ความลับภูมิปัญญาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ2เมืองเก่า


เพิ่มเพื่อน    

ผ้าปักจากบ้านห้วยกว๊าน มรดกภูมิปัญญาเชียงแสน 

 

 

     ความลับจากมรดกภูมิปัญญาที่ดูแลรักษาธรรมชาติของคนเมืองน่านและชาวเชียงแสน เป็นข้อมูลสำคัญที่ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงค้นหาและจัดเก็บ เพื่อนำมาพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์หรือของที่ระลึกการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความประทับให้กับนักเดินทาง เมื่อช็อปสินค้าแล้วรู้สึกว่ามีส่วนร่วมปกป้องทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และภูมิปัญญาไปพร้อมกับคนในพื้นที่  ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญภายใต้ โครงการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยว และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อความยั่งยืน (EPISG)   โดย ม.แม่ฟ้าหลวงร่วมทำงานกับชุมชนในเมืองเก่าทั้ง 2 แห่ง

           โปรเจ็คนี้มีธงสำคัญสร้างสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม เป็นทรัพย์สินทางภูมิปัญญาของชุมชนต่อไป เน้นผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ ใช้งานได้จริง  บอกเล่าเรื่องราวในพื้นที่  ที่สำคัญตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยวยั่งยืน  ตอนนี้มีผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ออกมา  อาทิ หมวกหัวเรือน่าน' แรงบันดาลใจเชื่อมโยงวัฒนธรรมการแข่งเรือ จ.น่าน ที่ผูกพันกับความเชื่อเรื่องพญานาค ในฐานะผู้ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาและแม่น้ำน่าน พัฒนาเป็นสินค้าที่มีเรื่องเล่า สร้างประสบการณ์ใหม่การท่องเที่ยว

”หมวกหัวเรือน่าน”จากวัฒนธรรมแข่งเรือเมืองน่านผูกกับความเชื่อพญานาค

 

          หรือต่างหูผ้าปักลายสวยๆ ของชาติพันธุ์เมี่ยน ของที่ระลึกน่าใช้ ราคาสบายกระเป๋า นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้ง่ายกว่าการซื้อผ้าปักทั้งผืนที่มีราคาสูง เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงการ EPISG กับชุมชนเมี่ยน (เย้า) ที่เมืองเก่าเชียงแสน จ.เชียงราย แล้วยังมีผ้าไหมมัดหมี่แบบดั้งเดิมและผ้าขาวม้า ที่ผลิตขึ้นมาใช้ในชุมชนสันธาตุ อ.เชียงแสน   ขณะเดียวกันเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

ต่างหูผ้าปักลายสวยๆ ของชาติพันธุ์เมี่ยน

 

       อีกหนึ่งดีไซน์จากเขตเชียงแสนเป็นเครื่องประดับทำมือสวยเก๋โดนใจ ทำมาจากจากตุง 12 ราศีของชาวล้านนา มีทั้งต่างหู กำไล ลวดลายนักษัตรมงคล ใส่แล้วเสริมสิริมงคล  ส่วนหนึ่งของผลงานออกแบบเบื้องต้นนำไปพัฒนาต่อแล้ว  

        ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการ EPISG  บอกถึงกระบวนการทำงานว่า  เริ่มจากทีมนักวิชาการการเข้าไปเก็บข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ตามแนวทางของยูเนสโก 200 รายการ มรดกวัฒนธรรมเหล่านี้จะต้องเป็นภูมิปัญญาที่มีความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับวัฒนธรรม โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคัดสรรให้เหลือ 50 รายการ นำมาประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน

         “ การเวิร์คช็อปมีนักออกแบบมาร่วมกันเชื่อมโยงแนวคิดว่า จากความลับในมรดกภูมิปัญญาที่รักษาธรรมชาติให้ยั่งยืนนั้น สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ใด เพื่อให้คนมีส่วนร่วมในการรักษาธรรมชาติได้บ้าง แล้วคัดเลือกให้เหลือ 20 รายการเพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ “  ผศ.ดร.พลวัฒ บอก

เจ้าของวัฒนธรรมและนักออกแบบ EPISG ทำงานด้วยกัน

 

           หัวหน้าโครงการฯ กล่าวเสริมว่า โครงการจะเชื่อมโยงระบบนิเวศของความรู้ไปสู่การปกป้องธรรมชาติอย่างยั่งยืน  เมื่อคนใช้ผลิตภัณฑ์จะสามารถเชื่อมโยงไปได้ว่า ธรรมชาติยังดีอยู่และมีคนกำลังปกป้องธรรมชาติไว้ด้วยภูมิปัญญาของเจ้าของวัฒนธรรม การใช้หรือการอุดหนุนผลิตภัณฑ์จึงเท่ากับการช่วยรักษา ทั้งยังสอดรับเกณฑ์การท่องเที่ยวตามมาตรฐานของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ GSTC ที่กำหนดให้แหล่งท่องเที่ยวหามาตรการลดผลกระทบท่องเที่ยวเพื่อปกป้องแหล่งธรรมชาติทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

         ผศ.ดร.พลวัฒ กล่าวว่า มรดกภูมิปัญญา เปรียบเสมือนอาวุธลับในการปกป้องธรรมชาติมายาวนาน  หน้าที่ของเรา คือ การนำภูมิปัญญาประกอบไปด้วย นิทาน ตำนาน วิถีชีวิต ความเชื่อ ของ 2 เมืองเก่า มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ประเภทสินค้าและบริการต้นแบบ นอกจากจะต้องมีดีไซน์ร่วมสมัยแล้ว ยังเชื่อมโยงได้ว่า ธรรมชาติยังดีอยู่และมีคนกำลังปกป้องธรรมชาติด้วยภูมิปัญญาของเจ้าของวัฒนธรรม ผู้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ก็เท่ากับว่ามีส่วนรักษาธรรมชาติและภูมิปัญญาไปด้วย

เครื่องประดับทำมือดีไซน์จากเมืองเชียงแสน

 

            สำหรับผลงานที่ได้รับคัดเลือก 20 รายการ จาก 2 พื้นที่เมืองเก่า อยู่ระหว่างจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบและขั้นตอนการจดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ประกอบด้วย สินค้าอย่างผ้าไหมลวดลายใหม่จากชุมชนบ้านสันธาตุเชียงแสน สื่อความงดงามของแม่น้ำกกแต่ละช่วงเวลา ผ้าพิมพ์ลายใบสักจากวัดป่าสัก วัดสำคัญเมืองเก่าเชียงแสน  ผ้าทอดีไซน์ลายผลึกเกลือที่น่าตื่นเต้น  เครื่องสำอางจากไกของดีเมืองน่าน ส่วนด้านบริการเป็นการแสดงร่วมสมัยสำหรับทั้ง 2 เมืองที่ได้กูรูทางดนตรี อาจารย์บรูซ แกสตัน ประพันธ์ดนตรี เป็นต้น ทั้งนี้  มฟล.จะประกาศรายชื่อ20ผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้ทราบต่อไป หลังจากจดลิขสิทธิ์เรียบร้อย คาดว่าจะแล้วเสร็จ เดือน ก.ย.นี้

          ผู้สนใจติดตามชมผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ แนวทางการทำงาน และทำความรู้จักกับภูมิปัญญาของในสองชุมชนเมืองเก่าได้ทาง เพจเฟซบุ๊ค เชื่อม รัด มัด ร้อย’  www.facebook.com/EPISG.MFU

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"