นายร้อยตำรวจหญิง


เพิ่มเพื่อน    

            เรื่องนายร้อยตำรวจหญิง เป็นที่สนใจของสังคมและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ทุกสื่อและโซเชียลมีเดียต่างๆ ทุกประเภท Facebook Instragram Twitter เมื่อปรากฎภาพข่าว ร.ต.ท.หญิง ภัทรศยา ฤกษ์รัตน์ หรือผู้หมวดไวกิ้ง ขณะถือโทรศัพย์ให้ ผบ.ตร.ฟังเสียงอดีต ผกก.โจ้ ผู้ต้องหาคดีคลุมหัวผู้ต้องหา ขณะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ทุกคนมุ่งความสนใจ พร้อมกับคำถามมากมาย สืบประวัติก็ทราบว่า ผู้หมวดไวกิ้ง สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 72 เป็นนายตำรวจติดตาม พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความรู้ความสามาถงานด้านต่างของตำรวจแล้ว ยังสามารถพูดภาษาต่างชาติ ทั้งจีนและอังกฤษ์ได้อย่างคล่องแคล้ว ว่ากันว่ายอดกดไลท์ Instragram จำนวนมากแบบถล่มทลาย แสดงความนิยมชมชอบผู้หมวดไวกิ้ง แบบแย่งซีน ผบ.ตร.ไปเลย
              ย้อนเรื่องราวในอดีต ตั้งแต่เริ่มแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ขึ้น เมื่อ พ.ศ.2444 และเป็นรากฐานเริ่มต้นของโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุคปัจจุบัน โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดำเนินตั้งแต่ขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้ง และขอย้ายสถานที่ในสมัยแรกๆที่มีการก่อตั้งโรงเรียนขึ้น
             ยุคแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2444 จนถึง พ.ศ.2499 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการย้ายหลายครั้งหลายหน บางครั้งก็กลับไปที่เดิม เริ่มตั้งแต่ครั้งแรกอยู่ที่ มณฑลนครราชสีมา ต่อมาย้ายไปที่ ตำบลห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม ย้ายไปคลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร ย้ายกลับไปห้วยจรเข้ ย้ายกลับมาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก กรุงเทพมหานคร ย้ายต่อมาที่กรมตำรวจ ปทุมวัน
             ยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ.2498 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีตำรวจในสมัยนั้น ย้ายโรงเรียนนายร้อยตำรวจไปอยู่ที่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จนถึงปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2499
             เริ่มต้นสมัยแรกๆผู้บังคับบัญชาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นข้าราชการระดับผู้กำกับการ ยศพันตำรวจเอก ต่อมาเป็นผู้บังคับการ ตำแหน่ง ยศพลตำรวจตรี ปัจจุบันเป็นผู้บัญชาการ ยศพลตำรวจโท ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจคนแรก พล.ต.ท.สมชาย ไชยเวช (ต่อมาเป็น พล.ต.อ.เกษียณในตำแหน่ง รอง อ.ตร.)เป็นยุคที่มีการพัฒนาโรงเรียนในหลายๆเรื่อง เรื่องสำคัญก็คือการของบประมาณ จำนวน 1500 ล้านบาท มาปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่และบริเวณโดยรอบให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก นายกรัฐมนตรี คือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร สมัยนั้น ทั้งพล.อ.ชาติชายฯและพล.ต.อ.ประมาณฯมีความเกี่ยวดองเป็นญาติกับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ผู้ย้ายโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุคปัจจุบัน
              โรงเรียนนายร้อยตำรวจรับนักเรียนนายตำรวจชายเข้ามาศึกษาศึกษาในหลักสูตรปกติประจำ (เรียนประจำ 4 ปี) สำเร็จการศึกษาแต่งตั้งได้รับยศ ร.ต.ต.ไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆตามความต้องการของหน่วยงานในแต่ละปี ส่วนใหญ่ไปปฏิบัติหน้าที่ที่สถานีตำรวจทั่วประเทศ เป็นพนักงานสอบสวน หรือไปทำหน้าที่นำหน่วยต่างๆ บางรุ่นในช่วงสถานการณ์ก่อการร้ายรุนแรง ก็แต่งตั้งไปปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับหมวดตำรวจตระเวนชายแดนนำหน่วยสู้รบกับผู้ก่อการร้าย ตามพื้นที่ชายแดนอันตรายทั่วประเทศ นอกจากหลักสูตรปกติประจำแล้ว โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ยังมีหลักสูตรพิเศษ ซึ่งรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาชีพ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ เพื่ออบรม ช่วงเวลาสั้นๆ อาจ 4 เดือน หรือ 6 เดือน และแต่งตั้งได้รับยศ ร.ต.ต.ไปปฏิบัติงานตามหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศเช่นกัน
            สมัย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็น ผบ.ตร.อนุมัติโครงการนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเข้าศึกษาในโรงเรียนนายตำรวจเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ ในรอบ 107 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ครั้งนั้น ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบรูณ์ กล่าวว่า โรงเรียนนายร้อยตำรวจชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกาก็รับนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเรียนร่วมกับนักเรียนนายร้อยชายมานานหลายสิบปี มีงานวิจัยหลายชิ้นในประเทศพัฒนาแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจหิงช่วยลดความรุนแรง งานบางอย่างตามกฎหมายต้องให้พนักงานสอบสวนผู้หญิงสอบสวน เช่นการสอบสวนคดีเกี่ยวกับเพศ คดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็ก หรือคดีความรุนแรงทางครอบครัว
             โรงเรียนนายตำรวจ เริ่มมีการรับนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเข้าไปเรียนร่วมกับนายร้อยตำรวจชายเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2552 และมีเพียง 10 รุ่นเท่านั้น รุ่น 66-75 ยกเลิกการรับสมัครเมื่อ ปีพ.ศ.2562
              ตอนเปิดรับสมัครและปิดรับสมัคร ก็เป็นข่าวโด่งดัง สื่อมวลชนและประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่ตอนเปิดรับสมัครเข้าไปครั้งแรก มีผู้มาสมัครเป็นจำนวนนับพันคน รับได้แค่จำนวน 60 คน ระหว่างศึกษาอบรม ก็มีสื่อมวลชนติดตามไปทำข่าวต่อเนื่องเป็นระยะ ตอนปิดการรับสมัคร ก็มีข่าวและสังคมโซเชียลวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนาๆในหลายมิติ องค์ที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิ์สตรีก็ออกมาคัดค้าน ทั้งในเรื่องของสิทธิ์ความเท่าเทียมกันในสังคมของหญิงชาย เรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวน บางคนให้ความเห็นอย่างรุนแรงว่าเป็นการถดถอยของตำรวจไทย
             สำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงว่าเป็นการปรับหลักสูตรของกระทรวงกลาโหม เพื่อให้สอดคล้องทั้ง 4 เหล่าทัพ จึงทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจตั้งแต่ ปี พ.ศ.2562 เป็นต้นไปจะรับจากผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารเท่านั้น(มีแต่ผู้ชาย) ไม่เป็นการตัดสิทธิ์การเข้ารับราชการของตำรวจหญิง เพราะมีช่องทางอื่น ที่ผู้หญิงสามารถเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่นการรับบุคคลภายนอกที่มีคุณวุฒิในสาขาต่างๆ และแล้วความตระทักท้วงในเรื่องนี้ค่อยๆหายไป บางคนว่าขนาดข่าวกรณีเสือดำโดนยิงตายยังถูกจดจำและพูดถึงมากกว่า
              สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังคงรับสมัครและฝึกอบรมให้เป็นนายร้อยตำรวจหญิงที่มีความรู้ ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์รับใช้ประชาชนต่อไป ถึงแม้ว่าจะไม่รับเข้ามาเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงไปเรียนประจำร่วมกับนักเรียนนายตำรวจชาย ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน 4 ปี อย่างผู้หมวดไวกิ้งแล้วก็ตาม

                                                                                                                                          พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"