รวมพลังข่มจีน กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีของอังกฤษเทียบท่าญี่ปุ่น


เพิ่มเพื่อน    

กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีนำโดยเรือธง เอชเอ็มเอสควีนเอลิซาเบธ แห่งราชนาวีอังกฤษมาแวะเทียบท่าที่ญี่ปุ่นเมื่อวันจันทร์ อวดโฉมต่อรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น สำแดงพลังของค่ายสหรัฐ, อังกฤษ, ญี่ปุ่น และเหล่าพันธมิตร เพื่อคัดง้างการอ้างสิทธิทางทะเลอย่างดึงดันมากขึ้นของจีนในภูมิภาคนี้

เรือบรรทุกเครื่องบิน เอชเอ็มเอสควีนเอลิซาเบธ เทียบท่าที่ฐานทัพเรือสหรัฐในเมืองโยโกสุกะของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 (Photo by Kiyoshi Ota - Pool/Getty Images)

    รอยเตอร์กล่าวว่า กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "การรวมพลของกำลังทางทะเลและอากาศครั้งใหญ่ที่สุดที่ออกจากสหราชอาณาจักรในชั่วอายุคนรุ่นหนึ่ง" นอกจากเรือบรรทุกเครื่องบิน เอชเอ็มเอสควีนเอลิซาเบธ ที่เป็นเรือธงมีระวางขับน้ำ 65,000 ตันและเป็นเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยต่อในสหราชอาณาจักรแล้ว เรือในกลุ่มนี้ยังประกอบด้วยเรือรบอังกฤษ 6 ลำ, เรือดำน้ำ 1 ลำ และมีเรือพิฆาตของสหรัฐสมทบด้วย 1 ลำ กับเรือฟริเกตของเนเธอร์แลนด์อีก 1 ลำ

    กลุ่มเรือ CSG21 นี้ออกเดินทางจากอังกฤษเมื่อเดือนพฤษภาคม และแล่นผ่านทะเลจีนใต้หลังจากร่วมการฝึกผสมทางทะเลกับอินเดีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ จากนั้นมุ่งหน้ามาญี่ปุ่นและเข้าเทียบท่าที่ฐานทัพสหรัฐในเมืองโยโกสุกะ

    เอเอฟพีรายงานว่า โนบุโอะ คิชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น กล่าวขณะตรวจเยี่ยมเรือหลวงควีนเอลิซาเบธเมื่อวันจันทร์ที่ 6 กันยายนว่า การแวะเทียบท่าญี่ปุ่นของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีของอังกฤษและการฝึกผสมแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของประเทศทั้งสอง

    "ความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรไม่เพียงแต่มีส่วนทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสันติภาพและเสถียรภาพของอินโด-แปซิฟิกและประชาคมระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็จัดการกับปัญหาระดับโลกด้วย" คิชิกล่าว และว่า ทั้งสองประเทศต่างมีท่าทีคัดค้านความพยายามโดยฝ่ายเดียว ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานะที่เป็นอยู่ในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ที่มีข้อพิพาท และความสำคัญของระเบียบทางทะเลที่เสรีและเปิดกว้าง

    ด้านสถานทูตอังกฤษประจำกรุงโตเกียวกล่าวในแถลงการณ์ว่า การวางกำลังครั้งนี้เป็นการแสดงออกอย่างทรงพลังของความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดและยั่งยืนของสหราชอาณาจักรกับญี่ปุ่น และความมุ่งมั่นของสหราชอาณาจักรต่อความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

    การมาเยือนของกองเรือขนาดใหญ่จากโลกตะวันตกในครั้งนี้เคยทำให้สื่อของทางการจีนออกอาการหงุดหงิดมาแล้ว โดยโกลบอลไทมส์ หนังสือพิมพ์แนวชาตินิยมของทางการจีน เคยเตือนไว้ในบทบรรณาธิการเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า จีนอาจรู้สึกถึงความจำเป็นต้องตอบโต้กองเรือนี้

    ในเวลานั้น กระทรวงกลาโหมอังกฤษกล่าวถึงการวางกำลังกองเรือโจมตีในภูมิภาคนี้ว่าเป็นความมั่นใจ แต่ไม่ใช่การเผชิญหน้า.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"