“นิด้าโพล” เผยมาตรการล็อกดาวน์ไม่ประสบความสำเร็จ เหตุไม่เข้มงวด ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ ยังอยากให้มีต่อ แต่ต้องคุมเข้มจริงจัง หวั่นเลิกล็อกทำโควิดระบาดเพิ่ม “สวนดุสิตโพล” ชี้ ปชช.ต้องการวัคซีนคุณภาพและฉีดได้ครบ 100% “ซูเปอร์โพล” สะท้อนส่วนใหญ่อยากให้รัฐเปิดเอกชนนำเข้า-กระจายวัคซีน “โฆษกรัฐบาล” ขานรับทุกความเห็น
เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง มาตรการล็อกดาวน์ควรไปต่อหรือไม่ ระหว่างวันที่ 23-26 ส.ค.2564 ถึงความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.67 ระบุไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะการล็อกดาวน์ไม่มีความเข้มงวด มีการล็อกดาวน์แค่บางพื้นที่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ยังคงดำเนินชีวิตอย่างปกติ ทำให้มีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น รองลงมาร้อยละ 28.81 ระบุไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะประชาชนบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามที่รัฐกำหนด และบางคนก็ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน, ร้อยละ 26.83 ระบุค่อนข้างประสบความสำเร็จ เพราะประชาชนมีการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด งดการรวมตัว ทำให้ลดการแพร่ระบาดลงได้, ร้อยละ 6.17 ระบุประสบความสำเร็จมาก เพราะมีการจำกัดการเดินทางทำให้ลดการแพร่ระบาดของเชื้อลงได้
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการมาตรการล็อกดาวน์เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 26.14 ระบุควรดำเนินการต่อ แต่ให้มีมาตรการเข้มข้นขึ้น เพราะมาตรการต่างๆ ต้องจริงจัง และบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับคนที่ฝ่าฝืน เพื่อให้ประชาชนจะได้หยุดการเดินทาง ลดการเดินทางข้ามจังหวัด ลดการรวมตัวมากยิ่งขึ้น และควรดำเนินการต่อ แต่ให้ผ่อนคลายมาตรการลง เพราะบางพื้นที่ยอดผู้ติดเชื้อลดลงแล้ว และประชาชนบางส่วนก็ได้รับวัคซีนแล้วในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมาร้อยละ 24.16 ระบุไม่ควรดำเนินการต่อ เพราะถึงแม้จะมีมาตรการล็อกดาวน์ยังไงก็ยังมีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อเยอะอยู่ดี รัฐบาลควรจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพมาฉีดให้แก่ประชาชน
ถามถึงความกังวลจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากขึ้น หากมีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ หรือมีการผ่อนคลายมาตรการลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 33.38 ระบุค่อนข้างกังวล รองลงมาร้อยละ 31.33 ระบุกังวลมาก, ร้อยละ 18.45 ระบุไม่กังวลเลย, ร้อยละ 16.54 ระบุไม่ค่อยกังวล
เมื่อถามถึงการยอมรับถ้ามีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์หรือมีการผ่อนคลายมาตรการลง แต่ทำให้มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้น พบส่วนใหญ่ร้อยละ 30.26 ระบุค่อนข้างยอมรับได้ รองลงมาร้อยละ 29.42 ระบุไม่ยอมรับเลย, ร้อยละ 25.30 ระบุยอมรับได้แน่นอน, ร้อยละ 14.18 ระบุไม่ค่อยยอมรับ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ถึง 5 ความต้องการของประชาชนในยุคโควิด-19 อันดับ 1 ร้อยละ 84.12 วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ/ประชาชนได้ฉีดวัคซีนครบ100% 2.ร้อยละ 50.47 สิทธิในการรักษาโควิด-19 อย่างเท่าเทียมเข้าถึงง่าย 3.ร้อยละ 43.24 ให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการแพทย์/บุคลากรด่านหน้า 4.ร้อยละ 38.51 กระตุ้นเศรษฐกิจ/ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้า 5.ร้อยละ 34.12 การแจกยา อุปกรณ์ป้องกันชุดตรวจโควิด-19 ให้แก่ประชาชน
ส่วน 5 ความต้องการของประชาชนที่คิดว่าน่าจะสมหวัง 1.ร้อยละ 67.44 แจกจ่ายถุงยังชีพ อาหาร น้ำดื่ม 2.ร้อยละ 63.64 ช่วยเหลือค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การเรียน 3.ร้อยละ 60.92 การให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 กับประชาชน 4.ร้อยละ 57.66 ให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการแพทย์/บุคลากรด่านหน้า 5.ร้อยละ 48.23 ลดภาระค่าครองชีพ โดยเฉพาะค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ขณะที่ 5 ความต้องการของประชาชนที่คิดว่าน่าจะผิดหวัง 1.ร้อยละ 90.64 รัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหา ไม่เล่นเกมการเมือง ไม่ทุจริต 2.ร้อยละ 89.29 ผู้นำมีวิสัยทัศน์ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 3.ร้อยละ 88.27 มีความเท่าเทียมในสังคมไม่เหลื่อมล้ำ 4.ร้อยละ 85.94 รัฐบาล ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ 5.ร้อยละ 77.71 มีรัฐสวัสดิการที่ดีสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม และ 5 ตัวช่วยที่ประชาชนอยากฝากความหวัง 1.ร้อยละ 68.39 ตนเอง 2.ร้อยละ 53.80 ประชาชนด้วยกันเอง 3.ร้อยละ 46.06 บุคลากรทางการแพทย์ 4.ร้อยละ 27.96 รัฐบาล 5.ร้อยละ 25.04 รมว.สาธารณสุข
วันเดียวกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่องแสงเริ่มสว่างจากปลายอุโมงค์โควิด พบส่วนใหญ่ร้อยละ 93.9 ต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมจัดหานำเข้าและกระจายวัคซีน, ร้อยละ 93.1 เห็นด้วยต้องขับเคลื่อนเปิดประเทศพื้นที่นำร่องด้านเศรษฐกิจท่องเที่ยว และร้อยละ 91.2 เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถนำเข้าวัคซีนป้องกันโควิดได้ปริมาณที่มากพอภายในปลายปีนี้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.9 ยังคงกังวลต่อการกลับมาแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ จากการรวมกลุ่มที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ม็อบ ชุมนุมการเมือง บ่อนพนัน แหล่งมั่วสุม ปาร์ตี้ยาเสพติด เป็นต้น
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลรับฟังและพร้อมนำเสียงสะท้อนของประชาชนมาปรับปรุงนโยบาย มาตรการและการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนมากที่สุด ซึ่งรัฐบาลและทุกส่วนราชการทุ่มเททำงานเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั้งสถานพยาบาล เตียงผู้ป่วย เวชภัณท์ ยา วัคซีน ควบคู่ไปกับการออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสำหรับกลุ่ม เฉพาะต่างๆ ทั้งผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกร แรงงาน อาชีพอิสระ นักเรียนและประชาชนทั่วไป ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์โควิด-19
“ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. เป็นต้นไป ศบค. กลับมาให้กิจการ/กิจกรรมเปิดดำเนินการได้เกือบเหมือนปกติ ภายใต้มาตรการการป้องกันโควิด-19 ถือเป็นแรงส่งทางเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้” โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |