3 ก.ย. 2564 นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 27 ส.ค. – 2 ก.ย. 64 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม จำนวนข้อความที่เข้ามา 11,513,581 ข้อความ หลังจากคัดกรองพบมีข้อความที่เข้าเกณฑ์ต้องดำเนินการตรวจสอบ 189 ข้อความ รวมจำนวนเรื่องที่ต้องตรวจสอบ 110 เรื่อง โดยจำนวน 67 เรื่องเป็นประเด็นเกี่ยวกับโควิด-19
ด้านภาพรวมของจำนวนข่าว 110 เรื่องที่เข้าเกณฑ์ตรวจสอบของรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบการเผยแพร่ข่าวปลอม/ข่าวบิดเบือนในหมวดหมู่ข่าวกลุ่มนโยบายรัฐ/ข่าวสารทางราชการเพิ่มขี้นมาอยู่ที่อันดับ 1 จำนวน 59 เรื่อง ขณะที่ กลุ่มสุขภาพขยับลงไปอยู่อันดับ 2 จำนวน 47 เรื่อง ตามมาด้วยกลุ่มภัยพิบัติ และกลุ่มเศรษฐกิจ อย่างละ 2 เรื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจากการมีส่วนร่วม (Engagement) ของประชาชน ผ่านเพจเฟซบุ๊กของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่เป็นหนึ่งในช่องทางเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง พบว่า ประชาชนจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับข่าวที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และเศรษฐกิจปากท้อง รวมทั้งข่าวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสังคม
โดยข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ 3 อันดับแรกในรอบสัปดาห์ล่าสุดนี้ ได้แก่ อันดับ 1 เรื่องเบอร์อันตรายห้ามรับสาย หากรับสายเงินหายหมดทั้งบัญชี อันดับที่ 2 เรื่องหมวดยิ้ม ทศพร แก้วเกิด ผู้กู้ข้อมูลกล้องวงจรปิดคดีอดีตผกก. โจ้ จมน้ำเสียชีวิตแล้ว และอันดับ 3 เรื่องหากผู้อื่นรู้เบอร์มือถือที่ผูกพร้อมเพย์ ทำให้รู้ยอดเงินในธนาคารได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |