รฟม.อ้างโควิด! ล้ม‘สายม่วงใต้’ โอ่ทันใช้ปี2570


เพิ่มเพื่อน    

อึ้ง! รฟม.อ้างเหตุโควิด-19 ทำให้ต้องล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เนื่องจากผู้สังเกตการณ์ในระบบคุณธรรมไปสัมผัสผู้ติดเชื้อ จึงคลาดเคลื่อนส่งเอกสาร ปัดไม่เกี่ยวข้องอภิปรายไม่ไว้วางใจ “น้องเนวิน” ในสัปดาห์หน้า เร่งทำราคากลางขายซองรอบใหม่ ยันเปิดให้บริการทันปี 2570 แน่
เมื่อวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แถลงข่าวถึงการยกเลิกประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดยการประกวดราคานานาชาติ  ว่า รฟม.ตรวจสอบและพบว่าขั้นตอนการดำเนินการในส่วนตามระบบข้อตกลงคุณธรรมที่ได้ลงนามความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไว้มีข้อบกพร่อง
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การประสานงานในช่วงท้ายของโครงการมีปัญหา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของ รฟม.บางรายใกล้ชิดบุคคลในครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ต้องกักตัวตามมาตรการของสาธารณสุข ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการจัดส่งเอกสารไปยังผู้สังเกตการณ์ที่เข้ามาสังเกตการณ์ในครั้งนี้ ทำให้ผู้สังเกตการณ์ไม่ได้ให้ข้อสังเกตในเอกสารประกวดราคา หลังจากตรวจสอบในประเด็นนี้ รฟม.จึงต้องยกเลิกประมูล โดยจะนำกลับมาทำใหม่ ตั้งแต่ราคากลาง และแผนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่” นายภคพงศ์กล่าว
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ รฟม.จะจัดทำทีโออาร์และราคากลางโครงการใหม่ โดยต้องเชิญผู้สังเกตการณ์มาร่วมกระบวนการด้วย ซึ่งเบื้องต้นทีโออาร์และหลักเกณฑ์การประมูลน่าจะยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงเป็นการประกวดราคานานาชาติ มีเพียงราคากลางที่อาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก ส่วนผู้ที่สนใจซื้อเอกสารประมูลไปแล้วก่อนหน้านี้ 9 ราย แบ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 รายและต่างชาติ 3 รายนั้น รฟม.ยังคงสิทธิ์ให้เอกชนทั้ง 9 ราย เมื่อใดที่เปิดจำหน่ายเอกสารสามารถมารับเอกสารได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่หากไม่สนใจเข้าร่วมประมูลแล้ว รฟม.ก็จะคืนค่าเอกสารให้
นายภคพงศ์ยอมรับว่า กรอบเวลาการประมูลจะขยับออกไปจากแผนเดิมเล็กน้อย โดยคาดว่าจะจัดทำทีโออาร์และราคากลางแล้วเสร็จในต้นเดือน ก.ย.2564 จากนั้นจะประกาศเชิญชวน และจำหน่ายเอกสารการประมูลในเดือน ต.ค.-พ.ย.2564 เปิดให้ยื่นข้อเสนอประมาณสิ้นเดือน พ.ย.2564 หรือต้นเดือน ธ.ค.2564 โดยจะใช้เวลาในการพิจารณาเอกสารทั้ง 3 ซองประมาณ 1 เดือนครึ่ง และคาดว่าจะได้ผู้ชนะการประมูล และลงนามสัญญาได้ไม่เกินสิ้นเดือน ม.ค. หรือเดือน ก.พ.2565 แต่ยังคงกรอบเวลาการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ตามเดิมในปี 2570
“เรื่องความบกพร่องและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในฐานะกำกับดูแล รฟม. จะขอรับผิดชอบเรื่องทั้งหมดไว้เอง ยืนยันว่าการยกเลิกประมูลครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีมีชื่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ รฟม.ทั้งสิ้น ซึ่งเรื่องนี้ได้รายงานให้นายศักดิ์สยามทราบในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งนายศักดิ์สยามได้ให้นโยบายว่าให้ยึดเรื่องความโปร่งใส และตรวจสอบเป็นหลักสำคัญ”
    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ส.ค. รฟม.เพิ่งแถลงข่าวชี้แจงถึงการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ว่าได้ประกาศร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ในเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) และขายเอกสารประกวดราคาฯ  ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ถึงวันที่ 7 ต.ค. โดยมีผู้ที่สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาทั้งสิ้น 8 ราย เป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ 2 ราย โดยการดำเนินการในทุกขั้นตอนของประกวดราคาเป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. และประกาศที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ได้ชี้แจงถึงการกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทย เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงต้องมีการออกแบบก่อสร้างอุโมงค์และสถานีใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสภาพธรณีวิทยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสถานที่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ และโบราณสถานมากมาย จึงต้องการผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ผ่านการก่อสร้างและประสานงานในโครงการก่อสร้างประเภทเดียวกันในไทยมาแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าผลงานที่แล้วเสร็จมีคุณภาพ เชื่อถือได้ รวมถึงประเด็นการกำหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอในการประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30:70 เพื่อคุณภาพและความสำเร็จของงาน ไม่ได้กีดกันผู้รับเหมาต่างชาติ
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรีกับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการเข้าด้วยกัน มีระยะทางรวม 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570 โดยก่อนล้มประมูลออกแบบก่อสร้างเป็น 6 สัญญา ประกอบด้วย งานใต้ดิน 4 สัญญา, งานทางยกระดับ 1 สัญญา และงานระบบราง 1 สัญญา วงเงินรวม 78,720 ล้านบาท.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"