End-to-End บริการเยียวยาโควิด-19 ครบจบในที่เดียว


เพิ่มเพื่อน    

          จากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยที่ยังคงรุนแรงต่อเนื่อง และในระลอก 3 นี้สร้างผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจและชีวิตของคนในสังคมอย่างมากมายมหาศาล ประชาชนทุกคนจำเป็นต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความโกลาหลและจำเป็นต้องมีกำลังใจอย่างสูงที่จะใช้ต่อสู่กับสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้กลุ่ม ปตท. จึงได้จัดตั้ง “โครงการลมหายใจเดียวกัน” ขึ้นมา เพื่อเป็นอีกความร่วมมือร่วมใจที่จะเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 ของประเทศ

 

 

 

          พร้อมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และพันธมิตรทางการแพทย์ได้แก่ มูลนิธิโรงพยาบาลในเครือบางปะกอกฯ และโรงพยาบาลปิยะเวท จัดตั้ง “หน่วยคัดกรอง และโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End)” ขึ้น

          เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่ยังคงมีตัวเลขที่สูง และมุ่งหวังที่จะมีส่วนในการช่วยลดการเสียชีวิต บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยเร็วที่สุด โดยหน่วยคัดกรอง และ โรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) แห่งนี้มีการทำงานภายใต้ข้อกำหนดที่ต้อง “ตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว” ซึ่งจะเป็นการตรวจรักษาแบบครบวงจร และยังเป็นต้นแบบที่ภาคธุรกิจจับมือกับภาครัฐอีกด้วย

          ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการจะเข้าใช้บริการ จำเป็นจะต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน QueQ ผ่านการให้บริการของทั้งแอนดรอยและ IOS ก่อน แล้วเข้าไปกดเลือกเมนู : บริการสาธารณะ เมื่อเข้ามาแล้วจะมีให้เลือกรูปแบบบริการ ไปที่โครงการลมหายใจเดียวกัน ที่ระบุสถานที่เป็น EnCo Terminal (ศูนย์ลูกเรือฯ เดิม เยื้องสนามบินดอนเมือง)

 

 

          และทำการลงทะเบียนโดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก พร้อมลงทะเบียนใน Link สปคม. ที่แนบในแอป 2.เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยจะได้เลข 4 หลัก ส่งมาทางโทรศัพท์ซึ่งผู้ลงทะเบียนจะต้องจดเลข 4 หลักไว้เพื่อแสดงในวันตรวจโควิด-19 ณ หน่วยคัดกรอง รับตรวจ ตามวันและรอบเวลาที่ลงทะเบียนเท่านั้น เพื่อลดความแออัดของจุดตรวจ ซึ่งบริการนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

          การบริการดังกล่าวประกอบด้วย 4 จุดหลัก ได้แก่ จุดที่ 1 หน่วยคัดกรอง โครงการลมหายใจเดียวกัน ณ อาคาร EnCo Terminal หรือ EnTer ของ บริษัท Energy Complex กลุ่ม ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อใช้เป็นจุดคัดกรองสำหรับกลุ่มเสี่ยง มีการวางระบบดิจิทัลเพื่อลงทะเบียน และเริ่มจากการตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) และหากพบว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อ จะนำส่งตรวจ RT-PCR ต่อไป เพื่อให้การแสดงผลนั้นแน่นอน

 

 

         สำหรับผู้ป่วยระดับสีเขียวที่ตรวจพบ สามารถทำการดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้านหรือในชุมชน (Home or Community Isolation) โดยจะได้รับมอบ “กล่องพลังใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน” ประกอบไปด้วยชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์และยาที่จำเป็น รวมทั้งระบบติดตามอาการ

         ขณะที่จุดให้บริการที่ 2 , 3 และ 4 จะจัดเตรียมเป็นโรงพยาบาลสนามครบวงจร โครงการลมหายใจเดียวกัน เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 รองรับการรักษาผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ทุกระดับความรุนแรง ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลปิยะเวท โดยโรงพยาบาลสนามครบวงจรแห่งนี้ เป็นการระดมกำลังของกลุ่ม ปตท. ทั้งด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแบ่งเบาภาระและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเตียงในพื้นที่กรุงเทพฯ

          โดยโรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับ “สีเขียว” เปิดให้บริการในรูปแบบของ Hospitel กระจายไปในหลายโรงแรมในกรุงเทพฯ จำนวนกว่า 1,000 เตียง รองรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากหน่วย คัดกรองอย่างเป็นระบบ

 

 

          สำหรับผู้ป่วยระดับ “สีเหลือง” คือผู้ป่วยที่มีอาการในระดับหนักขึ้น เปิดให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ มีเตียงผู้ป่วยจำนวน 300 เตียง มีระบบออกซิเจน ต่อ Direct Tube ส่งตรงถึงทุกเตียงผู้ป่วย พร้อมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. เพื่อให้การดูแล คนไข้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เตียงพลาสติกรับน้ำหนักสูง หุ่นยนต์ CARA เป็นหุ่นยนต์ลำเลียงเพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลคนไข้ รวมถึงหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ Xterlizer UV Robot

          และโรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับ “สีแดง” จัดสร้างโรงพยาบาลสนาม ICU บนพื้นที่ 4 ไร่ สำหรับผู้ป่วยจำนวน 120 เตียง ให้บริการสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก โดยปรับพื้นที่โล่งของโรงพยาบาลปิยะเวท เป็นสถานที่ก่อตั้ง โดยจัดทำห้องรักษาความดันลบแยกรายผู้ป่วย ห้องละ 1 เตียง พร้อมระบบ Direct Tube ส่งท่อออกซิเจน ตรงทุกห้องผู้ป่วย และมีการติดตั้งถังออกซิเจนเหลวขนาด 10,000 ลิตรพร้อมห้องฉุกเฉินให้บริการ ตลอด 24 ชั่วโมง

          โควิด-19 ยังอยู่กับสังคมมนุษย์ไปอีกสักระยะหนึ่ง แม้หลายเมืองหลายประเทศจะมีการควบคุมได้อย่างดีและไม่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถลดความเสี่ยงจนเป็น 0% ได้ ขณะที่หลายๆ  ประเทศยังคงต้องรับผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตนี้อยู่ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ยังต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคนในสังคม รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของบริษัทชั้นนำของประเทศเพื่อต่อสู่กับวิกฤตดังกล่าว จะเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันประเทศไทยสามารถผ่านพ้นปัญหาไปได้ด้วยดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"