9 ก.ย. 2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทย ใครชี้ชะตา” ว่า ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยยังมีการเจริญเติบโตอยู่ แม้จะไม่สูงมากเหมือนในอดีต ซึ่งเป็นเหมือนกันทุกประเทศในโลกที่การเติบโตของเศรษฐกิจจะต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ที่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนกับภาคการท่องเที่ยวและบริการของไทย จนทำให้เกิดหลุมรายได้ที่หายไปเป็นจำนวนมาก และต้องยอมรับว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าการท่องเที่ยวทั่วโลกจะกลับมา
ขณะที่ความมั่นคงของเศรษฐกิจไทยในด้านอื่น ๆ ยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีการปรับตัวได้เป็นอย่างดี มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ครึ่งปีมีกำไรรวมกว่า 5 แสนล้านบาท ดีกว่าปีก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ขณะที่ภาคการส่งออกก็ขยายตัวได้เป็นอย่างดี โตได้ในหลัก 10% ตรงนี้เครื่องชี้ที่ชัดเจนว่าภาคเอกชนมีการปรับตัวทางเศรษฐกิจไปก่อนแล้ว
นอกจากนี้ ภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศยังได้เล่นขยายการลงทุนในไทยมากขึ้น สะท้อนจากตัวเลขนักลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครึ่งปีกว่า 4 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อนเท่าตัว โดยหากไทยยังสามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ประคับประคองและร่วมมือในการสร้างความมั่นในให้กับนักลงทุน มีความเป็นไปได้ว่าในปี 2564 จะมียอดการขอบีโอไอสูงถึง 6 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เหล่านี้เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ทำให้เห็นถึงความหวังและโอกาสที่ภาคเอกชนเล็งเห็น ขณะที่ภาครัฐเอง ได้เร่งดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะการใช้จ่ายภาครัฐเป็นอีกเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ
“แม้ว่ารายได้จากภาคการท่องเที่ยวและบริการจะหายไปจำนวนมาก แต่เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 2/2564 ก็ยังขยายตัวได้ 7.5% และคาดว่าจนถึงสิ้นปี จากการที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา และหากสามารถรักษาสถานภาพการแพร่ระบาดไว้ได้ดี ก็เชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 3 และ 4/2564 จะดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผลลัพธ์ในปีนี้เป็นบวกได้ และปีหน้าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผมยังเชื่อมั่นว่าหลังจากนี้ทิศทางเศรษฐกิจของไทยจะค่อย ๆ เติบโตไปได้ด้วยการช่วยเหลือของทุกฝ่าย ประคับประคองช่วยกัน ตรงนี้มีความท้าทายเรื่องหลุมรายได้ที่รอปิด และไทยเองยังเป็นประเทศที่อาศัยรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งต้องใช้เวลา” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว
นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลจึงเดินหน้าการเปิดประเทศให้เร็วขึ้น เพื่อเร่งให้รายได้จากภาคการท่องเที่ยวทยอยกลับเข้ามา ผ่านโครงการนำร่องอย่างภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแล้ว 1 หมื่นนคน ยอดจองห้องพักเกือบ 5 แสนห้อง ถือว่าประสบความสำเร็จ โดยโครงการถูกออกแบบให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ มีมาตรการด้านสาธารณสุขดูแลอย่างดี เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว และโครงการดังกล่าวได้กลายเป็นต้นแบบในการเปิดประเทศให้กับหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย ซึ่งในระยะต่อไปจะมีการยกระดับเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น รายได้จาการท่องเที่ยวจะเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อปิดหลุมรายได้จากภาคท่องเที่ยวที่หายไปในช่วงก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยังให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อ ผ่านการต่อยอดโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่รัฐบาลได้เร่งดำเนินการมาตลอด 6 ปี กว่า 160 โครงการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดและรองรับการลงทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซีที่จะเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้า รวมถึงการให้ความสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยส่วนหนึ่งคือการนำเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเข้ามา รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพมากที่สุด ตลอดจนการพัฒนาการทำงานของภาครัฐให้เร็วขึ้น ตรงนี้เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อช่วยให้ไทยติด 1 ใน 10 การจัดอันดับความยากง่ายในการทำธุรกิจ ของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ภายใน 1-2 ปีนี้
“ตอนนี้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว ผลสำฤทธิ์ของวัคซีนพิสูจน์ได้ชัดว่าเป็นประโยชน์ แม้ว่าจะลดการระบาดได้ไม่เต็มที่แต่ลดอัตราการเสียชีวิตลงได้มาก ถ้ามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่านี้รัฐบาลก็ต้องจัดหามาเพิ่ม และวันหนึ่งโควิด-19 ก็จะเป็นเพียงโรคประจำถิ่นที่เราสามารถป้องกันดูแลตัวเองได้ ส่วนการช่วยเหลือประชาชนตลอด 18 เดือนของการแพร่ระบาด รัฐบาลมีมาตรการออกมาเยอะมาก รวมเป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ในการช่วยเหลือประชาชนให้ผ่านความทุกข์ยาก ผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ โดยปัจจุบันยังมีมาตรการเดิมที่ดำเนินการอยู่ และมาตรการใหม่ที่จะเติมเข้าไป จากเงินกู้ใหม่ 5 แสนล้านบาท ที่ยังมีเงินเหลืออีก 4 แสนล้านบาท จึงอยากให้ประชาชนมั่นใจในระบบเศรษฐกิจของไทย เสถียรภาพการเงิน อันดับความน่าเชื่อถือ ความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ที่ยังเข้มแข็งดี ตรงนี้จะเป็นจะจุดสำคัญที่ทำให้มั่นใจได้ว่า เมื่อพ้นโควิด-19 แล้ว ไทยยังมีความเข้มแข็ง มีรากฐานที่จะเติบโตไปได้ ไม่ได้อ่อนแอจนปวกเปียก หนี้สินไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |