เครื่อแต่งกายมโนราห์
สมัยรัชกาลที่ ๕ การปกครองเริ่มเป็นรูปแบบสมัยใหม่ มณฑลเทศาภิบาลคือระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค ที่มีการใช้มาจนถึงสมัยช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองประมาณ ๗ ปี เป็นการเลียนแบบการปกครองของอังกฤษในพม่าและมาเลเซีย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๐ โดยพระดำริของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
มณฑลมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง เจ้าเมืองไม่มีอำนาจที่จะปกครอง หน่วยการปกครองเรียงจากใหญ่ไปเล็กได้ดังนี้ มณฑล เมือง (จังหวัด) อำเภอ ตำบล บ้าน (หมู่บ้าน)
ขณะเริ่มใช้เทศาภิบาลใหม่ๆ มีการรายงานความเคลื่อนไหว และวิถีชีวิตของประชาชนในแต่ละเทศาภิบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ส่วนกลางได้รับรู้ความเป็นไป
เรื่องราวที่นำมาฝากวันนี้คือ รายงานข้าหลวง เทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๓๐ เมษายน ๑๑๘ (๒๔๔๓) ภาษาที่ใช้ในราชการสมัยนั้นสื่อกันง่ายๆ ตรงไปตรงมา บางคราวอาจฟังดูหยาบสำหรับคนยุคปัจจุบัน แต่ทั้งหมดคือรากเหง้าของภาษาที่ใช้กันมา
รายงานฉบับนี้ระบุว่า
...ราษฎรในเมืองนครศรีธรรมราช มีมากกว่าเมืองอื่นในมณฑลเดียวกัน ตามในสำมโนครัวทำเมื่อศก ๑๑๖ ต้นปีมีจำนวนคน ๑๙๖๙๕๕ คน แจ้งอยู่ในบาญชีหมายเลขที่ ๑ นั้นแล้ว แต่พระสงฆ์ สามเณร แลนักโทษในตรางเวลานับ ไม่ได้รวมอยู่ในนี้ด้วยเพราะฉนั้นราษฎรในเมืองนี้ คงไม่ต่ำกว่า ๒๐๐๐๐๐ คน แต่ไม่ใคร่ทำมาหาเลี้ยงชีพสักเท่าใด
ที่ทำก็พอรับพระราชทาน ไม่คิดถึงกับจะได้ค้าขาย ให้เปนอาณาประโยชน์ต่อไป จึ่งเปนคนที่ยากจนโดยมาก การแต่งตัวแลนุ่งห่มก็เลวทราม ดูเหมือนหนึ่งคนที่เปนไข้อยู่เสมอ ผมเผ้าก็ไม่ได้หวีให้เรียบร้อยเปนดังนี้ทั่วกันทั้งเมือง พิเคราะห์ดูโดยรอบก็เห็นว่าที่เปนทั้งนี้ด้วยเหตุ ๒ ประการ
ประการที่ ๑ ไม่มีผู้ใดจะแนะนำ หรือเริ่มให้เปนตัวอย่างในการแต่งตัวนุ่งห่ม กลับคอยหัวเราะเยาะกันเล่น ในเวลาที่มีผู้นุ่งห่มใหม่อันเป็นเครื่องจูงใจ ไม่ให้คนรักษาความสอาดในร่างกาย
ประการที่ ๒ การที่นำสิ่งของไปมาค้าขายไม่เลือกว่าของชนิดใด ใช้ทูนด้วยศีศะทุกอย่าง ที่สุดจนถึงตะกร้ากุ้งสดปลาสดก็ทูนบนศีศะ ในเวลาเมื่อทูนของเช่นนี้ไปน้ำคาวกุ้งปลา ไหลนองลงมาบนศีศะบ้าง ตามตัวบ้าง ดูไม่ถือกันว่าเปนการโสโครกอย่างใดอย่างหนึ่ง
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
