาตามถนนราชดำเนิน ผ่านมายังหน้าศาลฎีกาที่พลเมืองโต้กลับทำกิจกรรมอยู่ พร้อมตะโกน อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ไปตลอดทาง ก่อนจะไปหยุดยืนร้องเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีหน้าพระบรมฉายาลักษณ์หน้าศาลฎีกา ก่อนถึงศาลหลักเมือง
หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มเยาวชนชุดดำทั้งเดินเท้าและขี่มอเตอร์ไซค์โบกธงสีดำ สกรีนข้อความ ทะลุแก๊ซ ได้เข้ามามีปากเสียงจนเกิดความวุ่นวาย แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบ นำโดย พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผู้กำกับ ส.น.ชนะสงคราม เจ้าของท้องที่ได้นำกำลังระงับเหตุและแยกย้ายผู้ชุมนุมทั้งสองฝั่งออกจากกัน จนเหตุการณ์สงบเรียบร้อย
ในตอนท้ายกิจกรรมนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ พลเมืองโต้กลับได้กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ต้องขังให้ผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมทราบว่า วันนี้การยื่นประกันตัว ผู้ต้องขังทางการเมืองทั้ง 7 คนยังไม่มีความคืบหน้า ทราบแต่เมื่อเช้าทางราชทัณฑ์ได้พยายามย้ายผู้ต้องขังที่มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ 3 ราย คือนายพริษฐ์ ชิวารักษ์, นายภาณุพงศ์ จาดนอก และนายธัชพงศ์ แกดำ กลับไปยังเรือนจำธัญบุรี แต่การเคลื่อนย้ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว และใช้กำลังข่มขู่คุกคาม จนทำให้พริษฐ์บาดเจ็บเล็กน้อย ซึ่งธัชพงศ์หนึ่งในผู้ต้องขังได้แสดงความแปลกใจว่าไม่เคยเห็นการใช้กำลังคุกคามในโรงพยาบาลราชทัณฑ์มาก่อน"
นายพันธ์ศักดิ์ ได้กล่าวต่อไปอีกว่าเมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประกาศให้เพนกวิน นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้รับรางวัลจารุพงษ์ ทองสินธุ์ ประจำปี 2564
ซึ่งจารุพงษ์ ทองสินธุ์ เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ ซึ่งในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ขณะที่นักศึกษากำลังถูกล้อมปราบและสังหารด้วยอาวุธสงครามอย่างโหดร้ายทารุณ โดยนายจารุพงษ์เป็นคนคอยวิ่งขึ้นลงไล่ให้เพื่อนๆรีบหนีไปให้หมด ระหว่างที่เพื่อนๆทยอยลงจากตึกกิจกรรม จารุพงษ์จะเป็นคนที่คอยยืนคุ้มกันให้และหลังจากที่แน่ใจว่าไม่มีใครหลงเหลืออยู่แล้ว เขาจึงวิ่งไปทางตึกคณะ นิติศาสตร์เพื่อที่จะไปลำเลียงผู้บาดเจ็บที่จมอยู่ในกองเลือดออกมา แต่หลังจากไล่เพื่อนๆ ออกจากตึกกิจกรรมในช่วงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ก็ไม่มีใครพบเห็นจารุพงษ์อีกเลย
จนกระทั่งหนึ่งสัปดาห์ต่อมา เพื่อน ๆ พบเห็นเขาอีกครั้งในภาพที่ลงอยู่บนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ เป็นภาพชายไทยใช้ผ้าที่พันเป็นเกลียวรัดคอและลากร่างไร้วิญญาณของเขาไปมาในสนามฟุตบอลที่เขามักชวนเพื่อนไปเตะบอลบ่อยๆ ไม่เคยมีใครพบศพของจารุงพงษ์เลย เขาจึงกลายเป็นตัวแทนของความโหดร้ายในเหตุการณ์ 6 ตุลา เพื่อเป็นการระลึกถึงจารุพงษ์ ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งเป็นชื่อห้องประชุม "จารุพงษ์ ทองสินธุ์" ที่ตึกกิจกรรมของ สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์
แต่ในปี 2556 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการปรับปรุงตึกกิจกรรม ป้ายชื่อสีทองของเขาถูกถอดออกไประหว่างการปรับปรุง เมื่อเสร็จสิ้นการปรับปรุงตึก อธิการบดีได้มาทำพิธีเปิดตึกอย่างเงียบ ๆ และป้ายชื่อจารุพงษ์ได้หายไปแล้ว โดยไร้คำอธิบายใด ๆ จากทางมหาวิทยาลัย
รางวัลจารุพงษ์ ทองสินธุ์ จึงเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ยึดโยงระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กับโศกนาฏกรรมในวันที่ 6 ตุลาคม 2516 คนหนุ่มสาวของเราอีกกี่คนที่จะต้องสังเวยชีวิตและอนาคตให้ระบอบสามานย์นี้ อีกทั้งฆาตกรก็ยังเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ด้วย ซึ่งคุณอาจขังดวงดาวได้ แต่คุณไม่มีทางขังแสงดาวได้”
สุดท้าย นายพันธ์ศักดิ์กล่าวเชิญชวนให้ทุกคนหันหน้าเข้าหาศาลฎีกา เปล่งเสียงว่า "ปล่อยเพื่อนเรา ปล่อยผู้บริสุทธิ์ คืนสิทธิการประกันตัว" พร้อมกัน 3 ครั้ง เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมือง และคารวะแด่คนหนุ่มสาวที่แลกชีวิตตัวเองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย พร้อมเชิญชวนทุกคนมาร่วมกิจกรรม เดินหยุดขัง ณ ลานอากง สนามราษฎร์ ทุกวัน เวลา 17.00 น. หรือจัดกิจกรรมตามสะดวกของแต่ละคนในสถานที่ต่างๆ ก่อนจะแยกย้ายกันกลับโดยสงบ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |