คมนาคมเร่งเบิกจ่ายโค้งสุดท้ายงบปี 64 คาดสิ้นเดือน ก.ย.พุ่ง91%


เพิ่มเพื่อน    

 

8 ก.ย.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมวคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเร่งรัดติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2564 ของกระทรวงคมนาคม (งบแผ่นดิน) ว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงาน การลงนามในสัญญา เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2564 ของหน่วยงานในสังกัดฯ ให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2564 (8 ส่วนราชการ, 5 รัฐวิสาหกิจ) ในภาพรวม จำนวน 227,899.22 ล้านบาท มีแผนการเบิกจ่ายเงิน (1 ต.ค. 2563-31 ส.ค. 2564) จำนวน 223,148.68 ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้น ส.ค. 2564 มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว 165,064.03 ล้านบาท หรือ 72.43% ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า กระทรวงคมนาคมได้ประมาณการผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 (ก.ย. 2564) กระทรวงคมนาคมจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 91% หรือวงเงิน 207,388.29 ล้านบาท ซึ่งจะมีกันงบประมาณไว้ใช้ในปี 2565 วงเงิน 26,350.32 ล้านบาท ซึ่งเบิกจ่ายได้มากกว่าปีงบประมาณ 2563 ประมาณ 12-14% โดยเหตุที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ครบ 100% ตามที่รัฐบาลกำหนดไว้นั้น สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมถึงการร้องเรียนหลังการประกวดราคา ส่งผลให้การดำเนินการมีความล่าช้าด้วย

สำหรับหน่วยงานส่วนราชการที่เบิกจ่ายได้มากที่สุด คือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ที่ 90.91% หรือวงเงิน 231.82 ล้านบาท รองลงมา คือ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เบิกจ่ายได้ 90.74% หรือวงเงิน 112.28 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เบิกจ่ายได้ 90% หรือวงเงิน 43,887.30 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานส่วนราชการที่เบิกจ่ายได้น้อยที่สุด คือ กรมท่าอากาศยาน (ทย.) เบิกจ่ายได้ 66.64% หรือวงเงิน 3,784 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามขณะขณะที่ ในส่วนของงบรายจ่ายลงทุน จำนวน 188,177.30 ล้านบาท มีแผนการเบิกจ่ายเงิน (1 ต.ค. 2563-31 ส.ค. 2564) ให้ครบ 100% ซึ่ง ณ สิ้น ส.ค. 2564 มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว 132,819.50 ล้านบาท หรือ 72.42% ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร คงเหลือการเบิกจ่ายอีก 55,357.80 ล้านบาท

สำหรับการลงนามในสัญญารายจ่ายลงทุน กระทรวงคมนาคมมีรายการที่จะต้องลงนามในสัญญาในรายการที่จะต้องลงนามในสัญญา จำนวน 9,853 รายการ วงเงินรวม 98,470.53 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายลงทุนปีเดียว จำนวน 9,606 รายการ วงเงินปี 2564 รวม 84,241 ล้านบาท (รายการรายจ่ายลงทุนปีเดียว รายการลงทุนผูกพันรายการใหม่ และรายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท)

ทั้งนี้ ณ สิ้น ส.ค. 2564 ลงนามในสัญญาแล้ว 9,600 รายการ วงเงิน 84,164.50 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 6 รายการ วงเงิน 76.48 ล้านบาทจะทยอยการลงนามในสัญญาให้ครบทุกรายการ ภายใน ก.ย. 2564 ซึ่งจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของกระทรวงคมนาคมในแต่ละเดือนเพิ่มสูงขึ้น

นายศักดิ์สยาม สำหรับรายการรายจ่ายลงทุนผูกพันรายการใหม่ 231 รายการ วงเงินปี 2564 จำนวน 10,609.56 ล้านบาท ลงนามแล้ว 183 รายการ วงเงิน 4,990.04 ล้านบาท และยังไม่ลงนาม 48 รายการ วงเงิน 5,619.52 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภายใน ก.ย. 2564จะลงนามเพิ่มอีก 44 รายการ และลงนามไม่ทันใน จำนวน 4 รายการ ประกอบด้วย โครงการของกรมทางหลวง (ทล.) 2 โครงการ คือ 1.สายสามแยกปลาลัง-อ.เหนือคลอง ตอน 1 จ.กระบี่ วงเงิน 120 ล้านบาท

2.สายสามแยกปลาลัง-อ.เหนือคลอง ตอน 2 จ.กระบี่ วงเงิน 140 ล้านบาท, โครงการของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) 1 รายการ คือ ถนนสาย ข1 ผังเมืองรวมเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ วงเงิน 31.62 ล้านบาท และโครงการของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (สปค.) 1 รายการ คือ โครงการปรับปรุงสถานีภาคพื้นของระบบช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย COSPASS-SARSAT ฯ วงเงิน 60 ล้านบาท

ทั้งนี้ในส่วนของรายการรายจ่ายลงทุน วงเงิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 16 รายการ (วงเงินปี 2564 จำนวน 3,620 ล้านบาท ลงนามแล้ว 10 รายการ วงเงิน 2,108 ล้านบาท และยังไม่ลงนาม 6 รายการ วงเงิน 1,512 ล้านบาท โดยจะลงนามครบภายใน ก.ย. 2564 ประกอบด้วย โครงการของ ทล. จำนวน 5 รายการ และ ทย. 1 รายการ ได้แก่ 1. สาย บ.น้ำปลีก-บ.หนองผือ ตอน 2 จ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี วงเงิน 200 ล้านบาท 2.สายทางเลี่ยงเมืองเชียงของ จ.เชียงราย วงเงิน 220 ล้านบาท 3.สาย อ.สุวรรณภูมิ – ยโสธร จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร จ.อำนาจเจริญ วงเงิน 222 ล้านบาท

4.ทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 290 กับทางหลวง หมายเลข 304 จ.นครราชสีมา วงเงิน 316 ล้านบาท 5.สายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันออก ตอนแยกทางหลวง หมายเลข 117-บรรจบทางหลวงหมายเลข 225 ตอน 4 จ.นครสวรรค์ วงเงิน 194 ล้านบาท และ 6.งานก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่งพร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่นๆ ท่าอากาศยานตรัง วงเงิน 360 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ส่วนงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 2564 (5 รัฐวิสาหกิจ) ภาพรวมวงเงินรวม 37,947.65 ล้านบาท ณ สิ้น ส.ค. 2564 มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว 28,741.70 ล้านบาท หรือ 75.74% ของวงเงินงบประมาณทั้งปี  โดยรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่สามารถเบิกจ่ายเงินได้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ประมาณการผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 (ก.ย. 2564) จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 88.04% หรือวงเงิน 33,409.86 ล้านบาท ซึ่งจะมีกันงบประมาณไว้ใช้ในปี 2565 วงเงิน 3,883.33 ล้านบาท


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"