ใช่แต่เท่านั้น จะหวีผมให้เรียบร้อยดีก็ไม่อยู่ได้กี่ประเดี๋ยว แต่พอนำของขึ้นทูนผมก็หลบหลู้ไปเสียหมด การเปนดังนี้
ข้าพระพุทธเจ้า จึงได้ชักนำหมู่ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้แต่งตัวนุ่งห่มให้เรียบร้อยในเวลาเมื่อมาทำการในออฟฟิศ แลได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ออกคำสั่งห้ามมิให้ราษฎร ใช้ทูนสิ่งของด้วยศีศะในเวลาเมื่อผ่านเข้ามาในบริเวณกลางเมือง แลให้ใช้หาบหามแทนทูนด้วยศีศะ
เวลาที่ห้ามใหม่ ๆ ก็ปนกันอยู่บ้าง ครั้นมาภายหลังกลับนิยมเห็นว่า หาบดีกว่าทูนเพราะได้ ๒ ตะกร้า การที่ได้ชักนำในเรื่องแต่งตัวนุ่งห่มแลห้ามไม่ให้ทูนสิ่งของบนศีศะ ก็มีผลขึ้นโดยไม่ช้าเวลานัก
ในสมัยนี้ดูเรียบร้อยขึ้นทั้งหญิงทั้งชาย แต่ค่อนอยู่ข้างจะเกินไปสักหน่อย เสมียนทำการตามที่ว่าการเมือง แลอำเภอเมืองตามศาล ถึงสรวมเสื้อเชิดก็มี ข้างพวกผู้หญิงถึงจะนุ่งสีอไร ๆ ก็ตาม คงห่มสีเสมอ แต่มักจะใช้แพรไม่ชอบห่มผ้า
สังเกตุดูการที่เกรงกลัวผู้มีอำนาจ เช่นเห็นข้าหลวงเทศาภิบาล หรือผู้ว่าราชการเมืองลงนั่งค่อยน้อยไป บ้านเรือนแลที่อยู่ของชาวเมืองนครศรีธรรมราช ยังเปนการเลวทรามอยู่มาก การที่เปนเช่นนี้ใช่แต่ราษฎรซึ่งเปนคนยากจน ถึงผู้ที่มีกำลังพอจะทำได้ก็ไม่ใคร่ทำ โดยเหตุที่มักจะถือกันเสียว่าเทียมเจ้าเมือง แต่เขาเรียกกันว่าเทียมเจ้านาย เช่นกับว่าจะทำเรือนฝากระดานมุงกระเบื้องดังนี้ ถ้าผู้เจ้าของเรือนเปนแต่ชั้นกรมการ หรือพลเรือนก็เปนที่ติเตียนกัน หรือถือว่าเปนการอัปมงคล ต้องพูดจาแนะนำกับชาวบ้านในเรื่องนี้มาก
การรำมโนราห์หน้าวัดมหาธาตุ
เดี๋ยวนี้ดูมีคนที่กำลังคิดทำบ้านเรือนให้งดงามมากขึ้น ในแถวตลาดท่าวังประมาณ ๖๐ รายชื่อ ได้มารับกับข้าพระพุทธเจ้าว่า จะทำฝากระดานมุงกระเบื้องให้เปนแถวเปนแนวกัน
ข้าพระพุทธเจ้าได้กำหนดไว้แล้ว ในภายใน ๑๘ เดือน ที่จะก่อเปนตึกบ้างก็มี จีนซำเฮงกับจีนซุ่นหงวนได้ก่อตึกขึ้นแล้วคนละหลัง
อีกประการหนึ่ง เมืองนครศรีธรรมราชนี้เปนเมืองป่าก็จริงแต่หาไม้ยาก ไปชุมอยู่ทางนอกเขา ซึ่งมีแม่น้ำไปออกเสียทะเลเมืองกาญจนดิฐ์ แลเมืองตรัง ในเขาริมทะเลด้านนี้ ถึงที่มีอยู่ไกลลำบากที่พาหนะจะพามาเพราะไม่มีคลอง ที่มีอยู่ก็เปนคลองเล็ก ๆ ตื้นเต็มที ขัดอยู่ด้วยเรื่องไม้นี้ก็ส่วนหนึ่งเหมือนกัน เปนอันไม่มีใครซื้อขาย ถ้าต้องการก็ต้องไปตัดเอง จึงเปนการลำบากแก่ผู้ที่คิดทำบ้านเรือนอย่างยิ่ง ถึงจะมีทรัพย์ก็เปนการขัดข้อง การปลูกสร้างจึ่งยังไม่บริบูรณ์
ราษฎรเมืองสงขลา เมืองพัทลุง เมืองสงขลารวมทั้งหัวเมืองขึ้นด้วยมีจำนวนคน ๘๘๓๑๘ คนแจ้งในบาญชีหมายเลขที่ ๒ เมืองพัทลุง ๔๐๙๙๓ คน แจ้งในบาญชีหมายเลขที่ ๓ รวม ๓ เมือง มีจำนวนคน ๓๒๖๒๖๖ คน แจ้งในบาญชีหมายเลขที่ ๔ นั้นแล้ว
สังเกตุดูราษฎรในเมืองสงขลาเมืองพัทลุง ไม่ใคร่จะมีนิไสยขยาดยำเกรง ผู้มีบรรดาศักดิ์แรงอย่างชาวเมืองนครศรีธรรมราช แต่การประกอบทำมาหากินคล้าย ๆ กันกับชาวเมืองนครศรีธรรมราช
เว้นแต่พวกที่อยู่กลางเมืองค่อยหมั่นทำมาหากินมาก ทั้งจีน แลไทย แขกแต่ถ้าของรับประทาน แพงขึ้นเสมออย่างที่เปนอยู่ในเวลานี้ คงจะทำให้ราษฎรทั้ง ๓ เมือง หมั่นประกอบการทำมาหากินมากขึ้นเพราะจะอาไศรยกันรับประทาน อย่างแต่ก่อนไม่ได้อยู่เอง
ชาวนครศรีธรรมราชสมัยร.๕
เมื่อคิดดูถึงอาหารที่รับประทานใน ศก ๑๑๕ ปลายปีศก ๑๑๖ ต้นปี เข้าสารเมืองสงขลาถังละ ๕๐ อัฐ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุงอยู่ในถังละ ๔๐ อัฐ ครั้นมาถึงบัดนี้ เมืองสงขลาถึงถังละ ๖๔ อัฐ หรือ ๓๐ อัฐ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุงแพงขึ้นไป ของอื่น ๆ ก็แพงตามกันขึ้นไปทุกอย่าง คนที่รับจ้างทำงานค่อยหาได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน....
รายงานข้าหลวง เทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช นี้สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านแต่ละพื้นที่มีวิถีชีวิต และนิสัยใจคอที่แตกต่างกันไป ตามแต่ภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัย
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ดินแดนสยามมีมณฑลอยู่ ๑๙ แห่งครอบคลุมพื้นที่ ๗๒ เมือง (เปลี่ยนเป็น จังหวัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำจึงทำให้หลายมณฑลถูกยุบรวมกันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๘ (มณฑลเพชรบูรณ์ถูกยุบลงไปก่อนหน้านั้นแล้ว)
ภายหลังจึงคงเหลืออยู่เพียง ๑๔ มณฑล ได้แก่ กรุงเทพพระมหานคร มณฑลจันทบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลนครราชสีมา มณฑลปราจีนบุรี มณฑลปัตตานี มณฑลพายัพ มณฑลพิษณุโลก มณฑลภูเก็ต มณฑลราชบุรี มณฑลอยุธยา และมณฑลอุดรธานี
ทั้งหมดถูกล้มเลิกไปในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช ๒๔๗๖ ขึ้น และนับจากนั้น จังหวัดก็ได้กลายเป็นเขตการปกครองย่อยของประเทศไทยที่มีระดับสูงที่สุด.
การตรวจราชการตามหัวเมืองเดินทางด้วยขบวนช้าง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |