หลังประกาศปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ.2564 เรียกโดยย่อว่า “สศท.” และให้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Sustainable Arts and Crafts Institute of Thailand (Public Organization ) หรือ SACIT มีหน้าที่สำคัญส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยอย่างยั่งยืน ควบคู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ศิลปหัตถกรรมไทย และขยายตลาดศิลปหัตถกรรมไทยทั้งในและส่งออกไปต่างประเทศเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก
ส่งเสริมชุมชนย้อมสีธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนงานใหม่ๆ ในการส่งเสริมศิลปะหัตกรรมที่จะเกิดขึ้น พรพล เอกอรรถพร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า SACIT ดูแลและสนับสนุนศิลปหัตถกรรมไทยทั้งระบบ เพื่อสืบสาน ส่งเสริมคุณค่า และพัฒนาอาชีพศิลปหัตถกรรมไทยอย่างยั่งยืน ได้พัฒนาแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี พ.ศ. 2563 - 2565 ส่วนเพิ่มปี พ.ศ. 2566 และแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2565 ทั้งในส่วนกระบวนการ เครื่องมือ ตัวชี้วัดการ ประเมินผล และ ค่าเป้าหมาย ทั้งเป้าหมายรายปี และเป้าหมายสิ้นสุดของแผนยุทธศาสตร์ และนำเสนอรูปแบบหรือบทบาทการดำเนินงานของ SACIT ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต
“ เราทำการวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ประเมินความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มในอนาคตของงานศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางสนับสนุนของภาครัฐ แผนผังแสดงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพาณิชย์ ช่วยกันพัฒนาศิลปหัตถกรรมไทย “พรพล กล่าว
พรพล เอกอรรถพร รักษาการ ผอ.สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
ภารกิจพัฒนาศิลปะหัตกรรมไทยของสถาบันฯ สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ใน 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
พรพล กล่าวว่า เราสร้างแผนยุทธศาสตร์สถาบันฯ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้วย 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ เริ่มจาก ยุทธศาสตร์ที่ 1 การตลาดบูรณาการงานศิลปหัตถกรรมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทยและผลิตภัณฑ์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สืบสาน ส่งเสริมคุณค่า และเผยแพร่ภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย สุดท้ายยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
“ นอกจากยุทธศาสตร์ เรายังคงต้องรับฟังความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มุ่งหวังให้บทบาทของ SACIT ส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความเข้มแข็งรอบด้าน ตลอดจนเดินหน้าสืบสาน อนุรักษ์ความเป็นพหุปัญญาของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ของงานด้านศิลปหัตถกรรมไทย เราต้องเพิ่มศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทยที่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หนุนการสร้างงานในกลุ่มงานฝีมือและงานหัตถกรรมให้กับคนไทย “ พรพล บอก
ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยได้มาตรฐาน
แม้งานศิลปหัตถกรรมไทยยังคงพบอุปสรรคในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะการส่งออก และสถานการณ์โควิด-19 รักษาการ ผอ.SACIT กล่าวในท้ายว่า การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยเป็นงานสำคัญ เวลานี้ศิลปหัตถกรรมไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมช่วยส่งเสริมทุกอย่าง ทั้งการผลิต การจัดจำหน่าย การส่งออกสินค้า เน้นส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เพื่อสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น และรักษาคุณค่าเอกลักษณ์ประจำชาติ การขยายตัวทางการตลาดจะเกิดมากขึ้น รวมถึงการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ถือเป็นทิศทางที่ดี เป็นแรงผลักดันสำคัญให้ประเทศไทยก้าวข้ามปัญหาทางเศรษฐกิจได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |