พรุ่งนี้ (1 กันยายน) จะเริ่มต้นมาตรการ “คลายล็อกอย่างปลอดภัย” ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “มาตรการแนวใหม่”
เกิดศัพท์แสงภาษาฝรั่งหลายคำ เช่น
Universal Prevention (มาตรการป้องกันแบบครอบจักรวาล)
ตามมาด้วย Smart Prevention and Living with Covid ที่นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศในเฟซบุ๊กของท่าน
โดยให้ความหวังว่าตัวเลขคนติดเชื้อโควิดใหม่จะ “ทรงตัว” และ “ขาลง” ในเดือนกันยายนนี้
แต่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าแนวโน้มที่ว่านี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่
เพราะยังมีปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมหลายเรื่องนัก
แต่เมื่อจำต้องผ่อนคลายมาตรการเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยับไปข้างหน้าได้บ้าง ก็ต้องยอมผ่อนปรนให้มีกิจกรรมบางอย่างกลับมา
เช่น การเปิดทางให้มีการกินอาหารได้ในร้าน โดยมีเงื่อนไขบางประการ
ประเด็นนี้คือคำถามที่ยังต้องการคำตอบ เพราะยังไม่แน่ชัดว่าจะสามารถปฏิบัติได้ในความเป็นจริงหรือไม่
เช่นที่กำหนดว่า ทั้งพนักงานในร้านและลูกค้าจะต้องได้รับวัคซีนครบเสียก่อน
(แต่คำประกาศของ กทม.ไม่ได้ระบุเรื่องพนักงานและลูกค้าต้องฉีดวัคซีนก่อน)
หรือต้องมีการตรวจด้วย ATK ก่อน
แต่เมื่อเราไม่รู้ว่ามีชุดตรวจ ATK สำหรับประชาชนมากน้อยเพียงใดตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป และเอกสารอะไรจะเป็นตัวยืนยันว่าใครได้ฉีดวัคซีนแล้วกี่เข็มอย่างไร ก็จะทำให้เกิดปัญหาที่หน้าร้านอาหารบางแห่ง
อาจจะเกิดความสับสนอลหม่านเหมือนบางมาตรการที่เคยประกาศใช้มาก่อน และเจอปัญหาว่าพอนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวันก็มีการตีความกันเองจนต้องมีการถอยหลังไปแก้คำสั่งกันเป็นการใหญ่
ตามคำประกาศของ ศบค. จะต้องมี 3 สิ่งจึงจะเข้าไปนั่งกินในร้านอาหารได้
เป็นการเปิดร้านแบบมีเงื่อนไขที่ทั้งร้านค้า พนักงาน รวมถึงตัวลูกค้าเอง คือต้อง “โควิดฟรี”
โดยมี 3 เงื่อนไข คือ
สถานที่-สิ่งแวดล้อม
1.จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ
2.เว้นระยะห่าง ไม่แออัด
3.อากาศถ่ายเทได้ดี
ร้านอาหารก็ต้องมีคุณสมบัติที่ต่างกันดังนี้
ร้านอาหารที่อยู่นอกอาคาร หรือไม่มีเครื่องปรับอากาศ อยู่ในพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเทดี ให้นั่งได้ 75%
ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ ให้นั่งได้ 50%
ซึ่งร้านอาหารที่เปิดให้นั่งกินในร้านได้ต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร และได้สัญลักษณ์ "Thai STOP COVID"
ส่วนผู้ประกอบการและพนักงานก็ต้องทำตามเงื่อนไขดังนี้คือ
1.ต้องปลอดโรค และได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
2.ผู้ที่เคยติดเชื้อ ต้องหายแล้ว 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน
3.ถ้าไม่เข้าข่ายข้อ 1 และ 2 ก็ต้องตรวจโควิดได้ทั้งด้วย RT-PCR หรือ ATK ทุก 3-7 วันตามระดับความเสี่ยง
ไม่เพียงแต่เท่านั้น ลูกค้าที่จะเข้าร้านได้ก็ต้องมีคุณสมบัติเช่น
1.ต้องได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว โดยแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน (บัตรเขียว)
2.ผู้ที่เคยติดเชื้อ ต้องหายแล้ว 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน
3.ถ้าไม่เข้าข่ายข้อ 1 และ 2 ต้องมีผลตรวจรับรองว่าไม่ติดเชื้อ หรือตรวจที่หน้าร้าน (ถ้าผลเป็นลบ ผู้ประกอบการออก "บัตรเหลือง" ใช้ได้ 1 สัปดาห์)
มาตรการที่ผ่อนคลายนี้อยู่บนสมมติฐานของ “ฉากทัศน์” ของกระทรวงสาธารณสุขที่ว่า
ในเดือนสิงหาคมนั้น ในเขตสีแดงเข้มตั้งเป้าฉีดวัคซีนเข็มแรกได้ 70% ในกลุ่ม 608 ของ 12 จังหวัด
เดือนกันยายน ในเขตสีแดงตั้งเป้าหมายฉีดวัคซีนเข็มแรกได้ 70% ในกลุ่ม 608 ครบทุกจังหวัด
จะเริ่มผ่อนคลายการเดินทาง กิจการ/กิจกรรมจำเป็นที่มีความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงปานกลาง และกิจกรรมกลางแจ้ง
เดือนตุลาคม ความรุนแรงลดลงเป็นระดับปานกลาง (สีส้ม) ตั้งเป้าหมายฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 70% ในกลุ่ม 608 และฉีดเข็มแรกได้ 50% ของประชากรทั้งประเทศ รวมถึงเด็ก
โดยจะเริ่มผ่อนคลายกิจการเสี่ยงสูงบางประเภทและกิจกรรมในห้องปรับอากาศที่ผ่านการคัดกรองและมีมาตรการ
เดือนพฤศจิกายน สถานการณ์ค่อนข้างปลอดภัย (สีเหลือง) ตั้งเป้าหมายฉีดวัคซีนเข็มแรกได้ 70% ของประชากรทั้งประเทศ และเข็ม 3 ในพื้นที่เสี่ยง โดยจะเริ่มผ่อนคลายกิจการเสี่ยงสูงทุกประเภท
พอถึงเดือนธันวาคม สถานการณ์น่าจะเข้าสู่ภาวะปลอดภัย (สีเขียว) ตั้งเป้าฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 70% ของประชากรทั้งประเทศ และเข็ม 3 ทั้งประเทศ
เรื่องของ “ฉากทัศน์” กับ “แนวทางใหม่” ที่จะมีการเข้าสู่การปฏิบัติเริ่มพรุ่งนี้จะต้องแยกออกจากกันให้ชัดเจน
หาไม่แล้ว ถ้าไม่ทำเดือนกันยายนเป็นไปตามแผน ฉากทัศน์ที่เหลือถึงธันวาคมก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน
ก่อนอื่นทุกคนที่เกี่ยวข้องพูดจาภาษาเดียวกันเพื่อสื่อสารกับประชาชนให้ถูกต้องแม่นยำ
ถึงวันนี้ผมยังไม่แน่ใจเลย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |