ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นับเป็นปัญหาใหญ่ที่คนไทยทั้งประเทศวิตกกังวลไม่แพ้ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่พุ่งหลักหมื่น และตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ยังถือว่าค่อนข้างสูง ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะเห็นได้จากกระทรวงพลังงานเอง ในฐานะที่มีหน้าที่กำกับดูแลและจัดหาพลังงานของประเทศ ซึ่งมีสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รมว.พลังงานและรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าจะออกมาส่งสัญญาณไปทางบวก ว่าเศรษฐกิจที่พอจะให้วาดฝันถึงแสงสว่างปลายอุโมงค์กันอยู่บ้าง ก็ยังต้องปรับบทบาทของกระทรวงพลังงาน
ด้วยการพลิกบทบาทหน้าที่จากกระทรวงสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน มาสู่มิติขับเคลื่อนการลงทุนในธุรกิจพลังงาน ผลักดัน เพื่อประคองและแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศจากหน่วยงานในสังกัด และรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกำกับดูแล อย่างกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผ่านโครงการ “พลังงาน พลังใจ ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน”
โดยตั้งเป้าตัวเลขการลงทุนทั้งปี 2564 อยู่ที่ 2 แสนล้านบาท ทว่าผ่านครึ่งปีแรกของปี 2564 เม็ดเงินลงทุนสะพัดแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท จากการลงทุนในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงานต่างๆ จาก ปตท. กฟผ. และบริษัทในเครือ อาทิ โครงการสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งใหม่ จังหวัดระยอง โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 5 และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากสถานีควบคุมความดันก๊าซธรรมชาติ ราชบุรี-วังน้อยที่ 6 การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) และการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทนเครื่อง 1-2) โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าระยะที่ 12 โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และกรุงเทพฯ เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า เป็นต้น
รวมถึงกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก็จัดเก็บรายได้จากกิจการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนำส่งรัฐอีกกว่า 25,000 ล้านบาท พร้อมทั้งมีการผลักดันให้เกิดการจ้างงานไปแล้วรวมกว่า 36,000 ตำแหน่ง และเตรียมจ้างเพิ่มครึ่งปีหลังอีก 2,300 ตำแหน่ง
นอกจากนี้ ได้วางแผนให้ภาคพลังงานเข้ามาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว เพื่อวางรากฐานเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงด้วยเช่นกัน ผ่านนโยบายและ 4 แผนด้านพลังงานหลักๆ ได้แก่ การปรับแผนพลังงานชาติ มุ่งเน้นให้เกิดการลงทุนคู่ขนาน การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานผ่านโครงการพลังงานสีเขียว รองรับแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี แผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ตั้งเป้าผลักดันประเทศไทยยืนหนึ่งเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของโลก
โดยมีเป้าหมายดันตัวเลขการผลิตรถยนต์อีวีในประเทศให้ได้ 30% ในปี 2030 จากยอดการผลิตรถยนต์ทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังเดินหน้าในแผนการพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 โดยมุ่งสนับสนุนให้มีการขยายเพิ่มเติมจากโครงการเดิมในพื้นที่อีอีซี เพื่อสร้างฐานทางเศรษฐกิจใหม่ (New S-Curve) และสุดท้ายแผนการส่งเสริมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก นำร่องจำนวน 150 เมกะวัตต์ ซึ่งว่ากันว่าจะทำให้เศรษฐกิจรากหญ้ามีความแข็งแรง คนในชุมชนมีงานทำ ลดการย้ายถิ่นฐานลงได้อีกด้วย.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |