อย่าเพิ่งตื่นสายพันธุ์มิว


เพิ่มเพื่อน    

ผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ทรงตัว หายป่วยเยอะ อยู่ระหว่างรักษาตัวลดลงเรื่อยๆ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์รามาฯ เผยอย่าเพิ่งตื่นสายพันธุ์มิว ยังไม่พบแถบเอเชีย ยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่บ่งชี้ว่าจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน 
    เมื่อวันที่​ 2​ กันยายน 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,956 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 14,583 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 12,361 ราย, มาจากการค้นหาเชิงรุก 2,222 ราย และมาจากเรือนจำ 356 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 17 ราย​ ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 1,234,487 ราย​ หายป่วยเพิ่มขึ้น 17,963 ราย 
    ทำให้มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 1,058,704 ราย​ อยู่ระหว่างรักษา 163,680 ราย อาการหนัก 4,841 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 1,030 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 262 ราย เป็นชาย 140 ราย หญิง 122 ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 183 ราย มีโรคเรื้อรัง 52 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ 1 ราย โดยพบผู้เสียชีวิตมากสุดใน กทม. 80 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 12,103 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 219,265,651 ราย เสียชีวิตสะสม 4,545,159 ราย
    สำหรับ 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่สูงสุด วันที่ 2 ก.ย. ได้แก่ กทม. 3,322 ราย, สมุทรปราการ 1,220 ราย,  ชลบุรี 881 ราย, สมุทรสาคร 733 ราย,  พระนครศรีอยุธยา 494 ราย, นราธิวาส 428 ราย, ราชบุรี 349 ราย, นครปฐม 341 ราย, ระยอง 340 ราย, สระบุรี 310 ราย
    ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เผยว่า โควิดสายพันธุ์มิวถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศโคลอมเบีย เมื่อเดือน ม.ค.2564 ต้นปีที่ผ่านมา ในฐานข้อมูลกลางโควิดโลก หรือ GISAID มีการเผยแพร่ข้อมูลที่พบการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น และมีการถอดรหัสพันธุกรรม พบการกลายพันธุ์ที่ต่างจากสายพันธุ์ดังเดิมอู่ฮั่นค่อนข้างมากถึง 50-60 ตำแหน่ง จึงเป็นปัจจัยทำให้องค์การอนามัยโลกพิจารณายกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังตัวที่ 5
        หลังจากที่ก่อนหน้ามี 4 สายพันธุ์ที่ถูกจัดให้เฝ้าระวังคือ อีตา (Eta- B.1.525) ระบาดในหลายประเทศ, ไอโอตา (Iota - B.1.526) ระบาดในสหรัฐอเมริกา, แคปปา (Kappa- B.1.617.1) ระบาดในอินเดีย และแลมบ์ดา (Lambda-C.37) ระบาดในเปรู สายพันธุ์เหล่านี้ถูกจัดเป็นกลุ่มสีเหลืองที่ความรุนแรงยังต่ำกว่าสายพันธุ์ที่ต้องระวัง หรือ Variants of Concern (VOC) เป็นกลุ่มสีแดงมี 4 ตัวที่ระบาดในขณะนี้ คือ เดลตา, อัลฟา, เบตา และแกมมา
      สายพันธุ์มิวระบาดอยู่ในประเทศที่ไกลจากบ้านเรา ประเทศในแถบเอเชียก็ยังไม่พบรายงานการระบาด และประเทศไทยยังไม่มีรายงานพบสายพันธุ์นี้ ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่บ่งชี้ว่าจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่รหัสพันธุกรรมบ่งชี้ว่าอาจจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ ความกังวลที่ถูกจัดให้เฝ้าระวัง ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับวัคซีนป้องกัน เนื่องจากเกรงว่าวัคซีนที่ฉีดเข้าไปหรือแอนติบอดีสังเคราะห์ที่ฉีดเข้าไปจะไม่ตอบสนอง ดังนั้นจึงต้องรีบศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่ไม่ได้หมายความว่าในร่างกายมนุษย์จริงๆ จะเป็นเช่นนั้น
        ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์กล่าวเพิ่มเติมว่า บ่อยครั้งที่เรากังวลใจ ทำให้เกิดการเฝ้าระวัง เป็นสิ่งที่ดี เช่น สายพันธุ์เบตาที่ระบาดใน จ.นราธิวาส แต่เมื่อศึกษาพบการแพร่ระบาดไม่ได้เพิ่มจำนวนมากเท่าเดลตาหรืออัลฟา กระทรวงสาธารณสุขก็ควบคุมจำนวนจนเรียกได้ว่าเอาอยู่ อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังสายพันธุ์มิวสำหรับประเทศไทย ก็คงต้องเข้มงวดระบบการเฝ้าระวังคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ทั้งในสถานกักตัวของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและในโครงการแซนด์บ็อกซ์
        ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมแถลงความคืบหน้าเรื่องการตรวจหาเชื้อโควิดในสายพันธุ์กลุ่ม AY, C.1.2. และสายพันธุ์มิว แต่ขณะนี้ยังไม่พบทั้งสายพันธุ์ C.1.2. หรือมิวในไทย อย่าเพิ่งรีบตกใจหรือกังวล มาตรการต่างๆ ทั้งสวมหน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือ และมีระยะห่างยังเป็นกลไกในการป้องกันควบคุมโรคที่ดีที่สุด 
    ส่วนเมื่อมีการผ่อนปรนกิจกรรมและกิจการให้สามารถดำเนินการได้ เช่น การนั่งรับประทานอาหารในร้านนั้น ขอย้ำว่าการตรวจด้วยชุดทดสอบ ATK สามารถช่วยคัดกรองได้ในระดับหนึ่ง แม้จะไม่ไวเท่าการตรวจด้วย RT-PCR แต่ก็มีราคาถูกกว่า หากต่อไปในอนาคตราคาของ ATK ถูกลงเรื่อยๆ เพียงชุดละ 60 บาท เชื่อว่าการตรวจคัดกรองในระดับบุคคลจะเพิ่มมากขึ้น และเกิดความคุ้มค่ามากกว่า เพราะต้นทุนในการตรวจ RT-PCR สุ่มตรวจ 100,000 คน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,500 บาทต่อคน รวมค่าใช้จ่ายสูงถึง 150 ล้านบาท
    นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถาน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ย.2564 เวลา 16.00 น.) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 356 ราย (พบในเรือนจำสีแดง 151 ราย และพบในห้องแยกกักโรคผู้ต้องขังรับใหม่ 205 ราย) รักษาหายเพิ่ม 451 ราย เสียชีวิต 1 ราย ทำให้มีผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ 3,557 ราย (กลุ่มสีเขียว 85.9%, สีเหลือง 13.3% และสีแดง 0.8%) เป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร 471 ราย, ปริมณฑล 523 ราย และต่างจังหวัด 2,563 ราย 
    เขาบอกว่า สถานะเรือนจำยังคงที่ ไม่พบเรือนจำระบาดเพิ่มเป็นวันที่ 3 จึงมีเรือนจำสีแดงอยู่ที่ 39 แห่ง และเรือนจำสีขาวที่ไม่มีการแพร่ระบาด 103 แห่ง โดยมีผู้ติดเชื้อรักษาหายสะสม 53,075 ราย หรือ 91.2% ของผู้ติดเชื้อสะสม 58,181 ราย เสียชีวิตสะสม 124 ราย คิดเป็นอัตรา 0.2% ของผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 
    สำหรับผู้เสียชีวิต เป็นผู้ต้องขังจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง มีโรคประจำตัว แม้ว่าได้ดูแลรักษาอย่างเต็มประสิทธิภาพตามมาตรฐานโดยทีมแพทย์ และส่งต่อการรักษายังโรงพยาบาลภายนอกแล้ว แต่อาการยังคงไม่ดีขึ้น จนกระทั่งได้เสียชีวิตลง ทั้งนี้ ได้ประสานญาติเพื่อนำร่างผู้เสียชีวิตไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามวิธีการจัดการศพผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อย
    นายอายุตม์กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินการที่ผ่านมา ทั้งการป้องกันและควบคุมการระบาดอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว ภายใต้การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงโรงพยาบาลแม่ข่าย และสำนักงานสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ ส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของกรมราชทัณฑ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง พบการระบาดใหม่ที่ค่อนข้างชะลอตัว ขณะที่เรือนจำต่างๆ เริ่มทยอยสิ้นสุดการระบาด โดยที่ผ่านมามีเรือนจำที่สิ้นสุดการระบาด หรือ EXIT และกลับมาปฏิบัติหน้าที่ปกติไปแล้วกว่า 15 แห่ง
    สำหรับกลุ่มเรือนจำสีแดง พบการระบาดในปัจจุบันเพียง 8 แห่งเท่านั้น ซึ่งยังอยู่ระหว่างควบคุมการระบาด ขณะที่อีก 31 แห่งสามารถควบคุมการระบาดได้แล้ว และในจำนวนนี้มีถึง 27 แห่งที่อยู่ในกระบวนการรอ EXIT แล้ว และคาดว่าจะสามารถ EXIT ได้ทั้งหมดในเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้ ยังมีเรือนจำไม่น้อยกว่า 15 แห่งที่กำหนดวันสิ้นสุดการระบาดแล้ว โดยเริ่มจากเรือนจำกลางคลองเปรม ที่จะ EXIT ในวันที่ 3 ก.ย. ส่วนเรือนจำจังหวัดสระบุรี เรือนจำกลางสงขลา และเรือนจำอื่นๆ จะเริ่มทยอย EXIT อย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"