'วิษณุ' อุบโครงสร้างหน่วยงานแทน 'ศบค.' รอดูร่างกฎหมายโรคติดต่อ แย้มคืนอำนาจให้สธ.


เพิ่มเพื่อน    

9 ก.ย.64 - เมื่อเวลา 12.30น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีหากไม่มีการขยายประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วมีการยุบศบค. หน่วยงานที่จะตั้งขึ้นมาแทนจะมีโครงสร้างอย่างไรว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นร่าง พ.ร.บ.โรคติดต่อ ที่กำลังแก้ไข ก็พูดอะไรยาก อธิบายไปก็ไม่เข้าใจ แต่เอาเป็นว่าเราจะมีกฎหมายใหม่ ซึ่งมีหมวดที่พูดถึงสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเฉพาะ แยกออกมาจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อแยกออกมาแล้วก็ไม่ต้องไปยุ่งกับกฎหมายดังกล่าว เมื่อไม่ยุ่งกับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ศบค.ก็อยู่ไม่ได้ แต่จะมีหน่วยงานใหม่เป็น ศ. อะไรก็ช่างเขา ตนไม่รู้และยังไม่ถึงเวลาที่จะจัดตั้ง  

ผู้สื่อข่าวถามว่า ถือเป็นการมอบอำนาจให้กระทรวงสาธารณสุขไปจัดการเรื่องโควิด-19 เลยใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ถึงขนาดนั้น เพราะเวลาไม่มีอะไรและเวลาที่มีโรคติดต่อธรรมดาเกิดขึ้นก็จะมี รมว.สาธารณสุขเป็นประธาน แต่เมื่อมีโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงเกิดขึ้นและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข นายกฯจะต้องเข้ามาเป็นประธานแทน รมว.สาธารณสุข และรมว.สาธารณสุขอาจไปเป็นรองประธาน อย่างไรก็ตาม นายกฯจะเข้าประชุมหรือไม่ประชุมก็ได้แล้วจะต้องบูรณาการการทำงาน

นายวิษณุ กล่าวว่า เราเรียนรู้มาตลอดหนึ่งปีเศษว่าเมื่อเปิดโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง เช่น โควิด-19 ขึ้นมา จะมีความเป็นเชิงวิชาการ ขัดแย้งแตกต่างกัน นี่เป็นเหตุผลที่ ศบค.จะต้องใช้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) การที่สภาฯบอกว่าไปเอานักการทหาร นักความมั่นคงเข้ามาแต่ไม่ใช้หมอ เป็นเพราะใช้หมอไม่ได้ หมอทะเลาะกันหมด ระหว่างแพทย์มหาวิทยาลัย แพทย์กระทรวงสาธารณสุขก็มีความเห็นคนละอย่างกัน ระหว่างแพทย์ของรัฐกับแพทย์ของเอกชน ระหว่างกทม.กับกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างจังหวัดหนึ่งกับอีกจังหวัดหนึ่ง เพราะมีผู้ว่าฯคนละคนกัน จึงใช้คนละมาตรฐานกัน แล้วเวลาที่เกิดโรคระบาดร้ายแรงจำเป็นต้องใช้กำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร ต้องใช้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ต้องใช้ ผบ.ตร. ไม่เช่นนั้นใครจะมาตั้งด่าน ถึงเวลาทุกคนหนีหมด ใส่ชุดพีพีอีหมด ตรงนี้เพราะหมอไหนๆ ก็ไม่มีปัญญาที่จะทำ

นายวิษณุ กล่าวว่า ตนเคยขอให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาเป็นเลขานุการศบค. ท่านก็ไม่รับ เพราะจะต้องไปนั่งทำงาน หากมาเป็นเลขาฯศบค.ตอนเช้าอาจต้องคุยกับผู้ว่าฯ กทม. คณบดีแพทย์ศิริราช หรือกระทรวงสาธารณสุข ไม่ต้องทำมาหากินอย่างอื่นแล้ว เพราะหน้าที่ปลัดกระทรวงคือการไปตรวจงานต่างจังหวัดและโรงพยาบาล แต่เลขาธิการ สมช.มาทำสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะมีประสบการณ์ในการยกหูโทรศัพท์ขอเฮลิคอปเตอร์ ขออะไรต่ออะไร และต้องประสานงานกับกระทรวงต่างประเทศซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเพียงนิดเดียวกระทบความสัมพันธไมตรีได้ ฉะนั้น เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขต้องจัดระบบใหม่หมด จะเรียกว่าคืนอำนาจให้กระทรวงสาธารณสุขก็คืนได้ส่วนหนึ่ง แต่นายกฯก็จะเข้าไปมีส่วนอยู่

เมื่อถามว่านายกฯจะไปนั่งเป็นประธานใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ท่านเป็นประธานแต่จะนั่งหรือไม่ หรือมอบรองนายกฯก็ได้ เมื่อถามว่า จะมีการเร่งรัดออกกฎหมายใหม่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องรอฟังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดูว่ามีกี่มาตรา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"