27 ส.ค. 2564 นายชนินทร์ ขาวจันทร์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าปัจจุบันท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 บีโอไอจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้สื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในการ้ข้าถึงนักลงทุนรวมทั้งเจรจาดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆ ทั้งนี้ที่ผ่านมาที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ด บีโอไอ) ได้พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงมาตรการและประเภทกิจการการส่งเสริมการลงทุนในหลายมาตรการเพื่อเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นการลงทุนในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และชิปเซ็ต เซมิคอนดักเตอร์ และดิจิทัล
ทั้งนี้มองว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในช่วงต่อไป โดยบีโอไอเตรียมที่จะปรับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดแรงจูงใจนักลงทุนและให้ครอบคลุมประเภทกิจการที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น รองรับเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงกำลังหารือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ในการร่วมมือทำนโยบายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมอวกาศเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งผลิตดาวเทียมของโลกในอนาคต จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
"ปัจจุบันมีนักลงทุนจากญี่ปุ่นและจีนประมาณ 10 รายสนใจที่จะหาลู่ทางการลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าว และมองประเทศไทยไว้ โดยเป็นกิจการขนาดระดับ 1,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการลงทุนในกลุ่มนี้ในปี 2564 จะสู่ระดับ 1 แสนล้านบาทแน่นอน ทั้งนี้บีโอไอจำเป็นที่จะต้องปรับตัวในหลาย ๆ ด้านเพื่อสนองต่อความต้องการในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ตัวเลขการขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2564 นั้นจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 500,000 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมการลงทุนจะเริ่มดีขึ้นและกลับมาเทียบเท่าในปี 62 ที่ประมาณ 700,000 ล้านบาทได้นั้น จะต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 2 ปี"นายชนินทร์ กล่าว
นายชนินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มองอุตสาหกรรมดาวเทียมที่อยู่เหนือพื้นโลกระยะ 200 กิโลเมตรนั้นเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายตัวใหม่ที่กำลังมาแรง ดังนั้นไทยควรที่จะศึกษาและเดินหน้าไปสู้การสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว ซึ่งเชื่อว่าประเทศมีความพร้อม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดรับกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กิจการอวกาศ พ.ศ..ของไทย ซึ่งบีโอไอจึงอยู่ระหว่างพิจารณาที่จะผลักดันการทำแพกเกจส่งเสริมอุตสาหกรรมอวกาศเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งผลิตดาวเทียมของโลกในอนาคตร่วมกับ GISTDA ทั้งนี้หากเป็นไปได้จะพยายามให้เกิดเป็นรูปธรรมในปีนี้ เพื่อที่จะนำไปใช้ชักชวนการลงทุนในปี 2565
"ในปัจจุบัน มีบริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนด้านการบินและอวกาศ และให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมของไทย ที่บีโอไอให้การสนับสนุนอยู่ก็มีความชัดเจนมากขึ้นที่จะเดินหน้าอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้ไทยก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล"นายชนินทร์ กล่าว
อย่างไรก็ตามการยื่นขอรับส่งเสริมลงทุนครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย. 64) มีมูลค่ากว่า 380,000 ล้านบาท เติบโต 158% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติ (FDI) สูงสุดที่เข้ามาลงทุน และหากมองเฉพาะโครงการที่ FDI ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ครึ่งปีแรกมีจำนวน 113 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 8% มูลค่า 57,263 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65%
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |